
เคยรู้สึกไหมว่า เวลาขับรถตอนกลางคืนแล้วมองไม่ชัด หรือปรับสายตาในที่มืดยากกว่าปกติ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของ ภาวะตาบอดกลางคืน ( Night Blindness ) ซึ่งไม่ได้หมายถึงการมองไม่เห็นสนิทในเวลากลางคืน แต่เป็นความยากลำบากในการมองเห็นเมื่อแสงน้อย บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักภาวะนี้ให้มากขึ้น ตั้งแต่สาเหตุ อาการ ไปจนถึงวิธีป้องกันและดูแลสายตา เพื่อให้คุณใช้ชีวิตในเวลากลางคืนได้อย่างมั่นใจ
ตาบอดกลางคืน ( Night Blindness ) คืออะไร
ตาบอดกลางคืน เป็นภาวะที่ทำให้การมองเห็นในที่มีแสงน้อยหรือในเวลากลางคืนแย่ลงอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากความผิดปกติของดวงตา ในตาปกติจะมีเซลล์รับแสง 2 ชนิด คือ เซลล์รูปแท่ง ( Rod ) ทำหน้าที่มองเห็นในที่แสงน้อย และเซลล์รูปกรวย ( Cone ) ทำหน้าที่มองเห็นสีและรายละเอียดในที่สว่าง เมื่อเซลล์รูปแท่งทำงานผิดปกติหรือเสื่อมสภาพ จะทำให้เกิดอาการตาบอดกลางคืน
ตาบอดกลางคืนเกิดจากอะไร
-
ขาดวิตามินเอ ซึ่งเป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในการมองเห็น
-
ปัญหาสายตา และโรคทางตาบางชนิด เช่น สายตาสั้น ต้อกระจก ต้อหิน หรือเบาหวานขึ้นตา เป็นต้น
-
ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยารักษาต้อหินบางชนิดที่ทำให้รูม่านตาหดตัวลง ยาในกลุ่มโคลิเนอร์จิก เอเจนท์
ลักษณะอาการตาบอดกลางคืน
อาการของภาวะตาบอดกลางคืนที่สังเกตได้ชัดเจนคือ ความยากลำบากในการมองเห็นเมื่ออยู่ในที่มีแสงน้อย โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนจากที่สว่างสู่ที่มืด เช่น เดินจากภายนอกอาคารเข้ามาในอาคาร เดินเข้าโรงภาพยนตร์ หรือขับรถในเวลากลางคืนที่มีแสงสว่างไม่สม่ำเสมอ ทั้งแสงจากไฟหน้ารถและแสงจากไฟถนนระหว่างทาง ผู้มีอาการจะใช้เวลานานกว่าปกติในการปรับสายตาให้ชิน
การรักษาอาการตาบอดกลางคืน
Alt text : ตาบอดกลางคืน รักษาอย่างไร
-
รับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูง เช่น แครอท ฟักทอง ผักใบเขียว ไข่ ตับ
-
แก้ไขความผิดปกติของสายตา โดยใช้แว่นสายตาที่เหมาะสม ช่วยให้มองเห็นชัดขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน
-
กลุ่มคนที่มีปัญหาต้อกระจก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อผ่าตัดต้อกระจก เปลี่ยนเลนส์ตาที่ขุ่นมัวเป็นเลนส์แก้วตาเทียมใส ช่วยให้มองเห็นชัดขึ้น
-
ปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนยาที่อาจส่งผลต่อการมองเห็นในที่มืด
ดูแลตัวเองอย่างไร ลดความเสี่ยงตาบอดกลางคืน
การป้องกันตาบอดกลางคืนเริ่มจากการดูแลโภชนาการให้ครบถ้วน เลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอและสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผักใบเขียวเข้ม แครอท มะม่วง ฟักทอง ไข่ และตับ นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปีจะช่วยเจอความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี และหากมีประวัติโรคตาในครอบครัว ควรแจ้งจักษุแพทย์เพื่อเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
สรุปบทความ
ตาบอดกลางคืน ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะถ้าต้องขับรถหรือเดินทางในที่มืด อาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น หากเริ่มมองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม แต่ถ้ายังไม่มีอาการ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา ดูแลสุขภาพตาสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงและชะลอการเกิดภาวะนี้
สำหรับผู้ที่ต้องการแก้ไขความผิดปกติของสายตา โดยเฉพาะสายตายาวตามวัย สามารถเข้ามาปรึกษาปัญหากับผู้เชี่ยวชาญ และนักทัศนมาตรด้านสายตาได้ที่ศูนย์แว่นตาไอซอพติก ศูนย์แว่นตาโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล เรามีทีมนักทัศนมาตรและจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา ออกแบบ และวิเคราะห์การใช้สายตาของคุณอย่างละเอียด โดยมีปรมาจารย์โบบิ คอยดูแลทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณได้รับแว่นตาโปรเกรสซีฟที่ใส่สบาย ตอบโจทย์การใช้งาน และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมรับประกันความพึงพอใจสูงสุด 180 วัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
ปรมาจารย์โบบิ สายด่วน : 081-538-4200
LINE ID : @isoptik
เว็บไซต์ : https://www.isoptik.com
whatsapp : +66 81-538-4200
อีเมล : isoptik@gmail.com