เคยไหมที่มองใกล้ไม่ชัด มองไกลกลับคมชัดแจ๋ว อาการแบบนี้อาจไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ แต่มันคือสัญญาณของ "สายตายาว" ที่กำลังคุกคามการมองเห็นของเรา แล้วสายตายาวเกิดจากอะไร เป็นแล้วจะหายได้ไหม วันนี้เราจะมาเจาะลึกทุกเรื่องเกี่ยวกับสายตายาว ตั้งแต่สาเหตุ อาการ ไปจนถึงวิธีรักษา เพื่อให้คุณเข้าใจและดูแลสายตาได้อย่างถูกต้อง
สายตายาว (Hyperopia) คืออะไร
โรคสายตายาว หรือ Hyperopia คือ อาการทางสายตาที่ระยะใกล้มองเห็นได้ไม่ชัด แต่สามารถมองเห็นภาพระยะไกลไดชัด โดยเกิดจากการที่แสงไม่สามารถโฟกัสลงบนจอประสาทตาได้พอดี แต่ไปตกกระทบที่ด้านหลังจอประสาทตา ทำให้การมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ไม่ชัดเจน ต้องเพ่งและปรับโฟกัสมากกว่าปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการปวดตา ปวดศีรษะ และความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา ซึ่งอาการสายตายาว ไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ แต่เด็ก ๆ หรือวัยรุ่น ก็สามารถมีอาการนี้ได้เช่นกัน
สายตายาวเกิดจากสาเหตุใด
สายตายาวเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างดวงตา ทำให้แสงที่ผ่านเข้ามาไม่สามารถโฟกัสได้อย่างถูกต้องบนจอประสาทตา ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มีดังนี้
-
ขนาดลูกตาสั้นเกินไป และความโค้งของกระจกตาน้อยเกินไป ทำให้แสงจะเกิดการหักเหน้อยลง และจุดรวมแสงไปตกที่ด้านหลังของจอประสาทตา
-
ความยืดหยุ่นของเลนส์ตาลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถปรับโฟกัสภาพในระยะใกล้ได้ดีเท่าเดิม มักเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป
-
คนในครอบครัวมีสายตายาว ก็มีโอกาสที่จะมีสายตายาวมากขึ้น
-
โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสายตายาว เช่น โรคเบาหวาน การเป็นมะเร็งรอบดวงตา โรคตาเล็ก เป็นต้น
สายตายาว อาการเป็นอย่างไร
ลักษณะอาการของโรคสายตายาว ส่วนมากจะมีอาการมองภาพได้ชัดเมื่อมองระยะไกล แต่ภาพจะพร่ามัวเมื่อมองระยะใกล้ และไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน นอกจากนี้ อาจมีพฤติกรรมหรี่ตาบ่อย เห็นภาพซ้อน หรือแสบตาเป็นอย่างมากเมื่อเจอแสงแดดจ้า ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ หรือเมื่อยล้าดวงตา
สายตายาวมีกี่ประเภท
ทั้งนี้ สายตายาว สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ สายตายาวโดยกำเนิด และ สายตายาวในผู้สูงอายุ
สายตายาวโดยกำเนิด (Farsightedness)
สายตายาวโดยกำเนิด เป็นประเภทของสายตายยาว ที่เกิดจากแสงโฟกัสตกเลยจุดรับภาพ โดยเมื่อภาพของวัตถุระยะไกลกระทบเข้าสู่ดวงตาแล้ว จุดโฟกัสจะไปตกที่ด้านหลังของจอประสาทตา ซึ่งอาการนี้เป็นผลจากการที่มีลูกตาเล็กกว่าปกติ แต่วัยเด็กเป็นวัยที่กล้ามเนื้อสายตายืดหยุ่นได้ ผู้ป่วยจึงรู้ตัวยากว่ากำลังเป็นโรคสายตายาวโดยกำเนิด ผู้ปกครองจึงควรให้ความใส่ใจและสังเกตพฤติกรรมของเด็กอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเด็กมีอาการตาเขร่วมด้วย
สายตายาวตามวัย (Presbyopia)
สายตายาวในผู้สูงอายุ พบได้ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยดวงตาจะไม่สามารถปรับโฟกัสให้แสงตกลงที่จอประสาทตาได้ จุดโฟกัสแสงจึงไปตกที่ด้านหลังของจอประสาทตา เนื่องจากความสามารถของระบบปรับกำลังสายตาลดลง และความยืดหยุ่นของเลนส์ตาลดลงไปตามอายุ จึงทำให้สูญเสียความสามารถในการมองเห็นระยะใกล้ได้ชัดเจน
