จอประสาทตาหลุดลอก ( Retinal detachment )

โดย แพทย์หญิง ณัฐธิดา นิ่มวรพันธุ์ ( จักษุแพทย์ที่ปรึกษาประจำศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก )

จอประสาทตาหลุดลอก คือ ภาวะที่จอประสาทตาหลุดออกจากตำแหน่งเดิมที่เคยอยู่ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • มองเห็นแสงแวบ คล้ายแสงฟ้าแลบ หรือแสงแฟลชถ่ายรูป
  • มองเห็นจุดดำ หรือเส้นสีดำ คล้ายเงาหยากไย่ลอยไปลอยมา
  • มีอาการตามัว โดยไม่มีอาการปวดตา หรือตาแดง ซึ่งการมัวนั้นอาจมัวเพียงบางส่วนของภาพก็เป็นได้

จอประสาทตาหลุดลอก ( Retinal detachment )

ภาพที่ 1 : ตำแหน่งปกติของจอประสาทตา ( Retina )

https://www.drugs.com/health-guide/detached-retina.html/

จอประสาทตาหลุดลอก ( Retinal detachment )

ภาพที่ 2 : จอประสาทตาหลุดลอกที่เกิดจากมีรูฉีกขาดที่จอประสาทตา หรือ Rhegmatogenous retinal detachmen
https://www.drugs.com/health-guide/detached-retina.html/

จอประสาทตาหลุดลอก ( Retinal detachment )

ภาพที่ 3 : แสดงการมองเห็นของผู้ป่วยโรคจอประสาทตาหลุดลอก
http://protrudent.info/detached-retina/

จอประสาทตาหลุดลอกนั้นแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ โดยแยกตามสาเหตุ คือ

  • จอประสาทตาหลุดลอกที่เกิดจากมีรูฉีกขาดที่จอประสาทตา หรือ Rhegmatogenous retinal detachment ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากมีอุบัติเหตุกระทบกระแทกบริเวณดวงตาอย่างรุนแรง หรือเกิดจากจอประสาทตาเสื่อมในผู้ป่วยที่มีสายตาสั้นมาก
  • จอประสาทตาหลุดลอกจากการดึงรั้ง หรือ Tractional retinal detachment มักพบใน ผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาระยะท้าย และในผู้ป่วยที่มีการอักเสบของน้ำวุ้นลูกตาหรือจอประสาทตาจนเกิดผังผืดขึ้น
  • จอประสาทตาหลุดลอกโดยไม่มีรูขาดที่จอประสาทตา หรือ Exudative retinal detachment เป็นกรณีที่เกิดจากการอักเสบของตาขาวที่อยู่ใต้จอประสาทตา ทำให้มีน้ำรั่วซึมจากเส้นเลือดต่าง ๆ เข้าไปสะสมอยู่ใต้ชั้นจอประสาทตา

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดจอประสาทตาหลุดลอก ได้แก่

  1. มีอายุมากขึ้น ซึ่งมักพบได้บ่อยในคนที่มีอายุมากกว่า 70 ปี
  2. มีสายตาสั้นมาก
  3. มีประวัติจอประสาทตาหลุดลอกมาแล้วข้างหนึ่ง
  4. มีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะจอประสาทตาหลุดลอก
  5. มีการติดเชื้อหรือการอักเสบภายในลูกตา
  6. มีเนื้องอกหรือมะเร็งที่เกิดขึ้นภายในลูกตา
  7. เป็นเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
  8. ได้รับอุบัติเหตุที่ลูกตาอย่างรุนแรง
  9. เคยได้รับการผ่าตัดภายในลูกตามาแล้ว

การรักษา มีดังนี้

  • ในรายที่เป็นเพียงจอประสาทตาฉีกขาดหรือเป็นรูโดยที่จอประสาทตายังไม่หลุดลอก มักจะให้การรักษาโดยการยิงเลเซอร์หรือใช้วิธีจี้ด้วยความเย็น ( Cryotherapy ) บริเวณรอบ รอยฉีกขาดของจอประสาทตา เพื่อช่วยยึดให้จอประสาทตากลับไปติดที่เดิม

    จอประสาทตาหลุดลอก ( Retinal detachment )
    ภาพที่ 4 : แสดงการรักษาด้วยวิธียิงเลเซอร์ ( ภาพบน ) และวิธีจี้ด้วยความเย็น ( Cryotherapy ) ( ภาพล่าง )
    http://protrudent.info/detached-retina/

  • ในรายที่จอประสาทตาหลุดลอก จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด สำหรับวิธีการผ่าตัดนั้นจะมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายไป

การพยากรณ์ของโรค

การมองเห็นหลังผ่าตัดจะดีแค่ไหนขึ้นกับระยะเวลาที่จอประสาทตาหลุดลอก ยิ่งนานยิ่งไม่ดี ดังนั้นเมื่อมีอาการที่สงสัยว่ามีจอประสาทตาหลุดลอกให้รีบพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจรักษาให้เร็วที่สุด

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?