การอ่านค่าสายตาอาจดูยุ่งยากสำหรับหลายคน เพราะในใบตรวจสายตามักมีตัวเลขและสัญลักษณ์มากมาย แต่การทำความเข้าใจค่าสายตาของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้เราสามารถเลือกแว่นหรือคอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมกับสภาพสายตา ส่งผลให้มองเห็นได้ชัดเจนและสบายตามากขึ้น บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับค่าสายตา รวมถึงวิธีอ่านค่าสายตาในใบตรวจอย่างง่าย เพื่อให้คุณเข้าใจสุขภาพตาของตนเองมากยิ่งขึ้น
ค่าสายตา คืออะไร
ค่าสายตา คือค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการมองเห็นของเราว่าชัดเจนแค่ไหน และมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นกับสายตาบ้าง เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือ สายตาเอียง โดยค่าสายตาจะแสดงเป็นหน่วยไดออปเตอร์ (D) โดยอาจมีเครื่องหมายบวก (+) หรือลบ (-) กำกับไว้ด้านหน้าตัวเลข
เมื่อเราเข้ารับการตรวจวัดสายตา เราจะได้รับใบค่าสายตา ซึ่งระบุรายละเอียดผลการตรวจ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการแก้ไขปัญหาสายตา เช่น การตัดแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เรามองเห็นได้คมชัดยิ่งขึ้น
ปัญหาสายตามีแบบไหนบ้าง
-
สายตาสั้น เป็นภาวะที่มองเห็นวัตถุระยะไกลไม่ชัด แต่มองเห็นวัตถุใกล้ตัวได้ชัดเจน มักพบในกลุ่มวัยเรียน หรือวัยทำงานที่มีอายุต่ำกว่า 37 ปี
-
สายตายาว เป็นภาวะที่มองเห็นวัตถุในระยะไกลได้ชัดเจน แต่มีปัญหาในการมองระยะใกล้ โดยจะมีทั้งสายตายาวโดยกำเนิด สายตายาวทั่วไป และสายตายาวตามอายุ
-
สายตาเอียง เป็นภาวะที่มองเห็นภาพบิดเบี้ยวหรือไม่คมชัด ภาวะนี้สามารถเกิดร่วมกับสายตาสั้นหรือสายตายาวได้ ต้องแก้ไขด้วยเลนส์พิเศษที่ออกแบบเฉพาะ
สายตาข้างขวาและซ้ายต่างกันไหม
ตามหลักการแล้ว ดวงตาทั้งสองข้างของคนเราอาจมีค่าสายตาที่แตกต่างกันได้ ในใบตรวจสายตามักระบุด้วยสัญลักษณ์ OD (Oculus Dexter) สำหรับตาขวา (บางสถานที่อาจปรับมาเป็นตัวย่อ RE) และ OS (Oculus Sinister) สำหรับตาซ้าย (บางสถานที่อาจปรับมาเป็นตัวย่อ LE)
ความแตกต่างของค่าสายตาระหว่างตาทั้งสองข้างเป็นเรื่องปกติ จึงจำเป็นต้องตรวจวัดการอ่านค่าสายตาแยกแต่ละข้างอย่างละเอียด เพื่อให้ได้เลนส์ที่เหมาะสมกับสายตาแต่ละข้าง
ใบค่าสายตา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
เมื่อตรวจวัดสายตา คุณจะได้รับใบค่าสายตาที่ระบุค่าต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำแว่นหรือคอนแทคเลนส์ มาทำความรู้จักกับส่วนประกอบสำคัญในใบค่าสายตากัน
1. Sphere (SPH)
Sphere หรือ SPH เป็นค่าที่แสดงปริมาณกำลังขยายของเลนส์สำหรับแก้ไขปัญหาสายตาพื้นฐาน หากค่า SPH มีเครื่องหมายลบ (-) แสดงว่ามีปัญหาสายตาสั้น เช่น -2.50 D หมายถึงสายตาสั้น 250 ส่วนเครื่องหมายบวก (+) แสดงถึงสายตายาว เช่น +1.75 D หมายถึงสายตายาว 175 ค่า SPH เป็นตัวบ่งชี้หลักที่จะกำหนดความหนาและน้ำหนักของเลนส์แว่นตา
2. Cylinder (CYL)
Cylinder หรือ CYL เป็นค่าที่แสดงระดับความรุนแรงของสายตาเอียง ตัวเลขในช่อง CYL จะอยู่ด้านหลังค่า SPH และอยู่ด้านหน้าค่า Axis เสมอ มักแสดงด้วยค่าลบ (-) ยิ่งค่ามากแสดงว่ามีอาการสายตาเอียงมาก เช่น CYL -1.25 หมายถึงมีสายตาเอียง 125
3. Axis
Axis เป็นการระบุทิศทางของสายตาเอียงเป็นองศา โดยมีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 180 องศา ถ้าใบค่าสายตามีค่าสายตาเอียง (CYL) จะต้องมีค่าองศาสายตาเอียง (Axis) ด้วยเสมอ
4. Add
ค่า Add แสดงถึงกำลังขยายเพิ่มเติมสำหรับแก้ไขปัญหาสายตายาวตามวัย ซึ่งจะถูกเพิ่มเข้าไปในส่วนล่างของเลนส์ โดยค่า Add จะเริ่มจาก +0.50 ไปจนถึง +3.50 ไดออปเตอร์ เลนส์ที่มีค่า Add มักเป็นเลนส์สองชั้นหรือเลนส์โปรเกรสซีฟ
