ปัญหาสายตาเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง หากปล่อยไว้โดยไม่ตรวจเช็ก อาจทำให้มองเห็นไม่ชัดและเกิดอาการปวดตาได้ แต่รู้หรือไม่ว่า เราสามารถทดสอบสายตาเบื้องต้นได้เองที่บ้านง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น Snellen Chart, Near Card และ Fan Chart เพื่อช่วยให้รู้ว่าควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ มาดูวิธีการวัดสายตาเอียง สั้น และยาว ครบจบในบทความนี้
การทดสอบสายตาเอียง
ภาวะสายตาเอียง ( Astigmatism ) เป็นหนึ่งในปัญหาสายตาที่พบได้บ่อยในคนทุกช่วงวัย โดยผู้ที่มีปัญหาการมองเห็นส่วนใหญ่ มักจะมีภาวะสายตาเอียงร่วมอยู่ด้วย หากกำลังสงสัยว่า อาจมีสายตาเอียง ลองมาทำแบบทดสอบสายตาเอียงของ ISOPTIK ด้านล่างนี้ เพื่อช่วยประเมินเบื้องต้นว่าควรไปตรวจเพิ่มเติมหรือไม่
เตรียมตัวก่อนทำแบบทดสอบ
ภาพทดสอบสายตาเอียง ( Fan Chart )
-
ปรับแสงหน้าจอให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มองเห็นภาพชัดเจนทุกเส้น
-
เตรียมปากกาและกระดาษไว้สำหรับจดเลของศาที่เห็นชัด
-
หากใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์อยู่แล้ว สามารถทำแบบทดสอบโดยไม่ต้องถอดออก
-
เปิดภาพแบบทดสอบ ( Fan Chart ) จัดวางภาพทดสอบให้อยู่กึ่งกลางหน้าจอ พร้อมเว้นระยะห่างจากจอประมาณ 40 ซม. หรือระยะเท่าความยาวแขน
เริ่มทำแบบทดสอบกันเลย
-
ทดสอบตาขวา ( ปิดตาซ้าย ) ใช้มือซ้ายปิดตาด้านซ้าย จากนั้นมองที่จุดกึ่งกลางของภาพแบบทดสอบ แล้วสังเกตว่าเส้นใดที่ดูเข้มกว่าช่องอื่น หากเส้นทุกองศาชัดเท่ากัน ไม่ต้องจดตัวเลของศา แต่ถ้ามีเส้นใดเส้นหนึ่งเด่นชัด ให้จดตัวเลของศานั้นไว้สำหรับคำนวณต่อไป
-
ทดสอบตาซ้าย ( ปิดตาขวา ) เปลี่ยนมาใช้มือขวาปิดตาขวา แล้วทำตามขั้นตอนเดิมโดยมองไปที่จุดศูนย์กลางภาพแบบทดสอบ จดตัวเลของศาที่เส้นดูเข้มที่สุดลงกระดาษ
เช็กผลเบื้องต้นจากแบบทดสอบ
-
ไม่มีภาวะสายตาเอียง หากทั้งสองข้างมองเห็นเส้นทุกองศามีความเข้มสม่ำเสมอกัน ไม่พบเส้นใดที่ชัดเป็นพิเศษ
-
มีภาวะสายตาเอียง หากมองเห็นว่าเส้นบางองศาดูเข้มกว่าช่องอื่นอย่างชัดเจน อาจมีภาพซ้อน ภาพเบลอ หรือเห็นเส้นซ้อน ๆ กัน
วิธีการคำนวณองศาสายตาเอียง
การวัดค่าสายตาด้วยตัวเอง สำหรับสายตาเอียง ให้นำเลขจากเส้นองศามาคำนวณค่าคร่าว ๆ ดังนี้
-
หากเลของศาอยู่ระหว่าง 90-180 ให้นำเลขนั้น ลบ 90
-
หากเลของศาอยู่ระหว่าง 0-89 ให้นำเลขนั้น บวก 90
ตัวอย่าง
-
หากเห็นเส้นที่ชัดที่สุดอยู่ที่ 140 องศา → 140 - 90 = 50 องศา หมายความว่าองศาของสายตาเอียงเราคือ 50
-
หากเห็นเส้นที่ชัดที่สุดอยู่ที่ 60 องศา → 60 + 90 = 150 องศา หมายความว่าองศาของสายตาเอียงเราคือ 150