ทั้งนี้ อาการสายตายาวในผู้สูงอายุ สามารถเกิดร่วมกับอาการสายตาอื่น ๆ ได้ เช่น สายตาสั้น และ สายตาเอียง จึงควรเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพสายตาต่อไป โดยส่วนมากแล้ว อาการสายตายาวในผู้สูงอายุสามารถรักษาได้ด้วยการใส่แว่นสายตา ที่จะสามารถช่วยชดเชยกำลังสายตาที่ขาดไป เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก และถนอมสายตาได้ดี
หากท่านมีอาการสายตายาวในผู้สูงอายุ สามารถติดต่อศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เพื่อตรวจวัดสายตา และตัดแว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล ไอซอพติก เพื่อรักษาอาการสายตายาว รวมถึงอาการทางสายตาอื่น ๆ ที่ท่านอาจไม่เคยสังเกตมาก่อน
สายตายาวส่งผลกระทบในชีวิตประจำวันอย่างไร
-
มีอาการปวดตา ปวดศีรษะ เมื่อต้องทำงานที่ต้องใช้สายตามาก ๆ เช่น อ่านหนังสือ หรือทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์
-
รู้สึกเมื่อยล้าตาง่าย ต้องพักสายตาบ่อยครั้ง และอาจมีอาการตาแดง น้ำตาไหล
-
มีปัญหาในการมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ ต้องถือหนังสือหรือโทรศัพท์ให้ห่างจากตามากกว่าปกติ
-
ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้สายตาในระยะใกล้เป็นเวลานาน
-
อาจส่งผลต่อการเรียนหรือการทำงาน เนื่องจากไม่สามารถจดจ่อกับงานที่ต้องใช้สายตาได้นาน
การตรวจวินิจฉัยสายตายาว
การตรวจวินิจฉัยภาวะสายตายาวมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
1. การซักประวัติ
จักษุแพทย์จะทำการซักประวัติอย่างละเอียดเกี่ยวกับอาการที่ผู้เข้ารับบริการประสบ รวมถึงประวัติทางการแพทย์และประวัติครอบครัว เนื่องจากสายตายาวอาจมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการใช้ชีวิต การทำงาน และกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับบริการแต่ละราย นอกจากนี้ ยังมีการสอบถามเกี่ยวกับอาการที่เกี่ยวข้อง เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดตา หรือการเมื่อยล้าของดวงตา
2. การตรวจระดับการมองเห็น (Visual Acuity Test)
การตรวจวัดระดับการมองเห็นเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญในการประเมินความรุนแรงของภาวะสายตายาว แพทย์จะใช้แผ่นทดสอบสายตามาตรฐาน Snellen Chart ที่มีตัวอักษรหรือตัวเลข 8 แถว ไล่ขนาดจากใหญ่ไปเล็ก เพื่อวัดความสามารถในการมองเห็นทั้งในระยะใกล้และระยะไกล
3. การวัดค่าสายตา (Refraction)
การตรวจวัดค่าสายตา จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Phoropter ร่วมกับการทดสอบเลนส์หลายชนิด เพื่อหาค่าสายตาที่เหมาะสมที่สุด โดยให้ผู้รับการตรวจมองผ่าน Phoropter และอ่านตัวอักษรบนแผนภูมิวัดสายตา จักษุแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญจะทำการเปลี่ยนเลนส์ จนกระทั่งผู้รับการตรวจสามารถมองเห็นตัวอักษรได้อย่างชัดเจน ค่าสายตาที่ได้จากการวัดนี้ จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกใช้แว่นตา คอนแทคเลนส์ต่อไป
4. การวัดความโค้งของกระจกตา (Keratometer Test)
การตรวจวัดความโค้งของกระจกตาเป็นการประเมินลักษณะทางกายภาพของดวงตาที่อาจส่งผลต่อการมองเห็น โดยใช้เครื่อง Keratometer ส่องแสงเข้าไปในดวงตา แสงที่สะท้อนกลับมาจะบอกความโค้งของกระจกตา หากความโค้งผิดปกติ แสดงว่ามีปัญหาสายตา
นอกจากนี้ จักษุแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญอาจพิจารณาตรวจการมองเห็นอื่น ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
การรักษาภาวะสายตายาว
