Facebook Live วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2019
หลายคนคงมีประสบการณ์การตรวจวัดสายตาจากทั่วโลก ซึ่งระบบการตรวจวัดสายตาที่มีอยู่ทั่วโลก ณ ปัจจุบัน ยังเป็นระบบการวัดสายตาที่มีรากฐานมาจากระบบการตรวจวัดสายตาที่คิดค้นกันมาเมื่อ 100 ปีก่อน เป็นระบบการตรวจที่ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับการทำแว่นชั้นเดียว หรือ แว่น 2 ชั้น เมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการทำแว่นโปรเกรสซีฟก็จะประสบกับปัญหา เนื่องจากระบบพื้นฐานของการตรวจไม่ได้รองรับระบบการทำงานของแว่นโปรเกรสซีฟมาตั้งแต่แรก
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติกเราค้นพบเป็นที่แรกในโลกว่า การตรวจ วิเคราะห์ระบบการมองเห็น เพื่อจะทำแว่นโปรเกรสซีฟไม่สามารถที่จะใช้ระบบเดียวกันกับแว่นชั้นเดียวได้ เนื่องจากหลักการทำงานมีความแตกต่างกัน ดังนั้นในการตรวจจึงใช้คนละตำรากัน โดยการตรวจวัดสายตาเพื่อสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟอัจฉริยะ จะมีการตรวจตั้งแต่สายตายาวระยะไกล ระยะกลาง ระยะใกล้ แบบแปรผัน เพื่อคำนวณว่าแต่ละระยะความสามารถในการเพ่งเหลือเท่าใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจวัดหาค่าสายตาเอียง ที่ไอซอพติกจะมีการตรวจแยกเป็นค่าสายตาเอียงระยะไกล ระยะใกล้
เลนส์ของไอซอพติกจะมีเอกลักษณ์ คือ ค่าสายตาเอียงระยะไกล กับ ระยะใกล้ จะเป็นคนละค่ากัน เพื่อจะให้ได้ค่าสายตาที่แท้จริง เนื่องจากเวลาที่คนเรามองระยะไกล กับระยะใกล้ ค่าสายตาเอียงจะไม่เท่ากัน นอกจากนั้นยังมีการทำงานร่วมกันของตาทั้งสองข้าง ที่แต่ละคนจะมีขีดความสามารถในการรวมภาพต่างกัน และในกรณีส่วนใหญ่ที่ตรวจพบ จะพบว่ามีภาวะตาเขซ่อนเร้นอยู่ด้วย ซึ่งภาวะตาเขซ่อนเร้นจะทำให้สมองฝืนเพ่ง ฝืนปรับ ให้ตาทั้งสองข้างสามารถรวมภาพเป็นภาพเดียวให้ได้ ซึ่งจะมีการเพ่ง การเกร็ง การรวมภาพ การฝืนอยู่ตลอดเวลา ทำให้สมองต้องทำงานหนัก และประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง ซึ่งที่ไอซอพติกเราสร้างแว่นตาที่แบ่งเบาภาระการทำงานของสมองให้ได้มากที่สุด ด้วยขั้นตอนการตรวจวัดด้วยระบบดิจิตอล 3 มิติ ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่หมด เพื่อให้ได้แว่นโปรเกรสซีฟที่ใส่สบายที่สุด และมีพลังสมองเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
พลังสมองที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาจากไหน ?
