โดย แพทย์หญิง ณัฐธิดา นิ่มวรพันธุ์ ( จักษุแพทย์ที่ปรึกษาประจำศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก )
น้ำวุ้นตา หรือ วุ้นในตา เป็นของเหลวใสไม่มีสี หนืดคล้ายไข่ขาว อยู่หน้าจอประสาทตา และยึดติดอยู่กับจอประสาทตา

http://www.tangseamjeng.com/health-news/136-เบาหวานขึ้นตา.html
เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน น้ำวุ้นตาเริ่มเสื่อม คือ มีบางส่วนจับตัวเป็นตะกอนหรือเป็นเส้น มีการหดตัวของน้ำวุ้นตา และลอกตัวออกจากจอประสาทตา จึงส่งผลให้เกิดอาการได้ ดังนี้
- เห็นเหมือน แมลง ลูกน้ำ หรือหยากไย่ ลอยไปมา
- เห็นเป็นแสงแฟลชจากกล้องถ่ายรูป หรือแสงฟ้าแลบ อาการนี้เกิดจากเมื่อน้ำวุ้นตาหดตัวจะเกิดแรงดึงรั้งที่ผิวของจอประสาทตา จึงเกิดการกระตุ้นที่จอประสาทตา ส่งผลให้เห็นเป็นแสงลักษณะดังกล่าว
- ในบางคน แรงดึงรั้งที่เกิดขึ้นอาจทําให้จอประสาทตาฉีกขาดได้

http://www.rak-sukapap.com/2016/10/blog-post_93.html
การรักษา
ภาวะน้ำวุ้นตาเสื่อมไม่จําเป็นต้องได้รับการรักษาใด ๆ แต่จะยังคงมองเห็นจุดดําลอยไปมาซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตราย การมองเห็นแสงแฟลชจะค่อย ๆ ลดลง และหายไปในที่สุด
หากมีการเปลี่ยนแปลงของอาการ เช่น ปริมาณของจุดดําเพิ่มขึ้น เห็นแสงแฟลชถี่ขึ้น ตามัวลงเหมือนมีม่านมาบัง ควรพบจักษุแพทย์ทันที เนื่องจากอาจมีรอยฉีกขาดขึ้นที่จอประสาทตา ซึ่งหากทิ้งไว้จะทําให้เกิดจอประสาทตาหลุดลอก และสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้

http://ponymiewie.blogspot.com/2015/08/blog-post.html