เมื่อทราบสาเหตุและอาการของสายตายาวแล้ว การรักษาที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณกลับมามองเห็นได้อย่างคมชัดอีกครั้ง ปัจจุบันมีวิธีการรักษาภาวะสายตายาวที่หลากหลาย ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
1. การใส่แว่นตา
แว่นตาเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด สำหรับผู้ที่มีสายตายาวแต่กำเนิด มักใช้แว่นตาที่มีเลนส์นูนเพื่อช่วยรวมแสงให้เข้าสู่ดวงตาอย่างเหมาะสม แต่สำหรับผู้ที่มีสายตายาวตามวัย การเลือกใช้เลนส์โปรเกรสซีฟ ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะเลนส์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษให้มีค่าสายตาที่แตกต่างกันในเลนส์เดียวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในทุกระยะ ตั้งแต่ระยะไกล ระยะกลาง ไปจนถึงระยะใกล้ โดยไม่ต้องสลับแว่นตาหลายอัน
2. การใส่คอนแทคเลนส์
คอนแทคเลนส์ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายในการทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือต้องการความมั่นใจในการเข้าสังคม โดยต้องเลือกคอนแทคเลนส์ให้เหมาะสมกับค่าสายตาของตนเอง ซึ่งคอนแทคเลนส์ก็มีหลายแบบ เช่น แบบแข็ง แบบนิ่ม รายวัน หรือรายเดือน อย่างไรก็ตาม ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัดและต้องเปลี่ยนตามกำหนดเวลาเพื่อป้องกันการติดเชื้อและปัญหาสุขภาพตาอื่น ๆ
3. การผ่าตัด
การผ่าตัดแก้ไขสายตายาวมีหลายรูปแบบ เช่น
-
PRK (Photorefractive Keratectomy) เป็นการผ่าตัดที่คล้ายกับ LASIK แต่ต่างกันที่เลสิกมีการแยกชั้นกระจกตา แต่ PRK ไม่ต้องแยกชั้นกระจกตา ใช้แสงเลเซอร์ปรับผิวกระจกตาโดยตรง เหมาะสำหรับคนที่มีข้อจำกัดในการทำเลสิก เช่น กระจกตาบาง หรือตาแห้ง
-
Femto LASIK เป็นวิธีการผ่าตัดแก้ไขสายตายาวโดยกำเนิดที่ใช้เครื่อง Femtosecond Laser เปิดฝากระจกตา จากนั้นจะปรับแต่งความโค้งของกระจกด้วยเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser) ใช้เวลาน้อยในการผ่าตัด และมีผลข้างเคียงน้อย
-
Microkeratome LASIK เป็นวิธีการผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตายาวโดยใช้ใบมีดขนาดเล็กแยกชั้นกระจกตาออกเป็นแผ่นบาง ๆ ก่อน จากนั้นจึงใช้เลเซอร์เอ็กไซเมอร์ (Excimer laser) ปรับแต่งรูปร่างและความโค้งของกระจกตา เมื่อปรับแต่งได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็จะปิดกระจกตากลับเข้าที่เดิม
วิธีดูแลดวงตา ชะลอสายตายาวตามวัย
การดูแลสุขภาพดวงตาอย่างสม่ำเสมอ ช่วยชะลอการเกิดสายตายาวตามวัย และลดความเสี่ยงของโรคทางตาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นได้ โดยมีวิธีการดังนี้
-
พักสายตาทุก 20 นาที โดยมองวัตถุในระยะไกลอย่างน้อย 20 วินาที ตามหลัก 20-20-20
-
จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่สว่างหรือมืดจนเกินไป
-
รักษาระยะห่างระหว่างตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหนังสือประมาณ 50-60 เซนติเมตร
-
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพตา เช่น ผักใบเขียว ปลาทะเล และผลไม้ที่มีวิตามินเอสูง
-
หลีกเลี่ยงการขยี้ตาแรง ๆ และสวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้ง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสายตายาว
1. สายตายาวเท่าไหร่ควรใส่แว่น
โดยทั่วไป หากมีค่าสายตายาวตั้งแต่ +0.75 ถึง +1.00 ไดออปเตอร์ขึ้นไป และมีอาการรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ปวดตา ปวดศีรษะ หรือมองเห็นไม่ชัดในระยะใกล้ ควรพิจารณาใส่แว่นตาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง
