ตาเขในเด็กแรกเกิด

โดย แพทย์หญิง อรทัย สุวรรณพิมลกุล จักษุแพทย์

ภาวะตาเข คือ ภาวะที่ตาทั้งสองไม่อยู่ในแนวตรงตามธรรมชาติ แทนที่จะเห็นตาดำทั้งสองข้างตรงขนานกัน กลับเห็นว่าตาดำข้างหนึ่งตรงดี แต่อีกข้างกลับหันเข้าด้านหัวตาหรือเฉออกไปทางหางตา อาจจะเป็นตาใดตาหนึ่ง หรือสลับข้างกันไปมา ในเด็กทั่วโลกถือว่าพบได้ไม่น้อยทีเดียว ซึ่งตาเขจะมีชนิดและสาเหตุหลากหลายรูปแบบ โดยทั่วไปแบ่งชนิดของตาเขได้ดังนี้

  1. ตาเขชนิดหลอก ( Pseudo strabismus ) : คือ ตาที่มองดูเผิน ๆ คล้ายตาเข แต่เมื่อตรวจจริง ๆ พบว่าไม่ใช่ตาเข ซึ่งอาจเกิดจาก ลักษณะเปลือกตาค่อนข้างเล็กหรือเฉียงขึ้นบนเล็กน้อยหรือขอบเปลือกตาบนด้านหัวตาโค้งต่ำกว่าปกติ ทำให้ดูเหมือนลูกตาอยู่ชิดหัวตา คล้ายลักษณะตาเขเข้าใน ยิ่งร่วมกับลักษณะดั้งจมูกแบนราบยิ่งเห็นชัดขึ้นหรือพบในคนที่มีรูปหน้าแคบ ลูกตาทั้งสองอยู่ใกล้กันมาก แม้จมูกจะโด่งก็ทำให้ดูเหมือนคนตาเขเข้าในได้หรืออีกประเภท คือ หน้ากว้าง ลูกตาอยู่ห่างกันมากกว่าปกติ ทำให้ดูคล้ายกับคนตาเขออกด้านนอก

    ตาเขในเด็กแรกเกิด ตาเขในเด็กแรกเกิด ตาเขในเด็กแรกเกิด

    ภาพแสดงตาเขชนิดหลอก : เนื่องจากบริเวณเปลือกตาใกล้จมูกมีเนื้อค่อนข้างมากหรือดั้งจมูกแบน แลดูคล้ายมีตาเขเข้าใน แต่เมื่อส่องตรวจพบแสดงสะท้อนจากรูม่านตาตรงกลางที่จุดเดียวกันทั้ง 2 ตาแสดงว่าไม่ใช่ตาเขจริง

  2. ตาเขชนิดซ่อนเร้น ( Latent strabismus ) คือ มีตาเขที่ซ่อนไว้ให้ไม่ดูเข แต่จะมีอาการตาเขแสดงออกในบางครั้งเนื่องจากกล้ามเนื้อตาซึ่งบังคับตาให้ตรงเกิดอาการอ่อนเพลีย
  3. ตาเขชนิดเห็นได้ชัด ( Manifest strabismus ) เป็นตาเขที่มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งแบ่งได้หลายลักษณะ
    • ตาเขเข้าด้านใน ( esotropia )
    • ตาเขออกนอก ( exotropia )
    • ตาเขขึ้นบน ( hypertropia )
    • ตาเขลงล่าง ( hypotropia )
    ตาเขในเด็กแรกเกิด
    A.
    ตาเขในเด็กแรกเกิด
    B.
    ตาเขในเด็กแรกเกิด
    C.
    ตาเขในเด็กแรกเกิด
    D.
    ภาพตัวอย่างภาวะตาเข : A. ตาเขเข้าใน B. ตาเขออกนอก C. ตาเขขึ้นบน D. ตาเขลงล่าง
  4. ตาเขชนิดเป็นอัมพาตของประสาทกล้ามเนื้อตาหรือจากโรคทางร่างกายอย่างอื่น ชนิดนี้มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

สำหรับบทความนี้จะขอกล่าวถึงภาวะตาเขเข้าในซึ่งพบในเด็กแรกเกิด ( infantile esotropia ) ก่อนค่ะ เนื่องจากตาเขชนิดนี้เป็นผลให้เด็กสูญเสียการมองเห็นที่ดีได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

สาเหตุของตาเขเข้าในในเด็กแรกเกิด

การศึกษาในปัจจุบันยังคงไม่ทราบถึงสาเหตุของภาวะนี้

ความชุกของตาเขเข้าในในเด็กแรกเกิด

ภาวะตาเขพบได้บ่อยในเด็ก ทั้งนี้รวมตาเขเข้าในและเขออกนอกในสหรัฐพบความชุกที่ 12 ล้านคนต่อประชากร 245 ล้านคน ซึ่งตาเขเข้าในในเด็กแรกเกิดพบอยู่ที่ 28 - 54 % ของภาวะตาเขเข้าในทั้งหมด โดยรวมพบว่าความชุกอยู่ที่ 1 % ของเด็กแรกเกิดปรกติ

