ดาวน์โหลดวิดีโอ ความละเอียด :
480p
360p
How to : การตรวจสอบการมองเห็น ระยะใกล้และระยะไกล
พิธีกร : สวัสดีค่ะ พบกับรายการไอซอพติกอายแคร์ คุณภาพการมองเห็นระดับไฮเอนด์อีกครั้งนะค่ะ สำหรับวันนี้จิดาก็ยังอยู่กับปรมาจารย์โบบิ ดร.สุนันท์ และดร.ปัทมา นะค่ะ ปรมาจารย์โบบิค่ะ ได้ยินมาว่าการวัดสายตาที่ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติกนี้ มีขั้นตอนที่หลากหลายมากเลย และก็ถูกต้องเที่ยงตรงเป็นยังไง บ้างค่ะ
ปรมาจารย์โบบิ : เรื่องการวัดสายตา ต้องให้ Doctor of optometry ของศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เป็นผู้ตอบจะดี ที่สุด
พิธีกร : นั้นถาม ดร.ปัทมา เลยละกันนะค่ะ ว่ามีขั้นตอนยังไงบ้างค่ะ สำหรับการวัดสายตาที่ไอซอพติก
ดร. ปัทมา : เราจะเริ่มจากที่ผู้ใช้บริการเข้ามาบอกเราว่า เค้ามีปัญหาเรื่องสายตา เช่นการมองไกลไม่ชัด มองใกล้ไม่ชัด เริ่มต้นด้วยเราจะเช็คความสามารถในการมองเห็นของเค้า โดยการเช็คสิ่งที่เราเรียกว่า VA ว่าเค้ามีความสามารถในการมองเห็นเท่าไหร่ หลังจากที่เราเช็ค VA ตาเปล่าเค้าแล้ว เราก็จะต่อด้วยการเช็ค VA Pinhole เราก็จะใช้ตัวรูเข็มเล็กๆนี้ ทดสอบการมองเห็นของเค้าว่า เค้าสามารถมองเห็นได้ดีขึ้นไหม เมื่อผ่านรูเข็มนี้ เพื่อเป็นการแยกแยะว่า ปัญหาการมองเห็นของเค้านี้เกิดจากแว่น หรือเกิดจากโรคตา หลังจากที่เราทราบว่าเค้ามีปัญหาต้องการใช้แว่นแล้ว เราก็จะตรวจเค้าต่อด้วยการหาค่าสายตาโดยการใช้เครื่อง Auto refraction และ Retino เพื่อหาค่าสายตาเบื้องต้น หลังจากนั้นก็จะเข้าเครื่อง ฟอร์เรปเตอร์ดิจิตอล เพื่อหาค่าสายตาละเอียดต่อไป และเราก็จะวัดความโค้งของกระจกตา ก่อนที่เราจะหาค่าสายตาต่อไป เมื่อเราได้ค่าทั้งหมดแล้ว ก็จะใส่ค่าดังกล่าวเข้าเครื่อง ฟอร์เรปเตอร์ดิจิตอล เพื่อหาค่าสายตาสั้น สายตายาว ที่เหมาะสม โดยเบื้องต้นเราจะใช้เขียว แดง เทสในหาค่าสั้นยาวที่เหมาะสม เมื่อเราได้ค่าสั้นยาวที่เหมาะสมแล้ว ก็จะหาค่าตาเอียงต่อไป โดยเริ่มต้นเราจะใช้ Clock Dial ในการหาองศาของสายตาเอียง และหาค่ากำลังของสายตาเอียง หลังจากนั้นเราจะใช้ JCC ในการหาค่าสายตาเอียงโดยละเอียด เมื่อเราได้ค่าสายตาออกมาแล้ว เราก็จะหาค่าที่เหมาะสมอีกครั้งโดยใช้เขียว แดงเทส หรือ Far cross grid test ในการหาค่าสายตาแต่ละข้าง พอเราได้ค่าสายตาสุดท้ายมาแล้ว เราก็จะเช็คว่า ค่าสายตาที่เค้าได้ มีความสามารถในการมองเห็น ณ ตอนนี้ในตาข้างนั้นเป็นอย่างไร แล้วเราก็จะทำแบบนี้กับตาอีกข้างหนึ่ง
