ท่อน้ำตาอุดตันในเด็ก

โดย แพทย์หญิง อรทัย สุวรรณพิมลกุล จักษุแพทย์

เด็กทารกหลังคลอดท่อน้ำตาที่เปิดลงจมูกอาจตันได้ แต่ควรจะเปิดเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์หลังคลอด หากยังไม่เปิดอาจนำมาสู่ภาวะที่เรียกว่าท่อน้ำตาอุดตัน ท่อน้ำตาอุดตันในเด็กพบได้ประมาณ 1.75 - 6 % ของเด็กคลอดครบกำหนด เกิดจากส่วนปลายของท่อทางเดินน้ำตาในโพรงจมูกตีบตัน

ท่อน้ำตาตันจะมีอาการอย่างไร

อาการที่เห็นชัด ๆ คือ ตาข้างนั้นจะมีน้ำตาคลอตลอดเวลาเหมือนคนร้องไห้ใหม่ ๆ บางรายอาจมีการอักเสบ มีขี้ตาแฉะ และตาบวมแดง อาการนี้มักเป็นตั้งแต่แรกเกิด และดีขึ้นเป็นครั้งคราวเมื่อใช้ยา แต่ไม่หายขาด บางรายที่มีการสะสมของขี้ตา และเชื้อโรคปริมาณมากเข้าไปในถุงน้ำตา ก็อาจจะทำให้ติดเชื้ออักเสบเป็นฝีบริเวณถุงน้ำตาได้ ท่อน้ำตาตันจะเป็นตาเดียวหรือสองตาก็ได้

ท่อน้ำตาอุดตันในเด็ก
ภาพแสดงท่อน้ำตาตันในเด็ก ที่มีขี้ตาแฉะติดที่ขอบหนังตา และขนตา
ท่อน้ำตาอุดตันในเด็ก
ภาพแสดงท่อน้ำตาตันในเด็ก ที่มีการติดเชื้อมากลามไปถึงถุงน้ำตา ทำให้อักเสบเป็นฝีปวดบวมแดง

ในรายที่สงสัยว่าเป็นท่อน้ำตาตัน จำเป็นต้องพบจักษุแพทย์ทุกรายเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นท่อน้ำตาตันจริงหรือไม่ โดยวิธีการง่าย ๆ คือ การย้อมสีที่น้ำตา แล้วดูว่าสีที่ย้อมหายไปใน 5 นาทีหรือไม่ ถ้าสียังคงเอ่ออยู่ในตานานกว่า 5 นาที สงสัยได้ว่าเป็นท่อน้ำตาตัน อีกวิธี คือ การล้างท่อน้ำตาโดยเอาน้ำเกลือหรือน้ำสะอาดฉีดล้างเข้าไปทางรูท่อน้ำตา ในรายที่ท่อน้ำตาตันจริงน้ำที่ล้างเข้าไปก็จะเอ่อออกมาให้เห็น

เมื่อเด็กได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นท่อทางเดินน้ำตาอุดตัน การรักษาในระยะเริ่มแรกแพทย์มักแนะนำให้นวดบริเวณรูเปิดของท่อน้ำตาก่อน ซึ่งวิธีการนวดที่ถูกวิธี และถูกตำแหน่งมีความสำคัญมาก จะทำให้ปลายท่อน้ำตาที่อุดตันเปิดออกได้ ช่วยระบายขี้ตา และน้ำที่ขังอยู่ในท่อน้ำตา เพราะหากขังอยู่นานจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ควรนวดทุกวัน วันละหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละ 5 - 10 นาที ถ้ามีขี้ตาแพทย์มักให้ยาปฏิชีวนะหยอดเป็นครั้งคราว

โดยทั่วไปพบว่า 88 % ของท่อน้ำตาอุดตัน มักจะหายได้เองเมื่ออายุ 6 - 8 เดือน ถ้านวดอย่างถูกวิธี และในช่วงขวบปีแรกอัตราการหายสูงถึง 94 %

วิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การใส่เครื่องมือเพื่อไปขยายบริเวณที่ตีบตัน มักพิจารณาในกรณีที่

  • มีการติดเชื้อเป็น ๆ หาย ๆ ตลอด
  • มีการอุดตันเรื้อรังจนกระทั่งเด็กมีอายุเกิน 1 ปี
ท่อน้ำตาอุดตันในเด็ก
ภาพแสดงท่อน้ำตาตันในเด็ก ที่มีการติดเชื้อมากลามไปถึงถุงน้ำตา ทำให้อักเสบเป็นฝีปวดบวมแดง

การใส่เครื่องมือเพื่อไปถ่างขยาย อาจทำได้ทันทีตามกรณีข้างต้น หากไม่มีปัญหาดังกล่าวอาจรอจนเด็กอายุ 1 ปี แล้วจึงพิจารณาทำ เนื่องจากการถ่างขยายมักจะต้องดมยาสลบ ซึ่งในเด็กอาจมีความเสี่ยงต่อการดมยาได้ เวลาที่ใช้ทำส่วนใหญ่ไม่เกินข้างละ 5 นาที

โอกาสประสบความสำเร็จขึ้นกับอายุ อายุ 1 - 1.5 ปี อยู่ที่ 77 % อายุ 1.5 - 2 ปี โอกาสจะลดลง เหลือ 54 %

หากรักษาด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้น อาจต้องพิจารณาผ่าตัดเพื่อต่อท่อน้ำตา จักษุแพทย์มักทำเมื่อกระดูกเบ้าตาของเด็กเจริญเต็มที่แล้ว ซึ่งจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?