ปัญหาสำคัญของตาเขเข้าในในเด็กแรกเกิด

เนื่องจากภาวะนี้เป็นตาเขแบบเห็นได้ชัด ( manifest strabismus ) และเป็นตาเขที่มุมค่อนข้างกว้าง ตาข้างที่เขหากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ระบบการมองเห็นพัฒนาได้ไม่ดี เกิดปัญหาตาขี้เกียจได้ และทำให้ระบบการมองภาพสามมิติเสียไป

อาการ และอาการแสดง

ภาวะ infantile esotropia มักพบในเด็กทารกก่อนอายุ 6 เดือน อันที่จริงภาวะนี้ไม่ได้พบตั้งแต่แรกเกิด แต่มักจะพบได้ช่วงอายุ 2 - 4 เดือน

การตรวจมักพบตาเขเด่นชัดเป็นมุมกว้างมากกว่า 30 ปริซึม ตาเขจะเกิดตลอดเวลา ( constant ) และอาจมีลักษณะที่เรียกว่า cross fixates คือใช้ตาขวามองภาพด้านซ้ายและใช้ตาซ้ายมองภาพด้านขวา นอกจากนี้ตาเขที่เกิดขึ้นอาจก่อให้มีปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ตาขี้เกียจ การพัฒนาการมองเห็นสามมิติไม่ดี ตา 2 ข้างไม่ได้กลอกไปในทิศทางเดียวกันโดยเฉพาะเวลามองขึ้น - ลง

การรักษา

  1. ส่วนใหญ่มักเริ่มต้นด้วยการตรวจวัดสายตาอย่างละเอียด ซึ่งอาจต้องใช้ยาหยอดตาเพื่อคลายกล้ามเนื้อตาไม่ให้เกิดการเกร็งตัวระหว่างวัดสายตา ( cycloplegic refraction ) เพราะหากมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อตา อาจทำให้ค่าที่วัดได้ไม่แน่นอน
  2. เหตุที่ต้องวัดสายตาอย่างละเอียดเนื่องจากเด็กที่เป็นตาเขชนิดนี้มักพบว่ามีสายตายาวเล็กน้อยร่วมด้วย
  3. เด็กที่มีสายตายาวมากกว่า + 2.50 D หรือมีสายตา 2 ข้างต่างกันมากกว่า + 1.50 D หรือมีสายตาเอียงมากกว่า + 0.50 D ควรได้รับการแก้ไขด้วยแว่น หรือคอนแทคเลนส์ เนื่องจากว่าหากไม่แก้ไขปัญหาสายตาดังกล่าวจะมีโอกาสให้เกิดตาขี้เกียจได้ ( ตาขี้เกียจเกิดได้จาก 2 สาเหตุร่วมกัน คือ เรื่องสายตา และตาเข )
  4. ถ้าพบว่าเด็กมีภาวะตาขี้เกียจร่วมด้วย ก็ต้องให้การรักษาโดยเร็ว ด้วยการปิดตาข้างที่มองเห็นดีกว่า ( occlusion therapy ) เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่มองเห็นด้อยกว่าได้ทำงานมากขึ้น สำหรับช่วงระยะเวลาที่ต้องปิดตา แพทย์จะกำหนดให้ตามช่วงอายุ
  5. เด็กที่ได้รับการแก้ไขสายตา และรักษาตาขี้เกียจจะต้องมาพบแพทย์เป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจว่าภาวะตาขี้เกียจดีขึ้นหรือไม่ และตาที่ถูกปิดมีปัญหาหรือไม่
  6. เมื่อภาวะตาขี้เกียจหายไป หมายถึง การมองเห็นในตา 2 ข้างเท่ากัน แพทย์จึงจะพิจารณาผ่าตัดเพื่อรักษาตาเข
  7. โดยทั่วไปตาเขชนิดนี้มักจะต้องได้รับการผ่าตัดเพราะตาเขค่อนข้างเป็นมุมที่กว้าง และบางรายอาจต้องได้รับการผ่าตัดซ้ำ เพราะการผ่าตัดครั้งเดียวอาจแก้ไขได้ไม่หมด
  8. หลังการผ่าตัดเด็กยังคงต้องมาตรวจรักษาเป็นระยะ ๆ และถ้ามีปัญหาสายตาร่วมด้วยดังกล่าวข้างต้น แม้ผ่าตัดตาเขแล้วยังคงต้องใส่แว่นต่อไป
  9. แพทย์จะนัดมาตรวจเป็นระยะ ๆ เพื่อปรับค่าแว่นแก้ไขสายตา เนื่องจากเมื่อเด็กโตขึ้น สายตาก็จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ รวมถึงติดตามเรื่องการพัฒนาการมองเห็นสามมิตินอกจากนี้เพื่อติดตามดูว่ามีปัญหาเรื่องตาเขกลับเป็นซ้ำอีกหรือไม่ ซึ่งหากเกิดขึ้นซ้ำก็จะต้องทำการรักษาโดยเร็วเนื่องจากว่าระบบการมองเห็นในคนเราจะพัฒนาจนอายุประมาณ 7 - 9 ปี หากเลยช่วงเวลานี้ไปแล้วระบบการมองเห็นพัฒนาได้แค่ไหนก็จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก

ตาเขในเด็กแรกเกิด
ภาพแสดงตาเขเข้าในในเด็กแรกเกิด ก่อนผ่าตัด ( ซ้าย ) และหลังผ่าตัด ( ขวา )

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?