งานของไอซอพติกเราไม่ได้ขายแค่แว่นตา แต่เราขายคุณภาพการมองเห็นชัดทุกระยะในระดับสูงสุด และรักษาคุณภาพการมองเห็นนี้ไว้ให้ได้นานที่สุด เพื่อคุณภาพที่ดีที่สุดของชีวิต
คนเรามองเห็นได้อย่างไร แล้วเมื่อการมองเห็นของเราบกพร่อง สมองกับระบบการมองเห็นมีวิธีชดเชยอย่างไร และเกิดอะไรขึ้นเมื่อเรามีปัญหาทางสายตาแล้วเราไม่แก้ไข แล้วก็ใช้สมองฝืน ?
จะเกิดอะไรขึ้นกับระบบการทำงานของสมองของร่างกาย ผลกระทบต่อชีวิตคุณภาพชีวิตอย่างไร รวมถึงเรื่องของการดูแลเด็กแรกเกิด เด็กเล็ก เด็กโต วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ แล้วก็จะเข้าสู่ภาวะผู้สูงวัย แล้วรวมถึงวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ซึ่งศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติกเป็นทางออกที่ดีที่สุดในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพการมองเห็นในวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งแน่นอนว่าค่าใช้จ่ายก็จะสูงพอสมควร แต่ว่าเราก็จะมีแพ็กเกจ ราคาประหยัดสำหรับคนทุกคนสามารถที่จะเอื้อมถึง หรือเข้าถึงได้ ไม่ต้องจ่ายเงินเป็นแสน เป็นล้านเหมือนเมื่อก่อน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้คนได้ใช้แว่นตาคุณภาพดี เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
เรามองดูด้วยตา แต่เรามองเห็นด้วยสมอง ถ้าภาพที่เรามองเห็นไม่ชัดสมองก็จะทำการเพ่ง เริ่มต้นกระบวนการคือ จะเริ่มตั้งแต่แสงวิ่งผ่านกระจกตา รูม่านตา แล้วก็จอประสาทตา เมื่อภาพไม่ชัดสมองก็จะสั่งการให้เพ่ง โดยมีการเปลี่ยนแปลง มีอาการเกร็งกล้ามเนื้อ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงความโค้งของเลนส์แก้วตา ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นสูง ให้แสงตกพอดีหรือใกล้เคียงจอประสาทตามากที่สุด แล้วรูม่านตาจะทำการหด เพื่อที่จะเพ่งให้ภาพชัดที่สุด ในกระบวนการดังกล่าว เมื่อมีการเพ่งก็จะเกิดภาพที่คมชัดขึ้น และเมื่อภาพคมชัดขึ้น ก็จะมีการเพ่งอยู่อย่างนั้นตลอดระยะเวลาที่ใช้สายตา แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
เมื่อเราเพ่งกระบวนการเพ่งทั้งหมดต้องใช้พลังสมองในการควบคุม ในการที่จะปรับสัญญาณภาพให้เห็นชัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ปกติแล้วเมื่อภาพตกไปที่จอประสาทตาภาพจะส่งสัญญาณเป็นสัญญาณ 2 มิติ โดยภาพตาข้างขวา จะถูกควบคุมด้วยสมองซีกซ้ายขณะที่ตาข้างซ้ายจะถูกควบคุมด้วยสมองซีกขวา แล้วก็จะส่งสัญญาณภาพแบบ 2 มิติ ไปที่สมองส่วนหลัง หลังจากนั้นจะทำการรวมภาพเป็นระบบ 3 มิติ ขึ้นมา กระบวนการนี้จะใช้พลังสมองล้วน ๆ ซึ่งถ้าเป็นคนที่มีสายตาปกติ ก็สามารถที่จะมองแล้วก็ชัดเลย โดยไม่ต้องฝืนเพ่ง และจะทำให้สมองไม่ต้องทำงานหนัก
แต่คนที่มีปัญหาความผิดปกติทางสายตาสมองจะเพ่ง ซึ่งจะมี 2 กรณี คือเพ่งแล้วเห็นชัดก็เลยเพ่ง กับ เพ่งแล้วเห็นไม่ชัดก็เลยหยุดเพ่ง ซึ่งกรณีของคนที่เพ่งแล้วเห็นไม่ชัด สมองก็จะหยุดเพ่ง ซึ่งในกลุ่มนี้ปกติแล้วเวลารู้ตัวเองว่ามีปัญหา ส่วนหนึ่งก็จะไปแก้ไขโดยการทำแว่น ใช้คอนแทคเลนส์ หรือการผ่าตัดเพื่อที่จะทำให้แสงตกพอดีจอประสาทตามากที่สุด ซึ่งในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีปัญหามากนัก เนื่องจากปัญหาได้รับการแก้ไข แต่ส่วนใหญ่แล้วปัญหามักจะเกิดขึ้นกับคนที่ใช้สมองฝืนเพ่งแล้วเห็นชัดก็เลยเพ่ง แล้วก็ไม่เข้าใจว่าตัวเองมีปัญหา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเนื่องจากมีความผิดปกติทางสายตา แต่ไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งจะมีอาการก็คือ ประสิทธิภาพการทำงานของสมองก็จะยิ่งลดลงตามวัยที่เพิ่มขึ้น
ยิ่งอายุมากขึ้นความสามารถในการทำงานของสมองก็ยิ่งลดลงทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าได้ง่าย และในหลายกรณีจะมีอาการปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ ปวดบนศีรษะ และบางรายก็จะลามไปถึงท้ายทอย บางรายจะลงไหล่ และที่สำคัญที่สุดก็คือในหลายกรณีที่มีปัญหาเรื่องของสายตา และไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้สมองส่วนที่ควบคุมอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย อาจทำงานผิดเพี้ยนไป หรือ ทำงานผิดปกติ และในหลายกรณีก็เคยพบว่า จะมีอาการคล้ายป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ถ้าเราแก้ตรงจุดจะแก้ง่าย ด้วยการแก้เรื่องของความผิดปกติทางสายตา เป็นการแก้ที่ตรงจุดที่สุดแต่ในหลายคนที่ไม่ทราบก็อาจถูกตีความว่าเป็นโรคต่าง ๆ ทำการรักษาตามอาการ และจะมีการให้ยา ซึ่งจะทำให้ตัวคนไข้ได้รับผลข้างเคียงจากการรับประทานยาโดยไม่จำเป็น
การแก้ปัญหา ถ้าเราแก้ให้ตรงจุดคือดีที่สุดไม่ใช่ไปแก้ที่ปลายเหตุ เพราะในหลายกรณีปัญหาทางสายตาจะทำให้เกิดอาการปวด ซึ่งในอาการปวดเหล่านี้เมื่อทานยาแก้ปวด อาการก็จะดูเหมือนปวดน้อยลง หรือ ไม่ปวด แต่เนื่องจากต้นเหตุไม่ได้รับการแก้ไข ก็ต้องเพิ่มขนาดยา หรือ ต้องรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานาน และที่สำคัญที่สุดคือ ในการแยกอาการทางสายตาในหลายกรณีจะมีอาการคล้ายกับไมเกรน ดังนั้นเมื่อมีปัญหาทางสายตาก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายตา หรือ จักษุแพทย์
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีเด็กเล็ก เด็กเล็กควรจะได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์ แนะนำว่าเด็กแรกเกิดในภาวะประมาณสัก 1 เดือน ถึง 3 เดือน ควรจะได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์เบื้องต้น ซึ่งเราจะตรวจให้รู้ว่าเด็กมีระบบการมองเห็นที่ปกติหรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจได้ และใช้เวลาไม่นาน หลังจากนั้นถ้าเด็กปกติแล้วควรตรวจอีกครั้งในช่วงวัยประมาณ 2 ขวบ 4 ขวบ 6 ขวบ ตามลำดับ หลังจากนั้นก็อาจจะเว้นช่วงไปได้ ถ้าเด็กไม่มีปัญหาเรื่องของสายตาใด ๆ ปกติแล้วมักจะมีความเข้าใจที่ค่อนข้างจะคาดเคลื่อนในเรื่องของสายตา ซึ่งคำถามมีอยู่ว่าเด็กที่มีสายตาสั้น สายตาเอียง หรือ สายตายาว ระหว่างการใส่แว่นตลอดเวลา กับ ใส่ ๆ ถอด ๆ อันไหนดีกว่า จริงหรือไม่ที่ว่าใส่แว่นเป็นประจำแล้วจะทำให้สายตาแย่ลง จริงหรือไม่ที่ใส่ ๆ ถอด ๆ แล้วจะทำให้สายตาดีขึ้น ใส่แว่นเฉพาะที่จำเป็น
สายตาสั้นเราจะแบ่งเป็นสายตาสั้นแท้ กับ สายตาสั้นเทียม ขออนุญาตพูดถึงเรื่องของสายตาสั้นเทียมก่อน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยังใหม่สำหรับหลาย ๆ คน แล้วผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายตาส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในเรื่องนี้
สายตาสั้นเทียม เป็นภาวะที่เกิดจากการเพ่งที่มากเกินไป ส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่เด็กจะใช้สายตาเล่นเกมกับมือถือเป็นสาเหตุหลัก กับ ใช้สายตาในการอ่านหนังสือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยไม่มีการพักสายตา ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อระบบการมองเห็น เกิดการหด เกร็ง ค้าง แล้วไม่คลายตัว