5. Prism
ค่า Prism หรือค่า PH เป็นค่าพิเศษที่ใช้แก้ไขอาการตาเหล่หรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เลนส์พิเศษที่มีการเพิ่มค่า Prism จะช่วยปรับแนวการมองเห็นให้ตาทั้งสองข้างทำงานประสานกันได้ดีขึ้น ช่วยปรับแนวการมองเห็นให้เป็นปกติ
6. หน่วยอื่นที่อาจพบได้เพิ่มเติม
นอกจากค่าพื้นฐานที่กล่าวมาแล้ว เวลาอ่านค่าสายตาในใบตรวจสายตาอาจจะเจอมีค่าอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้แก่
-
PD (Pupillary Distance) แสดงระยะห่างระหว่างรูม่านตาทั้งสองข้าง
-
NPD (Interpupillary Distance at near) คือระยะห่างของกึ่งกลางตาทั้งสองข้างขณะมองใกล้
-
VD (Cornea vertex Distance) แสดงระยะห่างระหว่างกระจกตากับเลนส์แว่น
-
SE (Spherical Equivalent) เป็นค่าที่ได้จากการคำนวณรวมค่าสายตาสั้นหรือยาวกับค่าสายตาเอียงเข้าด้วยกัน
วิธีอ่านค่าสายตา แบบเข้าใจง่าย
การอ่านค่าสายตาไม่ยากอย่างที่คิด หากเข้าใจความหมายของแต่ละส่วน
ตัวอย่าง สมมติว่าใบค่าสายตาของคุณเขียนว่า
SPH | CYL | Axis | Add | |
RE (OD) | -1.75 | -0.50 | 095 | +2.00 |
LE (OS) | -2.00 | +2.00 |
วิธีอ่านค่าสายตาจากสลิปใบนี้ จะเริ่มจาก
ตาขวา (OD)
-
มีสายตาสั้น 175 (SPH -1.75)
-
มีสายตาเอียง 50 (CYL -0.50) ซึ่งปัญหาสายตาเอียงอยู่ในแกนเส้นแนวตั้งของดวงตา (Axis 95 องศา)
-
ต้องการกำลังขยายเลนส์เพิ่มเติม +2.00 (ADD)
ตาซ้าย (OS)
-
มีสายตาสั้น 200 (SPH -2.00)
-
ไม่มีค่าสายตาเอียง เนื่องจากไม่มีค่า CYL กับ Axis
-
ต้องการกำลังขยายเลนส์เพิ่มเติม +2.00 (ADD)
ค่าสายตาแว่นตา กับ ค่าสายตาคอนแทคเลนส์ ไม่เหมือนกัน
ค่าสายตาสำหรับแว่นตาและคอนแทคเลนส์จะแตกต่างกัน เนื่องจากระยะห่างระหว่างเลนส์กับดวงตาที่ไม่เท่ากัน คอนแทคเลนส์สัมผัสกับกระจกตาโดยตรง ในขณะที่แว่นตามีระยะห่างจากกระจกตา ทำให้ค่าสายตาที่ใช้ต้องมีการปรับเพื่อให้เหมาะสมกับอุปกรณ์แต่ละประเภท โดยเฉพาะในผู้ที่มีค่าสายตาสูงหรือมีสายตาเอียงมาก จึงไม่ควรใช้ค่าสายตาของแว่นไปสั่งซื้อคอนแทคเลนส์โดยไม่ได้รับการตรวจวัดที่เหมาะสม
สรุปบทความ
การทำความเข้าใจค่าสายตาและการอ่านค่าสายตาเป็นพื้นฐานสำคัญในการดูแลสุขภาพตา ค่าต่าง ๆ ที่ปรากฏในใบตรวจ ไม่ว่าจะเป็น SPH, CYL, Axis หรือค่าเพิ่มเติมอื่น ๆ ล้วนมีความสำคัญในการกำหนดเลนส์ที่เหมาะสมกับสภาพสายตาของแต่ละบุคคล
การตรวจวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอและการเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยการมองเห็นที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันปัญหาสายตาที่อาจรุนแรงขึ้นในอนาคต หากคุณสังเกตว่ามีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น สามารถเข้ามาปรึกษาปัญหากับผู้เชี่ยวชาญ และนักทัศนมาตรด้านสายตาได้ที่ศูนย์แว่นตาไอซอพติก ศูนย์แว่นตาโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล เรามีทีมนักทัศนมาตรและจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา ออกแบบ และวิเคราะห์การใช้สายตาของคุณอย่างละเอียด โดยมีปรมาจารย์โบบิ คอยดูแลทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณได้รับแว่นตาโปรเกรสซีฟที่ใส่สบาย ตอบโจทย์การใช้งาน และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมรับประกันความพึงพอใจสูงสุด 180 วัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
ปรมาจารย์โบบิ สายด่วน : 097-454-9944
LINE ID : @isoptik
เว็บไซต์ : https://www.isoptik.com
whatsapp : +66 97 454 9944
อีเมล : isoptik@gmail.com