ยูวีจ๋า ตาลาก่อน

โดย O.D. สุนันท์ ภาสุระพันธ์ Doctor of Optometry

หากเราได้รับแสงยูวีต่อเนื่องในระยะเวลานาน ๆ นอกจากจะส่งผลให้เกิดต้อเนื้อ ต้อลม ต้อกระจกแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคจอตาเสื่อม อาจทำให้เกิดโรคตาเรื้อรังเกิดมะเร็งที่ผิวรอบดวงตาได้ เช่นเดียวกับการเกิดมะเร็งผิวหนังทั่วไป

เราป้องกันผิวจากยูวีด้วยครีมผสมสารป้องกันยูวี แล้วตาของเรา หลาย ๆ ท่านให้ความใส่ใจในการป้องกันผิวจากแสงยูวี แต่มีเพียงไม่กี่ท่านเท่านั้นที่ใส่ใจถึงอันตรายของยูวีที่มีต่อดวงตาด้วย ท่านทราบหรือไม่ว่า แสงยูวีจากธรรมชาติ และแสงยูวีที่สังเคราะห์ขึ้นนั้น สามารถทำลายเนื้อเยื่อดวงตาได้ สามารถแผดเผาผิวของดวงตาได้ เช่นเดียวกับอาการผิวไหม้ที่เกิดขึ้น การป้องกันเบื้องต้นที่สามารถทำได้ เช่น ใส่หมวกกันแดด และใส่แว่นตาที่ประกอบด้วยเลนส์ที่มีคุณสมบัติดูดซับหรือสะท้อนแสงยูวีได้

UV คือ อะไร

ยูวี หมายถึง รังสีชนิดหนึ่งจากดวงอาทิตย์ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ มีช่วงความถี่ระหว่าง 240 - 400 นาโนเมตร มีพลังงานสูง มนุษย์เราใช้ประโยชน์จากยูวีหลายทาง เช่น ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค ใช้วิเคราะห์แร่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามยูวีสามารถกระตุ้นให้ดีเอ็นเอเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพ ส่งผลให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนเร่งอายุผิว และก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งได้

รังสียูวีแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ยูวีเอ UVA ( ความถี่ระหว่าง 315 - 400 นาโนเมตร ) ยูวีบี UVB ( ความถี่ระหว่าง 280 - 315 นาโนเมตร) และ ยูวีซี UVC (ความถี่ระหว่าง 180 - 280 นาโนเมตร) โชคดีที่ UVC ถูกชั้นบรรยากาศของโลกสกัดกั้นเอาไว้ เหลือเพียง UVA และ UVB ทะลุผ่านมายังผิวโลก นอกจากนี้รังสียูวีสามารถสังเคราะห์ขึ้น และถูกปล่อยจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วย เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดแบล๊คไลต์หน้าจอคอมพิวเตอร์

ผลกระทบของแสงยูวีที่มีต่อตา

รังสียูวีเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเซลล์เนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต และแน่นอนที่สุดก็ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของตาได้มากมาย เลนส์ตามีหน้าที่ดูดซับยูวี เพื่อป้องกันไม่ให้แสงยูวีไปทำอันตรายต่อจอได้ เมื่อมีการสะสมของยูวีมากขึ้นเลนส์ก็จะขุ่นมัว และทำให้เกิดต้อกระจกได้ ส่วนเยื่อบุตา และกระจกตาก็เป็นด่านแรกที่ทำหน้าที่กรองยูวีเช่นกัน เมื่อได้รับยูวีมากขึ้นก็จะทำให้เยื่อบุตาเกิดอาการระคายเคือง ตาแดง แสบตา น้ำตาไหล เมื่อเป็นมากเข้าก็จะเกิดเป็นต้อเนื้อ ต้อลม ต้อจะโตขึ้นเรื่อย ๆ จนล้ำตาดำบดบังการมอง ทำให้การมองเห็นผิดปกติไปได้

จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าหากเราได้รับแสงยูวีต่อเนื่องในระยะเวลานาน ๆ นอกจากจะส่งผลให้เกิดต้อเนื้อ ต้อลม ต้อกระจกแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคจอตาเสื่อม อาจทำให้เกิดโรคตาเรื้อรัง เกิดมะเร็งที่ผิวรอบดวงตาได้ เช่นเดียวกับการเกิดมะเร็งผิวหนังทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยง
แสงยูวีจะมีความเข้มข้นมากในช่วงระหว่างวันโดยเฉพาะเวลาประมาณ 10 โมงเช้าถึงบ่าย 3 โมง แสงยูวีสามารถสะท้อนบนพื้นผิวต่าง ๆ ได้ เช่น พื้นหิมะ พื้นทราย ฉะนั้นปริมาณความเข้มของแสงยูวีจะมีค่อนข้างมาก กลุ่มคนที่ทำงานในพื้นที่เหล่านี้ เช่น บริเวณไร่นา ชายหาด ชานทะเลหรือบริเวณกลางแจ้ง ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเลือกสวมแว่นกันแดดที่กันยูวีได้ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน และประเทศที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร นอกจากนี้เด็กยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมักจะใช้เวลาวิ่งเล่นกลางแจ้งมากกว่าผู้ใหญ่ และโครงสร้างรูม่านตาในเด็กจะขยายตัวกว้างกว่าผู้ใหญ่ ทำให้รับแสงยูวีผ่านเข้าสู่ภายในตาได้มากกว่าผู้ใหญ่

แนวทางการป้องกันรังสียูวี
เราสามารถปกป้องดวงตาจากรังสียูวีด้วยวิธีง่าย ๆ โดยเลือกใส่แว่นกันแดดหรือแว่นสายตาที่มีคุณสมบัติป้องกัน รังสียูวีอย่างน้อย 99 - 100 เปอร์เซ็นต์รวมทั้งการเลือกใส่หมวกที่มีปีกขอบกว้าง ๆ ขณะทำงานในกลางแจ้งหรือขณะเล่นกีฬาหรือทำธุระต่าง ๆ ในที่แจ้ง การเลือกสีเลนส์กันแดดที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสบายตามองภาพได้ชัด ไม่บิดเบือน

สำหรับทุกท่านที่ใส่แว่นสายตา อย่าลืมถนอมสายตาด้วยการเคลือบสาร UVX บนผิวเลนส์เพื่อผลดีต่อสุขภาพตาในระยะยาว

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?