2. คนเราจะเริ่มสายตายาว อายุเท่าไหร่
สายตายาวสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย แต่มักพบมากขึ้นเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากเลนส์ตาเริ่มสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้เกิดภาวะสายตายาวตามวัย (Presbyopia) อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีภาวะสายตายาวมาตั้งแต่กำเนิดได้เหมือนกัน
3. สายตายาว +1.00 คืออะไร
ค่าสายตายาว +1.00 หมายถึงระดับความผิดปกติของสายตาที่วัดได้ในหน่วยไดออปเตอร์ ซึ่งเป็นหน่วยวัดกำลังของเลนส์ เครื่องหมาย + แสดงถึงภาวะสายตายาว และตัวเลข 1.00 บ่งบอกถึงระดับความรุนแรง ยิ่งตัวเลขมากขึ้น แสดงว่ามีภาวะสายตายาวมากขึ้น
4. รักษาสายตายาวด้วยวิธีธรรมชาติได้ไหม
แม้จะมีการแนะนำวิธีธรรมชาติต่าง ๆ เช่น การบริหารกล้ามเนื้อตา การนวดตา หรือการรับประทานอาหารเสริม แต่ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันว่าวิธีเหล่านี้สามารถแก้ไขภาวะสายตายาวได้ วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดยังคงเป็นการใช้อุปกรณ์ช่วยในการมองเห็น เช่น แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์
5. ควรตรวจวินิจฉัยภาวะสายตายาวเมื่อไหร่
ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันทีเมื่อสังเกตพบอาการผิดปกติ เช่น มองเห็นไม่ชัดในระยะใกล้ ปวดตา หรือปวดศีรษาบ่อยครั้ง สำหรับการตรวจสุขภาพตาทั่วไป แนะนำให้ตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของสายตาและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
6. สายตายาวหายได้ไหม
สายตายาวไม่สามารถรักษาให้หายขาด แม้การทำเลสิกจะช่วยแก้ไขความผิดปกติของสายตาได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป สายตาอาจจะกลับมายาวได้อีก ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้สายตาและการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย ดังนั้น การดูแลสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรักษาสายตาให้ดีที่สุด
สรุปบทความ
ภาวะสายตายาวเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาที่เหมาะสมจะช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญคือการพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับตนเอง
สำหรับใครที่มีปัญหาสายตายาวตามวัย สามารถเข้ามาปรึกษาปัญหากับผู้เชี่ยวชาญ และนักทัศนมาตรด้านสายตาได้ที่ศูนย์แว่นตาไอซอพติก ศูนย์แว่นตาโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล เรามีทีมนักทัศนมาตรและจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา ออกแบบ และวิเคราะห์การใช้สายตาของคุณอย่างละเอียด โดยมีปรมาจารย์โบบิ คอยดูแลทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณได้รับแว่นตาโปรเกรสซีฟที่ใส่สบาย ตอบโจทย์การใช้งาน และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมรับประกันความพึงพอใจสูงสุด 180 วัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
ปรมาจารย์โบบิ สายด่วน : 097-454-9944
LINE ID : @isoptik
เว็บไซต์ : https://www.isoptik.com
whatsapp : +66 97 454 9944
อีเมล : isoptik@gmail.com
เลนส์โปรเกรสซีฟเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้ที่ต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การมองเห็นที่ชัดเจนและสะดวกสบายจะช่วยเพิ่มความมั่นใจและคุณภาพชีวิตในทุกๆ วัน progressive addition lenses