การทดสอบสายตาสั้น
สายตาสั้น ( Myopia ) เป็นภาวะที่ทำให้มองเห็นวัตถุระยะไกลไม่ชัด เนื่องจากแสงที่เข้าสู่ดวงตาโฟกัสก่อนถึงจอประสาทตา ซึ่งมักเกิดจากกระบอกตายาวเกินไป หรือมีการหักเหของแสงที่ผิดปกติ การทดสอบสายตาสั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วย Snellen Chart ซึ่งเป็นแผนภูมิทดสอบสายตาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อช่วยตรวจสอบระดับการมองเห็นและประเมินว่าควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาหรือไม่
เตรียมตัวก่อนทำแบบทดสอบ
Snellen Chart
-
เตรียมปากกาและสมุดจดผลลัพธ์ เพื่อลงบันทึกค่าที่ได้จากการทดสอบ
-
ติดตั้ง Snellen Chart ขนาด 27.5 x 60 cm. ไว้กับกำแพงในระดับสายตา และอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ
-
กำหนดระยะห่าง โดยวัดระยะ 6 เมตร ( หรือ 20 ฟุต ) จากจุดทดสอบไปยังแผนภูมิ
-
หากปกติใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ ควรทดสอบทั้งแบบใส่และไม่ใส่แว่น
-
ใช้มือหรือที่บังตาปิดตาข้างหนึ่งและทำการทดสอบทีละข้าง
เริ่มทำแบบทดสอบกันเลย
-
ยืนห่างจาก Snellen Chart ตามระยะที่กำหนด ( 6 เมตร หรือ 20 ฟุต )
-
ปิดตาข้างหนึ่งและเริ่มอ่านตัวอักษรจากบนลงล่างโดยใช้ตาข้างเดียว
-
สังเกตว่าที่ท้ายแต่ละแถวของ Snellen Chart จะมีตัวเลขกำกับอยู่ เช่น 20/20, 20/30, 20/40 เป็นต้น ตัวเลขเหล่านี้ใช้บอกระดับการมองเห็น ให้บันทึกแถวที่เล็กที่สุดที่อ่านได้อย่างถูกต้อง พร้อมกับตัวเลขที่ท้ายแถวนั้น ๆ
-
ทำซ้ำกับตาอีกข้างหนึ่ง
เช็กผลทดสอบ
-
ไม่มีภาวะสายตาสั้น หากสามารถอ่านได้ถึงแถวที่ 8 ( 20/20 ) หมายความว่าสายตาปกติ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในระยะ 6 เมตร เหมือนคนทั่วไป
-
มีภาวะสายตาสั้น หากอ่านได้ไม่ถึงแถวที่ 20/20 ต้องมองใกล้ ๆ ถึงจะชัดเจน หรือสามารถอ่านได้เพียงแถวที่มีค่ามากกว่า 20/40 ( 6/12 ) หรือแย่กว่านั้น แสดงว่าคุณอาจมีภาวะสายตาสั้น ควรพิจารณาพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวัดสายตาและเลือกใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ให้เหมาะสม
การทดสอบสายตายาว
สายตายาว ( Hyperopia ) เป็นภาวะที่ทำให้มองเห็นวัตถุระยะใกล้ไม่ชัด เนื่องจากแสงที่เข้าสู่ดวงตาโฟกัสอยู่หลังจอประสาทตา ซึ่งอาจเกิดจากกระบอกตาสั้นเกินไปหรือการหักเหของแสงที่ผิดปกติ การทดสอบสายตายาวสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วย แผ่นทดสอบสายตาที่ใกล้ ( Near Card ) ที่มีตัวเลข หรือตัวอักษรที่มีขนาดลดหลั่นกันเหมือนบน Snellen Chart และในแต่ละแถวจะมีเลขกำกับ เช่น 20/200, 20/100 .....20/20 หรือ J10, J9.......J1
