อาการสายตาสั้นตอนกลางคืน หรือ Night Myopia คืออาการที่ดวงตาจะมองเห็นวัตถุในระยะกลางและระยะไกลได้ไม่ชัดในเวลากลางคืน หรือในสภาวะที่มีแสงน้อย โดยเห็นแสงไฟในระยะไกลเป็นเป็นแสงฟุ้ง ( Glare ) และต้องฝืนเพ่งตามองเป็นพิเศษ เพื่อให้ภาพชัดขึ้น ซึ่งอาการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในสภาวะที่มีแสงน้อย เช่น การขับรถในเวลากลางคืน
อาการสายตาสั้นตอนกลางคืนเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เมื่ออยู่ในสภาวะแสงน้อย ดวงตาจะไม่สามารถเห็นภาพที่ชัดเจนได้ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นกลไกการเพ่งอย่างแม่นยำ (Eye Accommodation) แม้ดวงตาจะมีระบบการขยายรูม่านตาในสภาวะแสงน้อย (Mydriasis) แต่การขยายรูม่านตาไม่สามารถกระตุ้นระบบการเพ่งได้ดีเท่าสภาวะที่แสงเพียงพอ เนื่องจากรูม่านตาขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรับแสงในที่มืด แต่จะส่งผลให้ความคมชัดของการมองเห็นลดลง
ด้วยเหตุนี้ การอยู่ในที่ ๆ มีแสงน้อยทำให้ขาดสิ่งกระตุ้นระบบกลไกการเพ่ง และทำให้ดวงตาไม่สามารถมองได้ชัดเท่าในสภาวะที่มีแสงเพียงพอ หรือสามารถมองชัดได้เพียงระยะใกล้
หลายคนอาจคิดว่าอาการสายตาสั้นตอนกลางคืนต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีพิเศษ ที่แตกต่างจากการรักษาอาการสายตาสั้นตามปกติ แต่มีผลงานวิจัยรายงานว่าอาการสายตาสั้นตอนกลางคืนนั้น แท้จริงแล้วเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะสายตาสั้น (Myopia) ตามปกติ ซึ่งสามารถรักษาได้ง่าย ๆ โดยการตรวจวัดสายตาที่ร้านแว่นตา และตัดแว่นสายตาที่เหมาะกับค่าสายตาของตนเอง
หากมีอาการสายตาสั้นตอนกลางคืน มองเห็นภาพระยะไกลไม่ชัด ขับรถแล้วมองไกลได้ลำบาก สามารถเข้ามาปรึกษาสุขภาพดวงตาและแนวทางการรักษากับจักษุแพทย์ที่ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก