ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก 3

โดย แพทย์หญิง อรทัย สุวรรณพิมลกุล จักษุแพทย์

จะกล่าวต่อถึงภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก

  1. จอประสาทตาหลุดลอก
  2. การติดเชื้อในลูกตา

จอประสาทตาหลุดลอก
พบได้ประมาณ 0.5 - 2.0 % โดยมากจะพบในช่วง 6 เดือนแรกหลังผ่าตัดต้อกระจก

ปัจจัยเสี่ยงหลักของการเกิดภาวะนี้ ได้แก่

  1. สายตาสั้นมากที่เกิดจากลูกตามีความยาวกว่าปรกติ คือ มากกว่า 25 มิลลิเมตรขึ้นไป ( โดยทั่วไปควรระมัดระวังในผู้ที่สายตาสั้นประมาณ - 6.00 ขึ้นไป )
  2. มีบางส่วนของจอประสาทตาบางกว่าปรกติ ( lattice degeneration )

    ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก

    บริเวณลูกศรชี้คือจอประสาทตาที่มีการเสื่อม และบางกว่าปรกติ ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดจอประสาทตาฉีกขาดได้ หากตรวจพบภาวะนี้แพทย์อาจพิจารณา เลเซอร์เพื่อป้องกันการเกิดจอประสาทตาฉีก

  3. เคยมีประวัติจอประสาทตาฉีกขาดหรือจอประสาทตาหลุดลอกมาก่อน
  4. ประวัติคนในครอบครัวมีจอประสาทตาหลุดลอก

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรแจ้งแก่แพทย์ และควรมาติดตามการรักษาหลังผ่าตัดต้อกระจก ตามที่แพทย์นัดหมายหากมีความผิดปรกติเกิดขึ้น ก็จะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว

การติดเชื้อในลูกตา Endophthalmitis
การติดเชื้อในลูกตาอาจเกิดแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังก็ได้ซึ่งถ้าอาการเป็นแบบเรื้อรัง มักเกิดจากเชื้อโรคที่ไม่รุนแรงนัก
อาการที่พบ ได้แก่

  1. ปวดตา เป็นได้ตั้งแต่ปวดน้อยจนถึงปวดรุนแรง
  2. ตามัว
  3. เห็นเหมือนเป็นเส้นใยหรือยุงลอยในตา ( floaters )

อาการแสดงที่พบ ได้แก่ ตาแดงเยื่อบุตาบวม มีขี้ตา พบเซลล์อักเสบหรือหนองในช่องหน้าลูกตา กระจกตาบวมน้ำวุ้นตาขุ่น
โดยทั่วไปถ้าการติดเชื้อเป็นอย่างเฉียบพลันมักมีอาการใน 2 - 5 วัน หลังการผ่าตัดซึ่งการได้รับการวินิจฉัย และรักษาอย่างรวดเร็วมีความสำคัญยิ่งต่อการมองเห็นหากได้รับการรักษาช้า โดยเฉพาะในเชื้อโรคบางอย่างที่รุนแรงอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ฉะนั้นผู้ที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก จึงควรอย่างยิ่งที่ต้องมาตรวจติดตามเป็นระยะ ๆ ตามที่แพทย์นัด

ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก
กรณีที่การติดเชื้อเป็นเรื้อรังมักจะมีอาการหลังผ่าตัดหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนอาจตรวจพบการอักเสบเพียงเล็กน้อยในลูกตา ซึ่งคงอยู่เป็นเวลานานส่วนใหญ่เชื้อมักจะไม่รุนแรงนัก

การรักษา

การรักษาขึ้นกับความรุนแรงของการติดเชื้อโดยทั่วไปหากการติดเชื้อไม่รุนแรงนัก การมองเห็นยังไม่แย่มากแพทย์จะให้การรักษาด้วยการฉีดยาปฏิชีวนะเข้าไปในลูกตา ร่วมกับการให้ยาหยอดซึ่งผู้ป่วยมักจะต้องอยู่โรงพยาบาล เพื่อติดตามผลการรักษาทุกวันหากการตอบสนองดีอาจมีการฉีดยาซ้ำหรือไม่ แพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

กรณีที่การติดเชื้อรุนแรงมากตามัวมากหรือให้การรักษาด้วยการฉีดยาเข้าลูกตาแล้วไม่ได้ผลแพทย์จะทำการผ่าตัดเข้าไปในลูกตาเพื่อตัดน้ำวุ้นตาที่มีการติดเชื้อออกไป

สำหรับระดับสายตาหลังการรักษาภาวะติดเชื้อในลูกตาจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อ และระยะเวลาที่วินิจฉัย และให้การรักษายิ่งได้รับการรักษาเร็วหรือเชื้อไม่รุนแรง การพยากรณ์โรคก็จะดีกว่าหากเชื้อรุนแรงมากหรือได้รับการรักษาช้าอาจสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นตาไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?