เตรียมตัวก่อนทำแบบทดสอบ
แผ่นทดสอบสายตาที่ใกล้ ( Near Card )
-
เตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ Near Card ปากกา และสมุดบันทึกผลลัพธ์
-
เลือกสถานที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอต่อการอ่านหนังสือ หรือมองวัตถุใกล้ ๆ
-
หากปกติใช้แว่นอ่านหนังสือ ควรทดสอบทั้งแบบใส่และไม่ใส่แว่น
เริ่มทำแบบทดสอบกันเลย
-
ถือ Near Card ห่างจากใบหน้า 14 นิ้ว
-
เริ่มอ่านตัวอักษรจากขนาดใหญ่ก่อน แล้วค่อย ๆ ไล่ลงไปอ่านตัวอักษรขนาดเล็กลงทีละบรรทัด
-
บันทึกขนาดตัวอักษรที่เล็กที่สุดที่ยังสามารถอ่านได้อย่างชัดเจน
เช็กผลทดสอบ
-
ไม่มีภาวะสายตายาว หากสามารถอ่านตัวอักษรที่ขนาดปกติ ( J1 หรือ J2 ) ได้โดยไม่มีปัญหา แสดงว่าสายตาของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้แว่นอ่านหนังสือหรืออุปกรณ์ช่วยมองเห็นเพิ่มเติม
-
มีภาวะสายตายาว หากต้องถือ Jaeger Chart ให้ห่างกว่าปกติ หรือไม่สามารถอ่านตัวอักษรขนาดเล็กได้ อาจบ่งบอกว่าคุณมีภาวะสายตายาว ควรพิจารณาพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวัดสายตาและเลือกใช้แว่นอ่านหนังสือให้เหมาะสม
สรุปบทความ
แบบทดสอบสายตาเอียง สั้น และยาว ที่ทาง ISOPTIK นำเสนอ เป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นเท่านั้น เพื่อให้ได้ค่าสายตาที่แม่นยำสำหรับการตัดแว่นหรือซื้อคอนแทคเลนส์ จำเป็นต้องได้รับการตรวจวัดสายตาโดยนักทัศนมาตรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา จึงจะได้ค่าสายตาที่เหมาะสม และลดความเสี่ยงของปัญหาทางสายตาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาบริการตรวจวัดสายตาที่มีคุณภาพ สามารถเข้ามาปรึกษาปัญหากับผู้เชี่ยวชาญ และนักทัศนมาตรด้านสายตาได้ที่ศูนย์แว่นตาไอซอพติก ศูนย์แว่นตาโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล เรามีทีมนักทัศนมาตรและจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา ออกแบบ และวิเคราะห์การใช้สายตาของคุณอย่างละเอียด โดยมีปรมาจารย์โบบิ คอยดูแลทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณได้รับแว่นตาโปรเกรสซีฟที่ใส่สบาย ตอบโจทย์การใช้งาน และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมรับประกันความพึงพอใจสูงสุด 180 วัน
คำยืนยันจากผู้ใช้ แว่นตาโปรเกรสซีฟ อัจฉริยะไอซอพติก มากกว่า ท่าน คลิก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
ปรมาจารย์โบบิ สายด่วน : 081-538-4200
LINE ID : @isoptik
เว็บไซต์ : https://www.isoptik.com
whatsapp : +66 81-538-4200
อีเมล : isoptik@gmail.com