โดย แพทย์หญิง ณัฐธิดา นิ่มวรพันธุ์ ( จักษุแพทย์ที่ปรึกษาประจำศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก )
การที่คนเราจะมองเห็นชัด เกิดจากเมื่อแสงไปตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ดวงตา แสงจะหักเหผ่านกระจกตา (Cornea) และผ่านไปที่เลนส์แก้วตา (Crystalline Lens) โดยเลนส์แก้วตาจะใสและมีความยืดหยุ่น จึงทำหน้าที่ในการรวมแสงที่มาจากภายนอก ให้ไปตกที่ จอประสาทตา
(Retina) ได้พอดี แต่ถ้ากำลังรวมแสงของตา (กระจกตาและเลนส์แก้วตา) ไม่พอดีกับความยาวลูกตา เป็นผลให้การรวมแสงของตาตกไม่พอดีที่จอประสาทตา เกิดภาวะสายตาผิดปกติ (Refractive Errors)
ภาพ แสดงภาวะสายตาปกติ เมื่อแสงจากวัตถุสะท้อนเข้าสู่ดวงตา โดยการหักเหผ่านกระจกตา และเลนส์แก้วตา เพื่อรวมแสงให้ไปตกทีจอประสาทตาได้พอดี (จาก aao.org )
ปัญหาสายตาที่สามารถแก้ไขด้วยการใส่แว่นตา ประกอบไปด้วย
1. สายตาสั้น (Near - Sightedness หรือ Myopia) อาจเกิดจากการที่กระจกตาโค้งมากเกินไป หรือขนาดลูกตายาวเกินไป ส่งผลทำให้ กำลังการรวมแสงของตามากเกินไป เมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา ดังนั้นเมื่อมองวัตถุที่อยู่ไกล ภาพที่เกิดขึ้นจึงตกก่อนที่จะถึงจอประสาทตา
อาการ มองวัตถุที่อยู่ไกลไม่ช้ด แต่มองวัตถุที่อยู่ใกล้ชัดจนกว่า เกิดอาการตาล้า ปวดตา ปวดศีรษะ
ปัจจัยที่เพื่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะสายตาสั้น เช่น พันธุกรรมจากพ่อแม่ที่สายตาสั้นหรือมีพฤติกรรมการใช้สายตาในระยะใกล้มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ
ภาพแสดง ภาวะสายตาสั้น เมื่อแสงจากวัดถุสะท้อนเข้าสู่ดวงตา จะหักเหผ่านกระจกตาและเลนส์แก้วตาแสงให้ไปตกก่อนที่ จะถึงจอประสาทตา (จาก aao.org)
การแก้ไข ใส่แว่นสายตาที่มีเลนส์เว้า เพื่อลดกำลังรวมแสงของดวงตา ภาพจะได้ไปตกที่จอประสาทตาได้พอดี นอกจากการใส่แว่น ยังสามารถแก้ไขด้วยการใส่คอนแทคเลนส์หรือการผ่าตัดแก้ไขสายตาได้
2. สายตายาวโดยกำเนิด (Far - Sightedness หรือ Hyperopia)
อาจเกิดจากการที่กระจกตาแบนเกินไป หรือขนาดลูกตาสั้นเกินไป ส่งผลทำให้กำลังการรวมแสงของตาน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา ดังนั้นเมื่อมองวัตถุที่อยู่ไกล ภาพที่เกิดขึ้นจึงตกเลยจอประสาทตาไป
อาการ มองวัตถุที่อยู่ใกล้ไม่ช้ด แต่มองวัตถุที่อยู่ไกลชัดเจนกว่า ในคนที่เป็นมาก อาจมองไกลไม่ชัดไปด้วย เกิดอาการตาล้า ปวดตา ปวดศีรษะ
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะสายตายาวแต่กำเนิด เช่น พันธุกรรมจาก พ่อแม่ที่สายตายาวแต่กำเนิด
ภาพแสดง ภาวะสายตายาวแต่กำเนิด เมื่อแสงจากวัตละท้อนเข้าสู่ตวงตา จะหักเหผ่านกระจกตาและเลนส์แก้วตา แสงจะตกเลยจอประสาทตาไป (จาก aao.org)
การแก้ไขใส่แว่นสายตาที่มีเลนส์นูน เพื่อเพี่มกำลังรวมแสงของดวงตาภาพ จะได้ไปตกที่จอประสาตาได้พอดี นอกจากการใส่แว่น ยังสามารถแก้ไขด้วยการใส่คอนแทคเลนส์หรือการผ่าตัดแก้ไขสายตาได้
3. สายตาเอียง (Astigmatism)
เกิดจากการที่กระจกตามีความโค้งแต่ละแกนไม่เท่ากัน มักเกิดจากกระจกตาไม่กลม เปรียบได้กับผิวความโค้งด้านข้างของไข่หรือลูกรักบี้ ทำให้เกิดจุดโฟกัส 2 จุด ไม่รวมเป็นภาพเดียว คนส่วนใหญ่มักเกิดมาพร้อมกับสายตาเอียงเล็กน้อยอยู่แล้ว และอาจเกิดร่วมกับภาวะสายตาสั้นและสายตายาวแต่กำเนิด
อาการ มองเห็นภาพซ้อนหรือบิดเบี้ยว มองไม่ขัดทั้งไกลและใกล้ เห็นแสงกระจายรอบ ดวงไฟ ตกล้า ปวดตา ปวดศีรษะ
ปัจจัยที่เพื่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะสายตาเอียง เช่น พันธุกรรมจากพ่อแม่ที่สายตาเอียง
ภาพแสดง ภาวะสายตาเอียง เมือแสงจากวัตถุสะท้อนเข้าสู่ตวงตา จะหักเหผ่านกระจกตาที่มีความโค้งแต่ละแกนไม่เท่ากัน แสงจึงตก 2 จุดไม่รวมเป็นภาพเดียว จุดใดจุดนึงอาจตกก่อนหรือหลังจอประสาทตาไป (จาก aao.org)