ดูมือผมนะครับนี่เป็นเลนส์ตาสภาพปกติเวลามองใกล้ก็จะมีการปรับเลนส์แก้วตาให้มีความโค้งเพิ่มขึ้น เพื่อจะมองในระยะใกล้ได้ดี และเห็นภาพชัด แต่เมื่อเด็กเล่นเกม หรือ อ่านหนังสือติดต่อกันนาน ๆ 2 3 ชั่วโมงติดต่อกัน ตัวเลนส์แก้วตากับระบบการมองเห็นจะไม่ยอมคลายตัวกับตำแหน่งปกติ เมื่อเด็กมองไกล เนื่องจากเลนส์แก้วตาโค้งค้างอยู่ จะทำให้เกิดภาวะเหมือนกับสายตาสั้นคือ เลนส์ไม่ยอมคลายตัว วิธีแก้ง่ายที่สุดคือ วิธีการฝึกกล้ามเนื้อตา และฝึกให้เด็กมีวินัยในการใช้สายตาคือ ให้พักสายตาอย่างน้อยชั่วโมงละครั้ง ครั้งละอย่างน้อย 1 นาที ก็จะสามารถช่วยได้ หรือในหลายกรณี เราอาจจะต้องใช้เลนส์ที่มีระบบป้องกันสายตาสั้นเทียมช่วยเด็กที่มีพฤติกรรมการใช้สายตาระยะใกล้ติดต่อกันนาน ๆ
ซึ่งศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เราเป็นศูนย์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของการสร้างแว่นตาสำหรับป้องกันสายตาสั้นเทียม ซึ่งเราจะมีเลนส์ให้เลือกในหลายระดับราคาตั้งแต่คู่ละ 15,000 บาท ไปจนถึงคู่ละ 500,000 บาท แล้วแต่ว่าต้องการคุณภาพขนาดไหน แต่ปกติแล้วเด็กที่มีสายตาสั้นเทียม แนะนำให้ใช้เป็นเลนส์ที่ซื้อเป็นแพ็กเกจ ซึ่งจะมีแพ็กเกจให้เลือกตั้งแต่ 2 คู่ไปจนถึง 10 คู่ ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองประมาณ 30 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ สำหรับเด็กที่เป็นสายตาสั้นแท้ เรามีเลนส์ที่ช่วยควบคุมไม่ให้สายตาเพิ่มขึ้นเร็วเกินไป
เด็กที่สายตาสั้นแท้ ปกติแล้วเมื่อเด็กมีการเจริญเติบโต เมื่อกะโหลกศีรษะขยาย ความยาวลูกตาก็ขยาย สายตาสั้นก็จะเพิ่ม ซึ่งเรื่องนี้การที่เราจะไปควบคุมไม่ให้สายตาเด็กสั้นเพิ่มขึ้น หรือทำให้เด็กสายตาหยุดนิ่งไม่เพิ่มขึ้นคือ ต้องควบคุมไม่ให้ขนาดของศีรษะของเด็กโตขึ้น ซึ่งมันไม่มีใครทำกัน
เด็กต้องโตตามธรรมชาติ ดังนั้นเมื่อเด็กมีการเจริญเติบโต ศีรษะขยาย ร่างกายขยาย สายตาสั้นเพิ่มขึ้น ดังนั้นนี่จึงเป็นธรรมชาติของเด็ก เพียงแต่ว่าเราต้องระวังไม่ให้เกิดภาวะสายตาสั้นเทียมร่วมด้วย ดังนั้นเด็กในวัยเจริญเติบโตควรจะได้รับการตรวจวัดสายตาทุก ๆ ปี เด็กบางคนอาจต้องทุก 6 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเกิดภาวะสายตาขี้เกียจ
ต่อไปเป็นเรื่องของภาวะสายตาขี้เกียจ ว่าสายตาขี้เกียจคืออะไร อันตรายอย่างไร จะป้องกัน แก้ไขได้อย่างไร และคำถามที่ว่าจริงหรือไม่ที่พ่อแม่ พ่อสายตาสั้น แม่สายตาสั้น แล้วก็ลูกจะต้องสายตาสั้นเสมอไปหรือไม่ หรือพ่อแม่สายตาเอียงลูกจะสายตาเอียงหรือไม่
ความเป็นไปได้ที่พ่อและแม่สายตาสั้น โอกาสที่ลูกจะสายตาสั้นคือ 50 % ดังนั้นถ้าเกิดพ่อสายตาสั้น แม่สายตาไม่สั้น โอกาสสายตาสั้นจะเป็น 25 %
แต่ถ้าเกิดเป็นสายตาเอียง พ่อและแม่มีสายตาเอียง ลูกออกมาก็จะมีสายตาเอียงเสมอ นี่คือผลของการวิจัยที่เราเข้าใจกันทั่วโลก และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้นเรื่องสายตา ถ้าผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่อยากให้ลูกใส่แว่นก็ต้องใส่คอนแทคเลนส์ หรือจะใช้วิธีไหนก็แล้วแต่ ต้องให้ลูกมีคุณภาพการมองเห็นที่ดีที่สุด เพราะว่ามันจะเกี่ยวข้องกับเรื่องตาขี้เกียจ
ตาขี้เกียจคืออะไร ?
