เมื่ออายุมากขึ้น หลายคนต้องเผชิญกับปัญหาจอประสาทตาเสื่อม ภาวะที่ทำให้การมองเห็นลดลงอย่างช้า ๆ โดยเฉพาะในช่วงวัย 50 ปีขึ้นไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก ทำให้การอ่านหนังสือ การขับรถ หรือแม้แต่การจดจำใบหน้าคนรอบข้างเป็นเรื่องยาก บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจอาการ สาเหตุ วิธีวินิจฉัย และการรักษา เพื่อให้คุณและคนที่คุณรักสามารถรับมือและดูแลดวงตาได้อย่างเหมาะสม
จอประสาทตาเสื่อมคืออะไร
จอประสาทตาเสื่อม หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า โรคจุดภาพชัดเสื่อม ( Macular Degeneration ) เป็นภาวะที่เซลล์ประสาทตาบริเวณจุดภาพชัด ( Macula ) เกิดความเสื่อมสภาพลง โดยจุดภาพชัดเป็นบริเวณศูนย์กลางของจอประสาทตา ทำหน้าที่รับภาพตรงกลางที่เรามองเห็น เมื่อส่วนนี้เสื่อม จะทำให้การมองเห็นตรงกลางไม่ชัด มีจุดบอด หรือเห็นภาพบิดเบี้ยว แต่ยังสามารถมองเห็นภาพรอบข้างได้ โรคนี้พบมากในผู้สูงอายุ จึงมักเรียกว่า จอประสาทตาเสื่อมตามวัย ( Age-related Macular Degeneration หรือ AMD )
จอประสาทตาเสื่อม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
จอประสาทตาเสื่อมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้
-
จอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง ( Dry AMD ) พบได้บ่อยที่สุด คิดเป็น 85-90% ของผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมด เกิดจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาทตาอย่างช้า ๆ ทำให้การมองเห็นค่อย ๆ แย่ลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
-
จอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก ( Wet AMD ) พบได้น้อยกว่า แต่มีความรุนแรงมากกว่า เกิดจากมีเส้นเลือดผิดปกติภายในจอตา ทำให้มีการรั่วของของเหลวและเลือดเข้าไปในชั้นจอประสาทตา ส่งผลให้เกิดการบวมและการมองเห็นลดลงอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
อาการของจอประสาทตาเสื่อม
-
มองเห็นเส้นตรงบิดเบี้ยว
-
มีจุดมืดหรือพื้นที่มืดบริเวณกลางภาพที่มองเห็น
-
ต้องใช้แสงสว่างมากขึ้นเพื่อให้มองเห็นชัด
-
สีที่มองเห็นซีดจางลงหรือเปลี่ยนไป
-
มองเห็นไม่ชัดในที่แสงน้อยหรือเวลากลางคืน
-
มองไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุหรือใบหน้าคน
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อม
แม้ว่าสาเหตุที่แน่ชัดของจอประสาทตาเสื่อมยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่เพิ่มโอกาสการเกิดโรคนี้ ได้แก่
-
อายุที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มีความเสี่ยงสูงขึ้น
-
พันธุกรรม หากมีประวัติครอบครัวเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น
-
การสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
-
โรคประจำตัวบางชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคอ้วน
-
การได้รับแสงแดดมากเกินไป โดยเฉพาะแสง UV ซึ่งสามารถทำลายเซลล์จอประสาทตาได้
วิธีวินิจฉัยจอประสาทตาเสื่อม
การตรวจจอประสาทตาเสื่อมต้องอาศัยเครื่องมือเฉพาะทาง โดยจักษุแพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น
-
การตรวจวัดสายตาทั่วไป เพื่อหาภาวะสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง
-
การตรวจจอประสาทตาด้วยกล้องขยาย
-
การทดสอบสภาพจอตาด้วยตารางตรวจจุดภาพชัด ( Amsler Grid )
-
การถ่ายภาพจอประสาทตา ( Fundus Photography )
-
การตรวจด้วยคลื่นแสงความถี่สูง ( OCT Optical Coherence Tomography )
-
การตรวจจอประสาทตาโดยการฉีดสี ( Fundus Fluorescein Angiography ) ในกรณีต้องดูเส้นเลือดผิดปกติ
การดูแลและรักษาเบื้องต้น
-
การรักษาจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง
-
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่มีวิธีชะลอการดำเนินโรค
-
การรับประทานวิตามินและเกลือแร่เสริม เช่น วิตามินซี วิตามินอี สังกะสี ทองแดง ลูทีน และซีแซนทีน ตามที่แพทย์แนะนำ
-
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิต เช่น เลิกสูบบุหรี่ ควบคุมโรคประจำตัว รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพตา
-
-
การรักษาจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก
-
การฉีดยาเข้าน้ำวุ้นตา ( Anti-VEGF Therapy ) เป็นการฉีดยาที่ยับยั้งการเจริญของหลอดเลือดผิดปกติ ช่วยลดการรั่วและการบวมของจอประสาทตา
-
การรักษาด้วยเลเซอร์ ( Photodynamic Therapy ) เป็นการยิงเลเซอร์เข้าไปในจอประสาทตา เพื่อทำลายหรือยับยั้งเส้นเลือดที่เจริญเติบโตผิดปกติ
-
การผ่าตัดจอประสาทตา ในกรณีที่มีเลือดออกใต้จอประสาทตาปริมาณมาก หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
วิธีป้องกันจอประสาทตาเสื่อมตั้งแต่เนิ่น ๆ
-
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพตา เช่น ผักใบเขียวเข้ม ปลาที่มีไขมันโอเมก้า-3 สูง ถั่ว ผลไม้ และธัญพืช
-
สวมแว่นกันแดดที่ป้องกันรังสี UV เมื่อออกแดด เพื่อปกป้องดวงตาจากแสงแดดที่อาจทำลายจอประสาทตา
-
งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-
ควบคุมความดันโลหิตและระดับไขมันในเลือด
-
ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม
-
พักสายตาเมื่อต้องใช้สายตาเป็นเวลานาน
สรุปบทความ
จอประสาทตาเสื่อมเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้การมองเห็นบริเวณจุดศูนย์กลางของภาพลดลง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้งจะยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่การตรวจพบเร็ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาตามแนวทางที่เหมาะสมสามารถชะลอการดำเนินโรคและรักษาการมองเห็นไว้ได้
นอกจากความเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม ผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาสายตายาวตาอายุ ศูนย์แว่นตาไอซอพติก ศูนย์แว่นตาโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล เราให้บริการวัดสายตาประกอบแว่นคุณภาพสูง มีทีมนักทัศนมาตรและจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา ออกแบบ และวิเคราะห์การใช้สายตาของคุณอย่างละเอียด โดยมีปรมาจารย์โบบิ คอยดูแลทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณได้รับแว่นตาโปรเกรสซีฟที่ใส่สบาย ตอบโจทย์การใช้งาน และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมรับประกันความพึงพอใจสูงสุด 180 วัน
คำยืนยันจากผู้ใช้ แว่นตาโปรเกรสซีฟ อัจฉริยะไอซอพติก มากกว่า ท่าน คลิก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
ปรมาจารย์โบบิ สายด่วน : 081-538-4200
LINE ID : @isoptik
เว็บไซต์ : https://www.isoptik.com
whatsapp : +66 81-538-4200
อีเมล : isoptik@gmail.com