จริง ๆ แล้วตัวแว่นตาของไอซอพติกเองไม่ได้ไปเพิ่มการทำงานของสมองให้เพิ่มขึ้นโดยตรง เพียงแต่ไปชดเชยให้สมองมีความสามารถในการทำงานด้านอื่นมากขึ้น โดยการไปพัฒนา เพิ่มคุณภาพการมองเห็น ช่วยลดภาระไม่ให้สมองต้องฝืนเพ่งทำงานหนักเข้าหาแว่นตาตลอดเวลา สมองจึงมีพลังในการไปทำอย่างอื่นมากขึ้น
ในขั้นตอนการตรวจวัดระบบดิจิตอล 3 มิติ เราจะทำการตรวจหาสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง โดยตรวจทั้งระยะไกล และระยะใกล้ ซึ่งขั้นตอนการตรวจของไอซอพติกจะมีความละเอียดกว่าการตรวจทั่วไปถึง 4 เท่า ในระหว่างการตรวจจะมีการใช้เครื่องมือหลายชนิดในการแยกแยะค่าสายตาต่าง ๆ ในทุกระยะ เพื่อจะให้ได้ค่าที่เชือถือได้มากที่สุด หลังจากได้ค่าสายตาที่ถูกต้องแล้ว เราจะเอาค่าจากตาทั้งสองข้างมา แล้วทำการทดสอบระบบการมองเห็น 3 มิติ โดยแยกให้เห็นเลยว่า ตาแต่ละข้างเห็นอย่างไรในภาพเดียว ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า เทคโนโลยีโพลาไรซ์ ซึ่งสามารถทำให้ตาทั้งสองข้างเห็นใกล้เคียงกันมากที่สุด เพราะว่าถ้าเกิดตาทั้งสองข้างเห็นภาพได้ชัดไม่ใกล้เคียงกัน จะทำให้สมดุลของการมองเห็นไม่ดี แว่นชัดอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องใส่สบายด้วย ที่ไอซอพติกเราทำแว่นให้มองเห็นชัด และต้องใส่สบายด้วย
ดังนั้นในขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบการมองเห็นของไอซอพติก เราจะเริ่มตั้งแต่การกำหนดเซ็นเตอร์ของตาขวา ตาซ้าย โดยแยกข้างกัน ว่าแต่ละข้างมีระยะห่างจากเซ็นเตอร์จมูกเท่าใด เพื่อกำหนดค่าที่จะนำไปใช้เป็นค่าตั้งต้นในการตรวจ ระหว่างการตรวจส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากตำแหน่งของดวงตาไม่ตรงกับตำแหน่งของชุดเลนส์ตรวจที่เรียกว่า Phoropter ที่ไอซอพติกเราใช้ดิจิตอล Phoropter รุ่นล่าสุด แล้วทำการเซ็ตตำแหน่งให้ตรงกับรูม่านตา กับ เซ็นเตอร์ของเลนส์ที่จะใช้ตรวจ เพราะถ้าไม่ตรง จะทำให้เกิดภาวะตาเขซ่อนเร้นเทียม และทำให้ค่าที่ตรวจเชื่อถือไม่ได้
ดังนั้นเครื่องมือการตรวจที่ดี จะต้องสามารถปรับเซ็นเตอร์ขวา ซ้ายได้อย่างอิสระ ซึ่งข้อจำกัดของเครื่องหลายรุ่นส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่สามารถที่จะปรับเซ็นเตอร์ให้เป็นอิสระได้ ซึ่งจะทำให้มีปัญหา โดยคนส่วนใหญ่ที่เราตรวจพบประมาณ 70 % จะมีเซ็นเตอร์ตาขวา กับ ตาซ้ายไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่จะต่างกันประมาณ 1 - 5 มิลลิเมตร เป็นเรื่องปกติ
ดังนั้นขั้นตอนคือ การตรวจจะต้องตรวจเซ็นเตอร์ตาให้แม่นยำก่อนที่จะเข้าตรวจ และในระหว่างการตรวจจะต้องตั้งเซ็นเตอร์ให้ตรง ถ้าเซ็นเตอร์ไม่ตรง ค่าที่ตรวจก็เชื่อไม่ได้ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของแว่นโปรเกรสซีฟที่ทำออกมาประสิทธิภาพจะด้อยลง