พิธีกร : แล้วอย่างนี้มันเกี่ยวกับการวัดสายตาระบบ 3 มิติอย่างไรบ้างค่ะ
ดร. ปัทมา : การตรวจสายตา 3 มิติ ก็คือการมองเห็นของตา 2 ข้างพร้อมกัน โดยเราจะใช้ Polarize เพื่อให้ตาข้างขวาเห็นบางส่วนของภาพ และตาข้างซ้ายเห็นบางส่วนของภาพ แต่เมื่อเราลืมตา 2 ข้าง เราจะเห็นภาพนั้นพร้อมกัน และเราสามารถเปรียบเทียบได้ว่า การมองเห็นของตาซ้ายกับตาขวา สามารถมองเห็นใด้เท่าเทียมกันหรือไม่ และเรายังสามารถเช็ค 3 มิติ ในเรื่องของความลึกของภาพ โดยการใช้ตา 2 ข้างร่วมกัน ถ้าตา 2 ข้าง สามารถทำงานร่วมกันได้ดี เราจะสามารถมองเห็นความลึกของภาพได้ดี และนี่ก็คือการวัดสายตามองไกลแบบ 3 มิติ ค่ะ
พิธีกร : อย่างนี้ก็มีการวัดแบบมองใกล้ใช่ไหมค่ะ ปรมาจารย์โบบิ
ปรมาจารย์โบบิ : ใช่ครับ เรื่องการตรวจหาสายตาระยะใกล้ ทั้งสายตายาว สายตาเอียง รวมถึงการเพ่งใน ระยะใกล้ คำถามนี้ต้องให้ ดร.สุนันท์ เป็นผู้ตอบจะดีที่สุดครับ
ดร.สุนันท์ : หลังจากที่เราได้ค่าสายตาดูไกลที่สมบูรณ์แบบแล้ว ในการตรวจระยะใกล้ เราจะตรวจความ คมชัดในการใช้ Near Chart ในการแยกภาพออกมา แล้วหาจุดสมดุลในการมองภาพระยะใกล้ หลังจากนั้นเราก็จะตรวจหาค่ากำลังเพ่งของสายตา นั่นหมายถึงว่า เป็นค่ากำลังในการปรับโฟกัสในตาเรา เพื่อให้มั่นใจว่า ค่ากำลังเพ่งของท่านมีค่าปกติหรือไม่ ไม่มากไป หรือน้อยไป ซึ่งจะทำให้ท่านเกิดอาการ เมื่อยล้าดวงตาขณะที่ทำงานระยะใกล้ ความชัดคู่กับความสะบายตานะค่ะ
พิธีกร : ปรมาจารย์โบบิค่ะ ความสามารถในการเพ่งที่ลดลงของคนเรา มันขึ้นอยู่กับอะไรบ้างค่ะ
ปรมาจารย์โบบิ : ความสามารถในการเพ่งของมนุษย์ จะลดลงตามวัยที่เพิ่มขึ้น และเมื่อคนเราอายุประมาณ 40 ปี ความสามารถในการเพ่งก็จะไม่เพียงพอต่อการอ่านหนังสือระยะใกล้ ก็ต้องยืดระยะในการมอง ห่างออกไป จนสุดแขน เรียกว่าอาการสายตายาวระยะใกล้
พิธีกร : วันนี้ต้องขอขอบคุณ ปรมาจารย์โบบิ ดร.สุนันท์ และ ดร.ปัทมา มากๆเลยค่ะ กลับมาพบกับจิดา กับรายการไอซอพติกอายแคร์ คุณภาพการมองเห็นระดับไฮเอนด์ ได้ใหม่ในครั้งหน้า สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