กระจกตาโปน : Keratoconus

โดย แพทย์หญิง อรทัย สุวรรณพิมลกุล จักษุแพทย์

Keratoconus ( ภาษาไทยมีที่ใช้หลายคำ : กระจกตาโปน , กระจกตาย้วยหรือกระจกตาผิดรูป ) เป็นภาวะที่กระจกตา ( cornea ) มีการบางลงอย่างต่อเนื่องบริเวณใกล้ส่วนกลางของกระจกตา ( paraxial ) เป็นเหตุให้ความแข็งแรงของกระจกตาลดลง และมีการเปลี่ยนรูปหรือโปนมากขึ้นตามมา ภาวะนี้ไม่ได้เกิดจากการอักเสบหรือติดเชื้อ มักเกิดในตาทั้งสองข้างแต่ความรุนแรงอาจไม่เท่ากัน

การสูญเสียการมองเห็นเกิดเนื่องจากสายตาสั้น และสายตาเอียงแบบ irregular จากการโค้งผิดรูปของกระจกตา หรืออาจเกิดจากแผลเป็นซึ่งเนื่องมาจากภาวะแทรกซ้อนในโรคนี้

กระจกตาโปน : Keratoconus

ความชุกของภาวะ keratoconus

ประเทศสหรัฐพบความชุกของภาวะนี้ที่ 50-200 รายต่อประชากร 100,000 คน โดยทั่วไปภาวะนี้มักพบเดี่ยว ๆ อย่างไรก็ตามบางครั้งอาจมีความเกี่ยวเนื่องกับโรคตาอื่น ๆ เช่น verneal keratoconjunctivitis , retinitis pigmentosa , Leber congenital amaurosis

หรือโรคทางกาย เช่น Ehlers-Danlos , Marfan syndromes , mitral valve prolapse , atopic dermatitis , Down syndrome

ปัจจัยเสี่ยง ที่เชื่อว่ามีส่วนสัมพันธ์กับ keratoconus

  1. ประวัติโรคภูมิแพ้แบบ atopy โดยเฉพาะหากมีอาการที่ตาด้วย
  2. การใช้คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง
  3. การขยี้ตาอย่างรุนแรง และต่อเนื่อง

กระจกตาโปน : Keratoconusกระจกตาโปน : Keratoconusกระจกตาโปน : Keratoconus

อายุที่พบ : มักพบในช่วงวัยรุ่น และมักจะเป็นมากขึ้นจนถึงช่วงอายุ 30 - 40 ปี จากนั้นโรคมักจะคงที่

อาการ

  1. ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการตามัว อาจมีเห็นภาพบิดเบี้ยว แสงกระจายหรือภาพซ้อน ซึ่งอาจมีประวัติเปลี่ยนแว่นบ่อย ๆ แต่ก็ยังเห็นไม่ชัด
  2. ระยะแรกที่เป็นโรคนี้ การใส่ soft contact lens หรือแว่น อาจทำให้การมองเห็นดีขึ้น แต่เมื่อโรคเป็นมากขึ้นอาจต้องเปลี่ยนไปใช้ contact lens ชนิดแข็งเพื่อแก้ไขสายตาหรือ contact lens ชนิดพิเศษ

อาการแสดง : แบ่งระยะของโรคเป็น 3 ระยะ

  1. ระยะแรก
    • มักตรวจไม่พบความผิดปรกติภายนอกของกระจกตา
    • อาจมีประวัติเปลี่ยนแว่นบ่อย ๆ แต่สายตาเมื่อแก้ไขแว่นก็ยังไม่ชัดมากนัก
    • ตรวจพบสายตาเอียงแบบ oblique astigmatism หรือสายตาสั้นปานกลางถึงมาก
    • การวินิจฉัยโรคระยะแรกต้องอาศัยการตรวจด้วยเครื่องตรวจความโค้งของกระจกตา ( computer - assisted videokeratography )จึงจะบอกได้
  2. ระยะปานกลาง
    • พบความผิดปรกติในกระจกตา เช่น เห็นเส้นประสาทในกระจกตาชัดขึ้น เส้นผิดปรกติคล้ายรอยย่นในชั้นลึกของกระจกตา ( Vogt striae ) พบสารเหล็กสะสมที่บริเวณฐานของส่วนกระจกตาที่โปนออก ( Fleischer ring ) หรือพบแผลเป็นที่กระจกตา
    • แผลเป็นที่กระจกตาพบได้หลายรูปแบบ อาจเป็นที่ชั้นผิวหรือชั้นลึกของกระจกตาก็ได้
    • เนื้อกระจกตาบางลงบริเวณส่วนล่างใกล้รูม่านตา
    • ตรวจวัดความโค้งของกระจกตาด้วย keratometry พบความโค้งมากกว่าปรกติ ( 45 - 52 D )
    • เมื่อให้ผู้ป่วยมองลง พบว่าเปลือกตาล่างจะถูกกระจกตาที่โค้งนูนดันลงเป็นรูป “ V ” เรียกว่า Munson sign