ที่ไอซอพติก เราใส่ใจในทุกรายละเอียด หลังจากได้เซ็นเตอร์ตาแล้ว เราจะทำการเรติโน ( เรติโน คือเครื่องตรวจโดยวิธีฉายลำแสง แล้วอาศัยแสงสะท้อน เพื่อจะวัดค่าได้อย่างแม่นยำ ) ที่สำคัญ คือตาของคนตรวจต้องแม่นยำ หลังจากเรติโนแล้ว เราจะเอาค่าที่ได้จากเรติโนมาทำการตรวจด้วยดิจิตอล Phoropter ( เป็นเครื่องที่ตรวจวัดสายตาละเอียดลงไปอีก ) เพื่อยืนยันว่าค่าสายตาเป็นค่าที่มองเห็นได้ชัดสุด สบายสุด ดิจิตอล Phoropter จะทำการตรวจไล่ไปตั้งแต่สายตาสั้น ยาว เอียง ทุกระยะ หลังจากได้ค่าออกมา จะเข้าสู่ระบบการตรวจการทำงานร่วมกันของตาทั้งสองข้าง ซึ่งจะมีเครื่องมือหลายตัวในการตรวจ เพื่อจะแยกแยะว่า ตาทั้งสองข้างทำงานเป็นปกติหรือไม่ ซึ่งมีอยู่หลายกรณีที่จะต้องใช้เลนส์ปริซึมเข้าช่วย
ที่ไอซอพติก เราไม่ได้ตรวจแค่ปริซึมแนวดิ่ง หรือแนวนอน แต่จะตรวจทั้ง 360 องศา ในตาแต่ละข้าง เพื่อให้ได้ค่าที่ดีที่สุด รวมภาพได้สมบูรณ์ที่สุด หลังจากได้ค่าสายตาที่ดีที่สุดของตาทั้งสองข้าง เราจะมาดูว่าคุณภาพการมองเห็นเป็นอย่างไร แล้วทำการ Balance ค่า รีเช็คค่า ตรวจยืนยันค่า ว่าค่าที่ได้ไม่มากไป หรือน้อยไป เป็นค่าที่แสงตกพอดีจอตาได้สมบูรณ์ที่สุด ในทุก ๆ แกน แล้วนำค่าดังกล่าวมาเปรียบเทียบสมดุลขวา ซ้าย ว่า ตาทั้งสองข้างมองเห็นชัดใกล้เคียงกันหรือไม่ เพื่อจะให้ตาทั้งสองข้างชัดใกล้เคียงกันมากที่สุด แล้วทำการวัดค่าการมองเห็น ค่าสายตาเอียงระยะใกล้ ค่าสายตายาวระยะใกล้ ทดสอบความสามารถในการเพ่งระยะใกล้ เพื่อที่จะได้ค่าสมบูรณ์ที่สุดในการสร้างแว่นโปรเกรสซีฟ
ในการสร้างแว่นโปรเกรสซีฟที่ดีได้นั้น จะต้องมีค่าสายตา อย่างน้อย 3 ระยะ คือ ระยะไกล ระยะกลาง ระยะใกล้ หลังจากได้ค่าสายตาที่ถูกต้อง และแม่นยำแล้ว เราจะทำการยืนยันค่าด้วยชุดทดลองเลนส์ ปกติการตรวจโดยทั่วไปจะตรวจกันที่ระยะ 6 เมตร แต่เราตรวจที่ระยะ 7 เมตร และเวลาทดลองเลนส์ เราจะทดลองกันที่ระยะ 12 เมตร เพื่อจะให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงกับการใช้งานจริงมากที่สุด เพราะว่าในชีวิตจริงการใช้งานส่วนใหญ่อยู่ที่ระยะประมาณ 12 เมตร หรือไกลกว่านั้น
จากตำราเก่าที่พวกเราเรียนกันอยู่พวกเราเชื่อกันว่าระยะ 6 เมตร จะไม่มีการเพ่ง ซึ่งจริง ๆ แล้วมันไม่ถูกต้อง ซึ่งเราต้องใช้คำว่าที่ระยะ 6 เมตร มีการเพ่งที่เหลือน้อยไม่แตกต่างกับการมองระยะไกลเกิน 6 เมตร มากนัก แต่ส่วนใหญ่จะถูกสอนว่าที่ 6 เมตร จะไม่มีการเพ่ง ซึ่งไม่จริง เพราะว่าจากประสบการณ์ของปรมาจารย์โบบิ ทีม Doctor of optometry และทีมงานจักษุแพทย์ ของไอซอพติก ขอยืนยันว่าค่าสายตาที่ระยะ 12 เมตร กับ ค่าสายตาที่ระยะ 7 เมตร ไม่เท่ากัน สำหรับคนที่มีประสบการณ์นี้ถึงจะรู้ แต่ว่าถ้าเราตรวจกันที่ระยะ 6 เมตรตลอดชีวิต เราจะไม่มีวันรู้เรื่องนี้เลย เราได้แต่เชื่อในสิ่งที่สอนต่อกันมาเท่านั้น
