การตรวจตาเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจไม่ต่างจากการตรวจสุขภาพทั่วไป บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจถึงความสำคัญของการตรวจตา ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจ และขั้นตอนการตรวจตาอย่างละเอียด เพื่อให้คุณสามารถดูแลดวงตาได้อย่างถูกวิธีและป้องกันปัญหาสุขภาพตาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ทำไมการตรวจตาถึงสำคัญ
การตรวจตา ไม่ได้มีแค่การวัดสายตาเพื่อหาความผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงเท่านั้น แต่ยังเป็นการตรวจสุขภาพโดยรวมของดวงตา เพื่อค้นหาสัญญาณของความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในดวงตาตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถรักษาหรือป้องกันการลุกลามของโรคได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ การตรวจตายังอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ของร่างกายได้อีกด้วย ยิ่งตรวจพบความผิดปกติได้เร็วเท่าไร โอกาสในการรักษาให้หายหรือควบคุมอาการได้ก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น
ใครบ้างที่ควรตรวจสุขภาพตา
ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใด การตรวจตาก็มีความจำเป็นต่างกันไปตามความเสี่ยง
-
เด็กเล็กและวัยเรียน ที่มีปัญหาทางตา เช่น ตาเขหรือตาขี้เกียจ หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะสามารถรักษาให้กลับมาปกติได้
-
วัยรุ่นและวัยทำงาน ผู้ที่ต้องจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน หรือใช้สายตาหนักจากการอ่านเอกสาร ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาเป็นระยะเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลง และปรับค่าความคมชัดของสายตาอย่างเหมาะสม ป้องปัญหามองไกลไม่ชัด
-
ผู้ที่มีอายุ 37 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่เริ่มมีปัญหาสายตายาวร่วมด้วย และมีความเสี่ยงของโรคตาเพิ่มขึ้น เช่น ต้อกระจก ต้อหิน หรือจอประสาทตาเสื่อม
-
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคตา
ขั้นตอนการตรวจสุขภาพตา
การตรวจตาโดยทั่วไปมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
-
การสอบถามประวัติและอาการ จักษุแพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพทั่วไป ประวัติโรคตา รวมถึงประวัติโรคในครอบครัว เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาต่าง ๆ
-
การวัดระดับการมองเห็น ( Visual Acuity ) เป็นการตรวจประเมินความสามารถในการมองเห็น โดยให้อ่านตัวอักษรหรือตัวเลขบนแผ่นทดสอบจากระยะทางที่กำหนด ผลการทดสอบนี้จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินสายตาและความจำเป็นในการใช้แว่นสายตา
-
การตรวจวัดค่าสายตาด้วยเครื่องวัดอัตโนมัติ ( Auto refraction ) เป็นการใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าสายตาเบื้องต้น เพื่อประเมินว่ามีสายตาสั้น ยาว หรือเอียงหรือไม่
-
การวัดความดันตา ( Tonometry ) เป็นการตรวจวัดความดันภายในลูกตา เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคต้อหิน
-
การตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อตา ( Cover test and Eye movement ) เป็นการตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อตา การกลอกตา รวมถึงการตรวจหาภาวะตาเข
-
การตรวจตาด้วยกล้องจุลทรรศน์ ( Slit lamp microscope ) เป็นการตรวจตาอย่างละเอียดด้วยกล้องจุลทรรศน์พิเศษสำหรับตา ทำให้จักษุแพทย์สามารถตรวจดูส่วนต่าง ๆ ของตา เช่น เปลือกตา กระจกตา ม่านตา และเลนส์ตา เพื่อประเมินโรคต่าง ๆ เช่น ต้อกระจก
ควรตรวจตาบ่อยแค่ไหน
-
เด็กควรได้รับการตรวจตาทุก ๆ 1 - 2 ปี
-
ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 37 ปี และไม่มีความผิดปกติในดวงตา ควรตรวจตาทุก ๆ 2 ปี
-
ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 37 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจทุก ๆ 12 ปี
สรุปบทความ
การตรวจตาเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพที่สำคัญอย่างยิ่ง ช่วยให้เราทราบถึงสุขภาพดวงตาและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การเข้ารับการตรวจตาตามคำแนะนำของจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ดวงตาของเรามีสุขภาพที่ดีและมองเห็นชัดใสไปอีกนาน
ศูนย์แว่นตาไอซอพติก ศูนย์แว่นตาโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล เรามีบริการตรวจวัดสายตาเบื้องต้น และให้บริการวัดสายตาประกอบแว่นคุณภาพสูง มีทีมนักทัศนมาตรและจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา ออกแบบ และวิเคราะห์การใช้สายตาของคุณอย่างละเอียด โดยมีปรมาจารย์โบบิ คอยดูแลทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณได้รับแว่นตาโปรเกรสซีฟที่ใส่สบาย ตอบโจทย์การใช้งาน และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมรับประกันความพึงพอใจสูงสุด 180 วัน
คำยืนยันจากผู้ใช้ แว่นตาโปรเกรสซีฟ อัจฉริยะไอซอพติก มากกว่า ท่าน คลิก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
ปรมาจารย์โบบิ สายด่วน : 081-538-4200
LINE ID : @isoptik
เว็บไซต์ : https://www.isoptik.com
whatsapp : +66 81-538-4200
อีเมล : isoptik@gmail.com