ตาขี้เกียจ คือ การที่สมองส่วนการเห็นไม่เคยเห็นภาพชัดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ ในเด็กแล้วทำให้พัฒนาการของเด็กในส่วนสมองส่วนการมองเห็นไม่สามารถพัฒนาตัวเองไปสู่การมองเห็นภาพชัดได้ หมายความว่า เด็กจะมีความบกพร่องทางการมองเห็นมีการมองเห็นแค่ประมาณครึ่งเดียวของเด็กปกติ อธิบายง่าย ๆ คือ ถ้าเด็กปกติมองเห็นตัวอักษรขนาดเล็กที่ระยะ 6 เมตร เด็กที่เป็นตาขี้เกียจจะต้องเดินเข้าไปที่ระยะ 3 เมตร จึงจะมองเห็น เด็กที่มีอาการตาขี้เกียจจะต้องได้รับการแก้ไขตั้งแต่ 4 ขวบ การแก้ไขใด ๆ หลังจาก 4 ขวบ ส่วนใหญ่แล้วจะได้ผลไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ จะยิ่งแปรผันตามอายุที่เพิ่มขึ้นคือ ยิ่งแก้ช้าผลที่ได้แม้ว่าจะใส่แว่นเต็มที่แล้วก็ได้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเด็กที่มีปัญหาทางด้านสายตา จะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด ปกติแล้วในความรู้ทางวิชาการ งานวิจัยสมัยเก่า เราเชื่อกันว่าหลัง 6 ขวบไปแล้ว การแก้ไขเด็กที่มีอาการตาขี้เกียจจะไม่ได้ผลแล้ว
งานวิจัยสมัยใหม่ถึงแม้ว่าหลัง 6 ขวบไปแล้ว ถ้ามีการแก้ไขให้เด็กเห็นชัดขึ้น เด็กก็จะมีความสามารถในการมองเห็นดีขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขได้ถึงแม้จะไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ปกครองท่านไหนที่มีลูกหลานที่สงสัยว่าจะเป็นตาขี้เกียจ สามารถนัดเวลาเข้ามาตรวจได้
สำหรับเด็กที่มีสายตายาว ก็จะกลับกันกับเด็กที่มีสายตาสั้น คือเมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้นกะโหลกศีรษะขยาย สายตายาวก็จะลดลง ตรงกันข้ามกับสายตาสั้นแต่ในประเทศไทยเราจะพบได้น้อย แล้วส่วนใหญ่แล้วผู้ปกครองที่มีลูกหลานสายตาสั้น จากงานวิจัยในระดับโลก มีผลงานวิจัยยืนยันว่าเด็กที่มีสายตาสั้น จะมีระดับสติปัญญา และสิทธิภาพการทำงานของสมองสูงกว่าเด็กปกติ
ที่ไอซอพติกเราเป็นศูนย์ของการพัฒนาคุณภาพการมองเห็นระดับโลก ซึ่งจะดูแลตั้งแต่เด็กในวัยเด็กเล็ก เด็กโต วัยรุ่น จนถึงผู้สูงวัย สำหรับผู้สูงวัยที่มีปัญหาในเรื่องของการใช้สายตารู้สึกช้าลง อ่อนเพลีย ไม่สบายตาต้องใช้สายตาเยอะ ใช้สมองเยอะ ที่ไอซอพติกเรามีระบบการสร้างแว่นตาที่ดีที่สุดในโลก ที่สามารถจะช่วยให้มองเห็นได้ชัดทุกระยะในเสี้ยววินาที รู้สึกสบายที่สุดเหมือนได้กลับไปเป็นหนุ่มสาวอีกครั้ง