เมื่อเข้าสู่ระบบการทดลองเลนส์ที่ไอซอพติก เราจะทดลองเลนส์กันที่ขั้นตอนละ 0.12 และเป็นการทดลองเลนส์โดยให้ลูกค้าสามารถแยกได้เลยว่า แว่นชั้นเดียวที่เป็นแว่นธรรมดา กับ แว่นชั้นเดียวที่เป็นแว่นเทคโนโลยีใหม่ ต่างกันอย่างไร ซึ่งเราเป็นที่เดียวในโลกที่สามารถทำได้ โดยการใช้เลนส์เพียงชิ้นเดียว ยกตัวอย่างเช่น เมื่อค่าสายตา - 287 ก็ลองบนเลนส์ - 287 ถ้าอยากได้เป็น + 312 ก็จะเป็น + 312 ถ้าเป็น - 762 ก็เป็น - 762 จะไม่มีการนำเลนส์ -750 มารวมกับเลนส์ -12 เพื่อให้ได้ -762 ที่ไอซอพติกจะใช้เลนส์ชิ้นเดียว ดังนั้นที่ไอซอพติก เราลงทุนกับชุดทดลองเลนส์มูลค่าเกือบ 30 ล้านบาท เพื่อจะได้ชุดทดลองเลนส์ที่สมบูรณ์ที่สุดทั้งในแว่นชั้นเดียว และแว่นโปรเกรสซีฟ ที่ไอซอพติกจะมีแว่นให้ลอง โดยจะมีให้ลองตั้งแต่แว่นชั้นเดียวไฮเทคโนโลยีแล้ว เราก็จะให้ลองเลนส์ปริซึม แล้วจะให้เดินทดสอบทุกระยะ ปริซึมระยะไกล ระยะกลาง ระยะใกล้ เพื่อหาค่าปริซึมที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับลูกค้าแต่ละคน เพื่อให้ได้แว่นตาที่รวมภาพได้ดีที่สุด เหนื่อยน้อยที่สุด ใส่แล้วทำให้สมองมีพลังทำเรื่องอื่นมากที่สุด หลังจากนั้นเราก็จะให้ทดลองเลนส์โปรเกรสซีฟอัจฉริยะ ซึ่งมีมากกว่า 100 โครงสร้างที่แตกต่างกัน 100 คุณภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถที่จะลองได้เลย ดังนั้นลูกค้าจะสามารถเลือกโครงสร้างเลนส์ได้ เลือกความยาวคอริดอร์ หรือที่เรียกว่า จุดศูนย์กลางของพื้นที่อ่านหนังสือจากจุดเซ็นเตอร์ตา ว่าโครงสร้างเลนส์ชอบความยาวของการเปลี่ยนกำลังเลนส์ไปสู่จุด 100 % ของค่าอ่านหนังสือ จะชอบระดับตื้น กลาง ลึก ซึ่งจะมีผลต่อโครงสร้างเลนส์ แล้วจะรู้เลยว่าแต่ละคนเขาถนัด เขาชอบ เขาเหมาะ กับความยาวคอริดอร์ ความเร็วในการเปลี่ยนแปลงกำลังเลนส์เท่าใด แต่จำไว้ว่ากำลังเลนส์เปลี่ยนแปลงยิ่งเร็ว อ่านหนังสือยิ่งง่าย ระยะกลางยิ่งแคบ ใช้งานกับอุปกรณ์ดิจิตอลยิ่งแย่ ซึ่งผู้ใช้แว่นส่วนใหญ่จะไม่รู้
ปัญหาคือ ผู้ประกอบการด้านสายตารุ่นใหม่ ๆ จำนวนมากที่ไม่รู้เหมือนกัน หลายแห่งไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเลนส์โปรเกรสซีฟที่ตัวเองแนะนำให้ลูกค้า หรือ คนไข้ใช้ มีความยาวคอริดอร์เท่าใด มีการเปลี่ยนแปลงกำลังเลนส์ไปสู่ 100 % ของค่าอ่านหนังสือที่กี่มิลลิเมตร และหลายคนยังไม่ทราบว่ามันมีความสัมพันธ์อย่างไร ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ
ที่ไอซอพติกเราใส่ใจทุกรายละเอียด ความลับของไอซอพติก คือ ที่นี่เราใส่ใจต่อพฤติกรรมการใช้สายตาของคนแต่ละคนแล้วสร้างแว่นสายตาที่เหมาะที่สุดสำหรับลูกค้าแต่ละคน ซึ่งจะรู้ได้ โดยการใส่ใจในทุกรายละเอียด มีชุดทดลองเลนส์ที่เหมาะสม และมีการวิเคราะห์พฤติกรรมอย่างตรงจุด ที่สำคัญที่สุดคือ สามารถออกแบบโครงสร้างเลนส์ที่เหมาะสำหรับพฤติกรรมการใช้สายตาของคนแต่ละคนได้อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำ นี่จึงเป็นหัวใจของความสำเร็จที่ทำให้ไอซอพติกสร้างแว่นโปรเกรสซีฟได้ดีที่สุดในโลก ดังนั้นเลนส์ของไอซอพติกจึงไม่เหมือนกับที่อื่น ซึ่งยังมีหลายแห่งที่พยายามจะลอกเลียนแบบ และมีการแอบอ้างว่าเป็นเลนส์ยี่ห้อเดียวกับไอซอพติก ขอบอกเลยว่าเป็นไปไม่ได้ สำหรับคนที่จะลองก็สามารถลองดูได้ว่าเหมือนกันหรือไม่ เพียงแต่ว่าเวลาลอง คุยกันให้รู้เรื่องก่อนว่า ถ้าไม่เหมือนยินดีคืนเงินหรือเปล่า
