มะเร็งจอประสาทตา

โดย แพทย์หญิง อรทัย สุวรรณพิมลกุล จักษุแพทย์

มะเร็งจอประสาทตาชนิด Retinoblastoma ถือเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในลูกตาที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก เกิดจากความผิดปรกติของเซลล์ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์ในชั้นจอประสาทตา ซึ่งความผิดปรกติที่เกิดขึ้นเป็นเนื่องจากโครโมโซมที่ 13 ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเจริญพัฒนาของเซลล์ในชั้นจอประสาทตาเกิดการผ่าเหล่าที่ผิดปรกติ เซลล์จึงมีลักษณะการเจริญไปเป็นเซลล์มะเร็ง

ลักษณะของมะเร็งที่เกิดขึ้นในชั้นจอประสาทตามีการเจริญได้ 3 แบบ

  1. เกิดเป็นเนื้องอกเข้ามาในวุ้นลูกตา
  2. เกิดเป็นเนื้องอกเข้าไปอยู่ใต้ชั้นจอประสาทตา
  3. เซลล์มะเร็งแทรกซึมไปตามใต้ชั้นจอประสาทตา โดยไม่เห็นเป็นก้อนเนื้อชัดเจน

    มะเร็งจอประสาทตามะเร็งจอประสาทตา

ความชุก
ในสหรัฐพบได้ประมาณ 250 - 500 รายต่อปี
ทั่วโลกพบอยู่ที่ 11 ราย ต่อเด็ก 1 ล้านคนที่อายุน้อยกว่า 5 ปี
โดยทั่วไปอายุเฉลี่ยที่มักได้รับการวินิจฉัย คือ 18 เดือน โดย 90 % ได้รับการวินิจฉัยก่อนอายุ 5 ปี

  • เด็กที่เป็นมะเร็งจอประสาทตาในตา 2 ข้างมักจะพบได้ที่อายุเฉลี่ย 13 เดือน ขณะที่เด็กที่เป็นในตาข้างเดียวมักจะถูกวินิจฉัยที่อายุเฉลี่ย 24 เดือน
  • หากมีประวัติครอบครัวเด็กอาจได้รับการวินิจฉัยเร็วขึ้น

อาการแสดง
มะเร็งจอประสาทตาชนิด retinoblastoma ในผู้ป่วยบางราย ( 5 % ) อาจมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้
อาการแสดงมีได้หลายรูปแบบ ได้แก่

  • รูม่านตาเป็นสีขาว ( คล้ายตาแมว ) เป็นอาการแสดงที่พบได้บ่อยที่สุด

    Retinoblastoma, intraocular stage (leukocoria) Retinoblastoma Treatment and Research

  • ตาเข เป็นผลจากตาข้างที่เป็นมะเร็งทำให้ตามัว ตาจึงไม่ได้ใช้งานอย่างปรกติ เกิดตาเขตามมา เป็นอาการแสดงที่พบได้รองลงมา
  • อาการแสดงอื่น ๆ เช่น ตาแดง ปวดตาจากความดันตาสูง ลูกตาอักเสบ เบ้าตาอักเสบ เลือดออกในช่องหน้าลูกตา หนองในช่องหน้าลูกตา ตาโปนหรือ ตามัว

ภาพแสดงการลุกลามของมะเร็งจนมีลักษณะตาโปน

มะเร็งจอประสาทตา

อาการแสดงคล้ายหนองในช่องหน้าลูกตา แต่ลักษณะขาว ๆ ที่เห็นแท้จริงเป็นเซลล์มะเร็งที่กระจายจากชั้นจอประสาทตา ผ่านมาด้านหน้าที่ช่องหน้าลูกตา

มะเร็งจอประสาทตา

เซลล์มะเร็ง สีขาวมีการกระจายอยู่ในช่องหน้าลูกตา

มะเร็งจอประสาทตา

มะเร็งจอประสาทตามะเร็งจอประสาทตา

รูปอาการแสดงลักษณะของเบ้าตาอักเสบจากมะเร็ง retinoblastoma

การตรวจเพิ่มเติม

  1. ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด และตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจมีอาการแสดงคล้ายมะเร็งที่จอประสาทตา ในต่างประเทศอาจมีการตรวจ DNA ไม่เฉพาะผู้ป่วยแต่รวมถึงบิดามารดาของผู้ป่วยด้วย
  2. ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจสแกนสมอง และลูกตาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) เพื่อดูการกระจายของมะเร็ง เพื่อการวางแผนการรักษาต่อไป
  3. ผู้ป่วยอาจได้รับการเจาะไขสันหลังเพื่อดูว่ามีการกระจายของมะเร็งไปตามไขสันหลังหรือไม่

การรักษา

  • การฉายแสง ใช้ในกรณีที่เซลล์มะเร็งมีการกระจายในน้ำวุ้นตา หรือมะเร็งเป็นมากขึ้นขณะที่ให้เคมีบำบัด หรือรายที่เอาลูกตาออกแล้วแต่พบเซลล์มะเร็งเหลือที่ต้นขั้วของเส้นประสาทตา
  • เคมีบำบัด ส่วนใหญ่มักให้ในรายที่ก้อนเนื้อมะเร็งใหญ่มาก ให้ยาเคมีบำบัดเพื่อให้ก้อนมีขนาดเล็กลงง่ายต่อการผ่าตัดออก
  • ผ่าตัดลูกตาออก ใช้ในรายที่ตามองไม่เห็นแล้ว มะเร็งเป็นมากกระจายไปทั่วลูกตา
  • จี้ด้วยความเย็น หรือเลเซอร์ ใช้เฉพาะรายที่ก้อนเนื้อมีขนาดเล็กมากและอยู่ห่างจากขั้วประสาทตา

ทั้งนี้การรักษาด้วยวิธีใดแพทย์จะต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ขึ้นกับความรุนแรงของโรค และหลังการรักษาผู้ป่วยยังต้องได้รับการติดตามตรวจเป็นระยะ ๆ เพื่อดูว่ามีการเกิดซ้ำของมะเร็งหรือไม่

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?