อาการสายตาสั้น คือ อาการที่จอประสาทตาของเราไม่สามารถโฟกัส ทำให้เกิดภาพมัว เวลาที่เรามองระยะไกล โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะเกิดในช่วงวัยเรียนหรือวัยรุ่น และเมื่อเริ่มมีอาการทางสายตาสั้นเกิดขึ้น ค่าของสายตาก็จะสั้นขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ จนเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ ค่าสายตาก็จะเริ่มคงที่
โดยอาการสายตาสั้น เกิดจากภาวะผิดปกติของสายตา โดยกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ ทำให้ได้รับแสงที่หักเหมากเกินไป นอกจากนี้ ยังเกิดจาก ความยาวลูกตาผิดปกติ หรือลูกตามีขนาดใหญ่กว่าปกติ ส่งผลให้จุดรวมแสงตกกระทบอยู่ที่ด้านหน้าเรตินา และทำให้มองวัตถุที่อยู่ในระยะไกลได้ไม่ชัดเจน
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมบางคนสายตาสั้นตั้งแต่เด็ก แต่บางคนกลับมีอาการสายตาสั้นเมื่อมีอายุมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ทำให้คนเราสายตาสั้น คือ กรรมพันธุ์จากบิดามารดา และพฤติกรรมการใช้สายตา
สำหรับกรรมพันธุ์ หากบิดามารดามีอาการสายตาสั้นอยู่แล้ว บุตรอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการสายตาสั้นได้ตั้งแต่วัยเด็ก เนื่องจากยีนสายตาสั้นสามารถส่งต่อทางกรรมพันธุ์ได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าผู้ที่มีสายตาสั้นจากกรรมพันธุ์ จะมีสายตาที่สั้นมาก ๆ ตั้งแต่กำเนิด และสายตาจะสั้นขึ้นเร็วมาก
นอกจากนี้ อาการสายตาสั้นไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของสายตาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจเกิดได้จากพฤติกรรมการใช้สายตา เช่น การใช้สายตาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ การเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือการอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงน้อย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เรามีอาการสายตาสั้นได้เช่นกัน
หากคุณมีปัญหาสายตาสั้น สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาได้ ที่ศูนย์แว่นไอซอพติก ซึ่งมีเทคโนโลยีล้ำสมัย ที่จะช่วยตรวจวัดค่าสายตาได้อย่างละเอียด และรักษาอาการสายตาสั้นได้
เลนส์หลายชั้นไร้รอยต่อ : การสอนเรื่อง Progressive Lens ของปรมาจารย์โบบิ progressive addition lens