เส้นประสาทตาอักเสบ

โดย แพทย์หญิง อรทัย สุวรรณพิมลกุล จักษุแพทย์

โรคเส้นประสาทตาอักเสบ ( optic neuritis : ON ) เป็นภาวะที่มีการอักเสบร่วมกับการเสื่อมของปลอกหุ้มเส้นประสาทตา โดยผู้ป่วยโรคนี้หลายคนอาจสัมพันธ์กับการเกิดโรคทางกายที่มีการเสื่อมของเส้นประสาทสมอง และไขสันหลังร่วมด้วยที่เรียกว่า multiple sclerosis ( MS ) แต่อย่างไรก็ตาม optic neuritis อาจเกิดขึ้นโดยไม่มีโรคทางกายอื่น ๆ ก็ได้
สำหรับผู้ป่วยที่เป็น MS หลายรายที่มีอาการแสดงครั้งแรกที่ตาจากเส้นประสาทตาอักเสบ ฉะนั้นหากพบผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องเส้นประสาทตาอักเสบ จำต้องพิจารณาหาว่ามีโรคทางกาย โดยเฉพาะ MS ร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากโรคนี้อาจนำไปสู่ความพิการทางกายอย่างถาวรได้
บางกรณีเส้นประสาทตาอักเสบอาจเกิดจากการติดเชื้อที่บริเวณเบ้าตาหรือไซนัส หรือเกิดจากติดเชื้อไวรัสในร่างกายก็ได้ แต่จะไม่ได้กล่าวถึงสาเหตุส่วนนี้ในบทความนี้

สาเหตุ

สาเหตุของเส้นประสาทตาอักเสบเชื่อว่าเกิดจากภาวะคุ้มภูมิกันในร่างกายเราเกิดการต่อต้านเนื้อเยื่อของตัวเอง ก่อให้เกิดการอักเสบตามด้วยการเสื่อมของปลอกหุ้มเส้นประสาทตา ซึ่งโดยปรกติปลอกหุ้มเส้นประสาทตาจะทำหน้าที่ในการนำกระแสประสาทจากลูกตาไปยังสมอง เมื่อเกิดการเสื่อมทำให้การนำกระแสประสาทเสียไป ปัญหาของภาวะ optic neuritis คือ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้

อาการ และอาการแสดง

โรคเส้นประสาทตาอักเสบมักพบในช่วงอายุ 20 - 45 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มักเป็นข้างเดียว แต่หากเป็นในตาทั้งสองข้างถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่งที่จะเกิดโรค MS ตามมา
ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการตามัวลงค่อนข้างเร็ว การมองเห็นสีเพี้ยนไป ปวดในลูกตาโดยเฉพาะเวลากลอกตาไปมา บางครั้งอากาศร้อนหรือการออกกำลังกายที่ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเป็นตัวกระตุ้นให้ตามัวได้
ในผู้ที่เป็นโรค MS อาจมีการเป็นซ้ำ ๆ ของเส้นประสาทตาอักเสบ

เส้นประสาทตาอักเสบ

ภาพซ้ายแสดงการมองเห็นลดลงในโรคเส้นประสาทตาอักเสบ ( optic neuritis ) เปรียบเทียบกับการมองเห็นปรกติในด้านขวา

การตรวจจอประสาทตาพบการทำงานของเส้นประสาทตาลดลง ลานสายตาผิดปรกติ ในบางรายเห็นเส้นประสาทตาบวมจากการส่องตรวจจอประสาทตา

เส้นประสาทตาอักเสบopticneuritis1.jpg

ภาพซ้ายแสดงเส้นประสาทตาปรกติ เห็นขอบเขตของเส้นประสาทชัดเจน
ภาพขวาเป็นเส้นประสาทตาที่มีการอักเสบบวม ขอบเขตไม่ชัดเจน

การรักษา

ในปัจจุบันการรักษายังมีหลากหลายความเห็นโดยตัวโรคเมื่อเวลาผ่านไปมักจะมีการฟื้นกลับมาของการมองเห็นได้เองแต่อาจมีการมองเห็นสีที่ผิดเพี้ยนไปเล็กน้อยได้ สำหรับการให้ยาทางเส้นเลือดจำพวกสเตียรอยด์อาจช่วยให้การฟื้นของการมองเห็นเร็วขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด MS ในช่วง 3 ปีแรก แต่ในระยะยาวพบว่าไม่ได้ช่วยป้องกันการเกิด MS และไม่ได้มีความแตกต่างของผลการมองเห็นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ยาใด ๆ เลย
ฉะนั้นแพทย์อาจไม่ได้ให้ยาในผู้ป่วยโรคนี้ทุกราย อาจพิจารณาให้เฉพาะในผู้ที่การมองเห็นลดลงอย่างรุนแรงหรือตามัวทั้งสองข้าง

ปัญหาหลักของผู้ป่วยโรคนี้ คือ การประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดโรค MS ตามมาได้ซึ่งจักษุแพทย์จะมีการร่วมปรึกษาและประเมินความเสี่ยงร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นประสาทด้วย

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?