การแก้ใข ใส่แว่นสายตาที่มีเลนส์กาบกล้วย (Cylindical lens) ซึ่งเป็นเลนส์พิเศษที่สามารถแก้การรวมแสงในแต่ละแนวได้ต่างกัน ภาพจะได้ไปตกที่จอประสาทตาได้พอดีนอกจากการใส่แว่น ยังสามารถแก้ไขด้วยการใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแก้ไขสายดาเอียงหรือการผ่าตัดแก้ใขสายตาได้
4. สายตายาวตามอายุ (Presbyopia)
เกิดจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อตาที่ใช้ในการมองใกล้เสื่อมลงร่วมกับเลนส์ แก้วตาที่ขาดความยืดหยุ่นจึงไม่สามารถปรับโฟกัสในการมองระยะใกล้ได้ ภาวะนี้พบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไปและจะยาวมากขึ้นตามอายุ
อาการ จะต่างจากสายตายาวโดยกำเนิด ตรงที่สายตายาวตามอายุจะมีปัญหาในการมองใกล้ท่านั้น แต่มองไกลหากเดิมสายตาปกติก็จะยังมองเห็นชัดเจนอยู่ วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าเรี่มมีภาวะนี้ คือ จากเดิมที่เคยอ่าน เขียนหนังสือที่ระยะห่างจากตา 1 ฟุต แล้วชัด แต่ตอนนี้กลับไม่ช้ด ต้องใช้วิธีเลื่อนหนังสือออก หรือต้องหรี่ตาให้เล็กลง เพื่อช่วยให้อ่านหนังสือชัดขึ้น
การแก้ไข ใช้แว่นสายตาที่มีเลนส์นูนโดยจะใช้เฉพาะเวลาที่ มองใกล้ หรือใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟก็ได้ ไม่สามารถแก้ใขด้วยการใส่คอนแทคเลนส์หรือผ่าตัดได้
5. ตาขี้เกียจ (Amblyopia)
หากมีสายตาผิดปกติ อาจจะเป็นสายตาทั้ง 2 ข้างมีความแตกต่างกันมาก ซึ่งตาข้างที่ผิดปกติมากกว่ามักจะเกิดภาวะตาขี้เกียจ หรือสายตาผิดปกติมากทั้ง 2 ข้าง มักจะเกิดภาวะตาขี้เกียจขึ้นทั้งสองตา ตาขี้เกียจนั้นเป็นภาวะที่มีการมองเห็นซึ่งผิดปกติ โดยตรวจไม่พบความผิดปกติของดวงตา ซึ่งจะพบเฉพาะในเด็กเท่านั้น ถึงแม้จะพบในภายหลังก็เกิดจากมีภาวะนี้ตั้งแต่ตอนเด็กทั้งสิ้น หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องภายในอายุ 7 ปี
อาจจะสูญเสียการมองเห็นไปอย่างถาวรได้
อาการ
- การมองเห็นของดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างแย่ลง
- มีตาเหล่ หรือต้องเอียงศีรษะหรือปิดตาไว้ข้างหนึ่ง เพื่อให้มองเห็นได้ชัด
- ปวดศีรษะ
- มีหนังตาตกหรือต้อกระจก
การรักษา รักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดตาขี้เกียจ เช่น หากเกิดจากสายตาผิดปกติแก้ไขโดยการใส่แว่นตา หรือใส่คอนแทคเลนส์ เพื่อให้เห็นภาพชัดที่สุด ร่วมกับการปิดตาข้างที่ดีไว้ เพื่อกระตุ้นตาที่ขี้เกียจให้กลับมามองเห็นชัดขึ้น
6. ตาเหล่ (Starbismus)
อาการ คือ มีตาดำเบนไปจากตรงกลาง สามารถจะเบนเข้าในหรือออกนอกก็ได้แล้วแต่
สาเหตุ ตาเหล่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
ตาเหล่เข้าใน (Esotropia) ส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีภาวะสายตายาวในเด็ก เด็กต้องเพ่งเพื่อให้มองเห็นชัดขึ้น การเพ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ตาเขเข้าในได้การแก้ไขสายตายาวด้วยแว่นก็อาจทำให้ภาวะตาเขหายไปได้ ส่วนในเด็กที่มี สายตาสั้นหรือสายตาเอียงบางราย อาจทำให้กล้ามเนื้อขาดความสมดุลจน เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเขได้เช่นกัน
ภาพแสดงตาเหล่ที่เกิดจากสายตาผิดปกติ เมื่อแก้ไขด้วยแว่นตาสามารถ
ทำให้ตากลับมาตรงเป็นปกติได้ (จาก EyeRound.org)
ตาเหล่ จากสาเหตุอื่นๆ ในผู้ใหญ่ เช่น เป็นไทรอยด์ เส้นประสาทเส้นที่มาควบคุมกล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต เป็นต้น หากมีอาการตาเหล่เล็กน้อยและส่งผลทำให้เห็นภาพซ้อนสามารถแก้ไขด้วยการใส่แว่นปริซึม (prism) เพื่อช่วยหักเหแสง เพื่อลดการเกิดภาพซ้อนได้ แต่ตาเหล่ไม่ได้หายไป