โดย แพทย์หญิง ณัฐธิดา นิ่มวรพันธุ์ ( จักษุแพทย์ที่ปรึกษาประจำศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก )
นิ่วเยื่อบุตา หรือ หินปูนเยื่อบุตา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Conjunctival concretion หรือ Conjunctival lithiasis มีลักษณะเป็นเม็ดสีเหลืองอมขาว ค่อนข้างแข็ง มีขนาดตั้งแต่ เล็กกว่า 1 มิลลิเมตร จนถึงขนาด 3 มิลลิเมตร มักพบอยู่บริเวณใต้เยื่อบุตาที่อยู่บริเวณใต้เปลือกตา ( Palpebral conjunctiva ) หรือบริเวณร่องเยื่อบุตา ( Fornix ) ส่วนน้อยที่พบที่เยื่อบุตาบริเวณตาขาว ( Bulbar conjunctiva )
นิ่วเยื่อบุตานี้ เกิดจากเซลล์เยื่อบุตาที่เสื่อมสภาพ และตาย มารวมตัวกันเป็นก้อน และสะสมอยู่ใต้เยื่อบุตา สาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วเยื่อบุตา ได้แก่
- เยื่อบุตาเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น จึงมักพบในผู้สูงอายุ
- เยื่อบุตามีการอักเสบเรื้อรังจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น เป็นภูมิแพ้เยื่อบุตา การใส่คอนแทคเลนส์ เป็นต้น
- เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ ( Idiopathic )
นิ่วเยื่อบุตานี้ เกิดจากเซลล์เยื่อบุตาที่เสื่อมสภาพ และตาย มารวมตัวกันเป็นก้อน และสะสมอยู่ใต้เยื่อบุตา สาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วเยื่อบุตา ได้แก่
- เยื่อบุตาเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น จึงมักพบในผู้สูงอายุ
- เยื่อบุตามีการอักเสบเรื้อรังจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น เป็นภูมิแพ้เยื่อบุตา การใส่คอนแทคเลนส์ เป็นต้น
- เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ ( Idiopathic )
เมื่อมีนิ่วเยื่อบุตา โดยส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ ในบางคนหากเม็ดนี้โผล่ทะลุเยื่อบุตาขึ้นมา เมื่อกระพริบตาจะขูดผิวกระจกตาทำให้เกิดแผลถลอก และมีอาการระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตาได้ ในคนที่มีนิ่วเยื่อบุตาปริมาณมาก อาจไปขัดขวางการทำงานของต่อมไขมันที่เปลือกตา ( meibomian gland ) ส่งผลให้เกิดภาวะตาแห้ง เปลือกตาอักเสบ ตามมาได้
การรักษานิ่วเยื่อบุตา
นิ่วเยื่อบุตานั้นไม่ก่อให้เกิดอาการอะไร จึงไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากมีอาการระคายเคืองตาสามารถหยอดน้ำตาเทียมเพื่อบรรเทาอาการได้ และในกรณีที่นิ่วเยื่อบุตาก่อให้เกิดแผลถลอกที่กระจกตา จักษุแพทย์จะหยอดยาชา และใช้เข็มเขี่ยออกได้โดยง่าย
ดังนั้นหากมีเยื่อบุตาอักเสบควรรักษาให้หายโดยเร็ว อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรังจะก่อให้เกิดนิ่วเยื่อบุตาตามมาได้