    กระจกตาโปน : Keratoconus กระจกตาโปน : Keratoconus

    กระจกตาโปน : Keratoconus Text Box: ภาพแสดง Vogt’s striae สังเกตบริเวณแถบไฟ พบบริเวณรอยย่นเป็นเส้นๆ ของกระจกตา

    กระจกตาโปน : Keratoconus Text Box: ภาพแสดง Fleischer ring บริเวณลูกศรขาวพบลักษณะวงกลมเป็นสีคล้ายสนิม เกิดจากสารเหล็กที่สะสมในกระจกตา

    กระจกตาโปน : Keratoconus Text Box: ภาพแสดง Munson sign เห็นเปลือกตาล่างเป็นรูป V เมื่อให้ผู้ป่วยมองลง

  3. ระยะรุนแรง
    1. ตรวจวัดความโค้งของกระจกตาด้วย keratometry พบความโค้งมากถึง 52 D ขึ้นไป
    2. พบอาการอื่น ๆ เช่นในระยะปานกลาง
    3. มักพบการบวมของกระจกตาอย่างเฉียบพลันได้ ( acute corneal hydrops )

    กระจกตาโปน : Keratoconus กระจกตาโปน : Keratoconus

    ภาพแสดง acute hydrops ( กระจกตาบวมเฉียบพลัน ) กรณีที่เป็นมาก เมื่อกระจกตาหายบวมแล้ว อาจพบเป็นแผลเป็นขาวขุ่นที่กระจกตาได้

การรักษา

  1. การใช้คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งถือเป็นการรักษาหลักของโรคนี้
  2. ถ้าผู้ป่วยเป็นระยะแรก ๆ มักแก้ไขสายตาได้ด้วยแว่นหรือคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มซึ่งแก้ไขสายตาเอียง ( spherical / toric soft contact lens )
  3. ผู้ป่วยระยะปานกลางถึงมาก มักต้องแก้ไขสายตาด้วยคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง
  4. กรณีที่ไม่สามารถใช้คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง อาจมีคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ เช่น hydrogel , piggyback หรือ scleral
  5. ปัญหาที่เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์ที่พบ เช่น แพ้คอนแทคเลนส์ แผลถลอกที่กระจกตา มีเส้นเลือดผิดปรกติเกิดที่กระจกตา ซึ่งเหล่านี้อาจทำให้ไม่สามารถใช้คอนแทคเลนส์ต่อไปได้

การรักษาด้วยการผ่าตัด ทำในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ได้

  1. อาจพิจารณาผ่าตัดหรือเลเซอร์เฉพาะกระจกตาส่วนกลางที่เกิดแผลเป็น ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใส่คอนแทคเลนส์ได้ หรือช่วยลดโอกาสการเกิดแผลเป็นที่กระจกตาจากการใส่คอนแทคเลนส์ และลดโอกาสการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนกระจกตา
  2. การใส่วัสดุที่เรียกว่า intrastromal corneal ring ( Intacs ) ฝังในเนื้อกระจกตา เพื่อลดความโค้งนูนของกระจกตา มักใช้กรณีที่โรคเป็นระยะปานกลางหรือรุนแรง

    กระจกตาโปน : Keratoconus Intacs image กระจกตาโปน : Keratoconus

    ภาพแสดง Intacs

  3. การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา มีหลายวิธีซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป โดยทั่วไปมักได้ผลค่อนข้างดี ผู้ป่วยมากกว่า 90% มักมีการมองเห็นที่ดีขึ้น โดยอาจใช้คอนแทคเลนส์ช่วยแก้ไขสายตาหลังการผ่าตัด
  4. อย่างไรก็ตามหลังการผ่าตัดผู้ป่วยจำต้องติดตามกับจักษุแพทย์ด้านกระจกตาต่อไป เนื่องจากอาจมีปัญหาแทรกซ้อนได้ เช่น มีการต่อต้านเนื้อเยื่อของกระจกตาที่เปลี่ยนหรือมีปัญหาแผลผ่าตัดหรือมีการเกิดซ้ำของโรคบนกระจกตาที่เปลี่ยนแม้จะพบน้อยมากก็ตาม
  5. นอกจากนี้ผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงการขยี้ตาอย่างรุนแรงด้วยค่ะ

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?