ไอซอพติกมีเลนส์แบบเฉพาะของตัวเองเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของไอซอพติกเอง ดังนั้นไม่เหมือนกับที่อื่น และแน่นอนว่าราคาแพงกว่าที่อื่น เพราะฉะนั้นอย่าทนใช้ทั้งชีวิตปรับตัวเข้าหาแว่น 1 อัน ที่ไอซอพตอกเราทำทุกอย่างเพื่อที่จะให้ลูกค้าไม่ต้องปรับตัวเข้าหาแว่น เราสร้างแว่นเฉพาะบุคคลให้กับลูกค้าแต่ละคน เพื่อใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องฝืนปรับทั้งชีวิตเข้าหาแว่นเหมือนแว่นตาทั่วไปในท้องตลาด
ที่ไอซอพติกจะมีโครงสร้างเลนส์ให้ลูกค้าลอง ลูกค้าสามารถทดลองได้ตั้งแต่ เลนส์โปรเกรสซีฟคู่ละ 15,000 บาท ไปจนถึงคู่ละ 500,000 บาท ซึ่งสามารถลองได้ แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างได้ด้วยตนเอง ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ที่เขาตัดสินใจซื้อเลนส์คู่ละหลายแสนบาท เป็นเพราะว่าได้ลอง แล้วก็เข้าใจว่ามันสบาย สามารถแยกความแตกต่างได้
สำหรับคนที่สนใจอยากจะทดลองเลนส์ เพียงคุณจ่ายเงิน 1,000 บาท คุณก็จะได้ลองเลนส์โปรเกรสซีฟอัจฉริยะ ระบบดิจิตอล 3 มิติ ทุกรุ่น ว่ามันต่างกันอย่างไร หลังจากทดลองเลนส์จนได้ค่าสายตาที่ถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำ โครงสร้างเลนส์ที่ถูกต้อง ได้ทดลองใช้อุปกรณ์ดิจิตอล ได้เดินขึ้น - ลงบันได ได้ใช้งานตามวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของแต่ละคน ซึ่งเป็นระบบที่ปรมาจารย์โบบิ เป็นผู้คิดค้น และพัฒนาขึ้นมาเป็นคนแรก ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ถูกคัดลอกไปใช้กันทั่วโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่การค้นคว้าของปรมาจารย์โบบิทำให้คนทั้งโลกได้ประโยชน์ อย่างน้อยก็ช่วยให้ผู้ใส่แว่นโปรเกรสซีฟมีโอกาสที่ดีขึ้นที่จะได้ลองแว่นโปรเกรสซีฟก่อนซื้อ
หลังจากเราได้ค่าสายตา ได้ชนิดเลนส์โปรเกรสซีฟที่ต้องการแล้ว เราจะทำการออกแบบกรอบแว่น วัดขนาดศีรษะ และตรวจตำแหน่งของดวงตาบนกรอบแว่นแต่ละอัน เพื่อให้ได้ค่าตำแหน่งแว่นแบบ 3 มิติ แล้วนำไปทำการออกแบบผลิตแว่นต่อไป ถึงจะสามารถได้แว่นตาที่ใส่สบายที่สุด
ประเด็นสำคัญที่สุดสำหรับผู้บริโภคผู้ใช้แว่นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่หมดเงินไปหลายหมื่น หลายแสน ให้กับแว่นโปรเกรสซีฟที่ใส่ไม่ได้ ต้องทิ้ง หรือ ใส่แล้วใส่ไม่สบาย เคยสงสัยหรือไม่ว่าเกิดจากอะไร หลายคนคงจะโทษตนเองว่า เป็นเพราะตนเองปรับตัวยากเป็นคน Sensitive ส่วนหนึ่งคือใช่ แต่อีกส่วนหนึ่งคือ เกิดจากการตรวจวัดออกแบบ การเรียกโครงสร้างเลนส์ที่ไม่เหมาะสม การประกอบ การวัดที่คลาดเคลื่อนผิดพลาด ส่วนนี้ต่างหากที่เป็นปัจจัยหลัก จำไว้ว่าเลนส์โปรเกรสซีฟอัจฉริยะ ราคายิ่งแพง Series ยิ่งสูง ยิ่งมีขั้นตอนการตรวจวัดประกอบที่ซับซ้อน ในหลายกรณีถ้าเลนส์โปรเกรสซีฟอัจฉริยะ ราคาหลายหมื่น หลายแสนบาท ได้รับการประกอบไม่ถูกต้อง จะทำให้ประสิทธิภาพของเลนส์เหลือแค่ 10 % และจะทำให้เลนส์คู่ละแสนใช้งานเหมือนเลนส์คู่ละหมื่น หรือแย่กว่า นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก