ความดันโลหิตสูงขึ้นจอประสาทตา ( Hypertensive retinopathy )

โดย แพทย์หญิง ณัฐธิดา นิ่มวรพันธุ์ ( จักษุแพทย์ที่ปรึกษาประจำศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก )

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบได้บ่อยถึง 25-30% ของประชากรโลกที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด ส่วนในเด็กก็พบโรคนี้ได้เช่นกันแต่น้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก โดยจะวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงเมื่อ ค่าความดันที่วัดได้ มีค่าความดันซิสโตลิก ( Systolic ) ตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และ/หรือ ค่าความดันไดแอสโทลิก ( Diastolic ) ตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป หากควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมักรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมองหรืออัมพฤกษ์ อัมพาต มีการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตา

การเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตาจากความดันโลหิตสูง สามารถพบได้ทั้งในกรณีที่มีความดันสูงอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ซึ่งจะมีผลต่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา ( Retina ) ชั้นใต้จอประสาทตา ( Choroid ) รวมถึงขั้วประสาทตา ( Optic nerve ) จึงอาจส่งผลให้การมองเห็นแย่ลงได้

ความดันสูงเฉียบพลัน ( Malignant hypertension )

ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันสูงเฉียบพลัน (ค่าความดันซิสโตลิกมากกว่า 200 มิลลิเมตรปรอท หรือ ความดันไดแอสโทลิก มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท) จะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดศีรษะ ตามัว เห็นภาพซ้อน หรือสู้แสงไม่ได้ การตรวจจอประสาทตาจะพบเส้นเลือดแดงฝอยในจอประสาทตาตีบมาก ( Severe retinal arteriolar narrowing ) ขั้วประสาทตาบวม ( Optic disc edema ) จอประสาทตาหรือจุดภาพชัดบวม ( Retinal or Macular edema ) มีไขมันรั่ว ( Hard exudates ) จากผนังของเส้นเลือดที่ผิดปกติ มีเลือดออกและมีการตายไปบางส่วนของชั้นเส้นใยประสาทในจอประสาทตา ( Nerve fiber layer hemorrhage and Cotton wool spot )

ความดันโลหิตสูงขึ้นจอประสาทตา ( Hypertensive retinopathy )
ภาพแสดงลักษณะของความดันโลหิตสูงขึ้นจอประสาทตาเฉียบพลัน
(จาก: https://medlineplus.gov/ency/imagepages/19530.htm)

ความดันสูงเรื้อรัง ( Chronic hypertension )

ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น เมื่อตรวจจอประสาทตาจะพบว่ามีเส้นเลือดแดงฝอยในจอประสาทตาตีบแคบไปบางส่วน ( Retinal arteriolar narrowing ) ปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นและความรุนแรงของความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยแต่ละราย และอาจพบจุดเลือดออกในจอประสาทตา ( Blot retinal hemorrhage ) และมีการตายไปบางส่วนของชั้นเส้นใยประสาทในจอประสาทตา ( Cotton wool spot ) ได้แต่มักจะมีจำนวนไม่มาก

การรักษา

เพื่อไม่ให้สูญเสียการมองเห็นจากความดันโลหิตสูงขึ้นจอประสาทตา ควรควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?