ไขมันที่เปลือกตา

โดย แพทย์หญิง อรทัย สุวรรณพิมลกุล จักษุแพทย์

Xanthelasma หรือไขมันสะสมที่เปลือกตา : เป็นก้อนนูนสีเหลืองที่เปลือกตา ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก แต่มักทำให้เกิดความกังวลว่าเป็นเนื้องอกร้ายแรงหรือไม่

ไขมันที่เปลือกตา ไขมันที่เปลือกตา

อย่างไรก็ตามก้อนนูนลักษณะนี้ไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็ง

  1. อายุที่พบได้ตั้งแต่ 15 - 73 ปี โดยพบบ่อยที่สุดช่วงอายุ 40 - 50 ปี
  2. โดยตำแหน่งที่มักพบ คือ บริเวณหัวตา และมักเป็นที่เปลือกตาบนมากกว่าเปลือกตาล่าง
  3. ลักษณะก้อนเป็นสีเหลือง อาจนุ่มหรือแข็งก็ได้
  4. ก้อนไขมันที่สะสม เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถหายไปได้เอง และอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นช้า ๆ ได้
  5. ผู้ที่เป็นมักไม่มีอาการอะไร และก้อนที่เกิดขึ้นไม่มีผลต่อดวงตาหรือการมองเห็นแต่อาจมีผลด้านความสวยงาม
  6. ครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีก้อนนูนแบบนี้สัมพันธ์กับการมีไขมันในเลือดสูง

การรักษา

  1. ผู้ที่พบ Xanthelasma ที่เปลือกตาควรได้รับการตรวจไขมันในเลือด
  2. อย่างไรก็ตามการควบคุมระดับไขมันในเลือดไม่ได้ทำให้ก้อนไขมันที่สะสมที่เปลือกตาหายไปเองได้

ส่วนใหญ่หากมีปัญหาด้านความสวยงามอาจต้องผ่าตัด จี้ด้วยเลเซอร์ จี้ด้วยสาร Trichloroacetic acid จี้ไฟฟ้าหรือจี้ความเย็น

การพยากรณ์โรค

Xanthelasma อาจเป็นซ้ำได้หลังการผ่าตัด โดยการศึกษาที่ผ่านมาพบการเป็นซ้ำได้ถึง 40 % ซึ่ง 26 % เป็นซ้ำในปีแรกหลังการรักษาแต่การเป็นซ้ำก็ไม่ได้มีผลอันตรายต่อดวงตาหรือการมองเห็น สิ่งสำคัญ คือ การรักษาโรคไขมันในเลือดสูงซึ่งต้องอาศัยการติดตามกับอายุรแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?