Computer vision syndrome

โดย แพทย์หญิง อรทัย สุวรรณพิมลกุล จักษุแพทย์

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันของเรา การทำงานด้วยคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ หลายชั่วโมงกลายเป็นเรื่องปรกติของคนทั่วไป อย่างไรก็ตามการทำงานในลักษณะนี้จะทำให้มีผลต่อร่างกาย รวมถึงดวงตาของเราได้

ในประเทศอเมริกาประมาณว่าหนึ่งร้อยล้านคนมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานประจำวัน พบว่า 95 % ของโรงเรียน และ 62 % ในห้องเรียนในอเมริกาล้วนมีการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น และอาการทางดวงตาพบได้ในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่า computer vision syndrome ( CVS ) ซึ่งที่พบบ่อย ได้แก่ การมองเห็นลดลง แสบตา เคืองตา และสู้แสงไม่ได้ นอกจากนี้อาจพบอาการทางกายอื่น ๆ ได้ เช่น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปัญหาเกี่ยวกับไหล่ และข้อมือ

Computer vision syndrome

ปัจจัยที่ก่อให้เกิด CVS ประกอบด้วย

  • ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม : ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องจ้องมองจอคอมพิวเตอร์ในระยะเฉพาะ มุมในการกวาดตามองที่กว้าง ห้องทำงานที่มีความชื้นต่ำ แสงสว่างที่มากเกินไป ทำให้เกิดอาการได้ รวมถึงการทำงานในแต่ละสถานที่ก็มีสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ล้วนมีผลได้ทั้งสิ้น
  • ปัจจัยด้านบุคคล : ผู้ที่ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาด้านสายตาที่ถูกต้องอาจทำให้เกิด CVS และการเมื่อยล้าจากการทำงานหรือในผู้ที่อายุมากขึ้น เข้าสู่วัยกลางคนอาจมีปัญหาสายตาสูงอายุร่วมด้วย ซึ่งสายตาสูงอายุจะมีผลกระทบต่อการมองระยะใกล้ และระยะกลาง ทำให้มีผลต่อการมองคอมพิวเตอร์ในการทำงาน ยิ่งถ้าต้องทำงานในระยะเวลานาน โอกาสมีปัญหาทางดวงตายิ่งเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหาตาแห้งการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเหตุให้อาการเป็นมากขึ้นได้

อาการ

อาการที่พบได้ ได้แก่ ตาแห้ง เคืองแสบตา ตาแดง ตามัว น้ำตาไหล ปวดรอบกระบอกตาหรือสู้แสงไม่ได้ ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดไหล่

Computer vision syndrome

Computer vision syndrome

สิ่งที่ควรได้รับการประเมินในผู้ที่มีอาการ CVS ได้แก่ ผู้ที่สวมแว่นควรได้รับการตรวจกำลังของสายตาหรือหากได้รับยาบางอย่างหรือมีโรคประจำตัวควรบอกให้แพทย์ทราบ นอกจากนี้ต้องประเมินลักษณะของที่ทำงานด้วย เช่น การจัดโต๊ะ ท่าทางในการนั่ง การวางมือระหว่างใช้คอมพิวเตอร์ สีจากจอคอมพิวเตอร์ ความสว่างของโต๊ะทำงาน เป็นต้น

สาเหตุ

  • ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องจ้องมองหน้าจอ ดังนั้นผิวนอกของดวงตาจึงสัมผัสกับภาวะแวดล้อมนานกว่าปรกติ ทำให้น้ำตามีการระเหยมากขึ้น เกิดการตาแห้งได้
  • ระดับของหน้าจอกับดวงตา ถ้าหน้าจออยู่สูงไปทำให้ต้องเพ่งตาเพิ่มขึ้นจะมีโอกาสเกิด CVS มากกว่า แต่ถ้าหน้าจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตาทำให้ไม่ต้องเพ่งตามาก โดยเฉพาะถ้าอยู่ในท่ามองลงเป็นมุมมากกว่า 14 องศา อาการก็จะน้อยลง
  • ผู้ที่มีอาการ CVS อาจมีปัญหาสู้แสงไม่ได้ ซึ่งจะเป็นมากหากใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์หรือโต๊ะทำงานอยู่ใกล้หน้าต่างที่มีแต่กระจกมาก ๆ
  • คุณภาพของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ เช่น หากภาพหน้าจอไม่ชัดหรือมีแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์มากจะทำให้เกิดอาการได้

    Computer vision syndromeComputer vision syndrome

  • อายุที่มากขึ้นทำให้เกิดตาแห้งได้มาก
  • ผู้ที่ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาทางสายตา เมื่อทำงานด้วยคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการตามัว ปวดตา ดวงตาเมื่อยล้า และปวดศีรษะได้
  • การกระพริบตาที่ลดลงก็พบได้บ่อยในผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการแสบเคืองตาได้

การรักษา : ผู้ที่มีปัญหา CVS ควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์

  • หากมีปัญหาด้านสายตาควรได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง ซึ่งรวมถึงการแก้ไขปัญหาสายตาสูงอายุด้วย
  • การเลือกใช้กำลังแว่นที่เหมาะสมต่อระยะการทำงาน
  • ผู้ที่มีอาการตาแห้งอาจใช้น้ำตาเทียมร่วมด้วย หากมีอาการตาแห้งมากซึ่งใช้น้ำตาเทียมไม่ได้ผลควรพบจักษุแพทย์
  • กระพริบตาให้บ่อยขึ้น โดยควรจะมีการกระพริบตาทุก ๆ 20 นาที โดยกระพริบนานครั้งละ 20 วินาทีให้ได้ 20 ครั้ง และควรมีการพักสายตาระหว่างการทำงานโดยการมองไปที่ไกล ๆ ทุก 30 นาที นานครั้งละ 5 - 10 วินาที
  • นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการ CVS ควรได้รับการประเมินอาการทางกายอื่น ๆ เช่น ปัญหากล้ามเนื้อต้นคอ ไหล่ ข้อมือ และควรมีการออกกำลังยืดเส้นยืดสาย หรือเปลี่ยนท่าทางระหว่างการทำงาน
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงานดังกล่าวข้างต้น เช่น ท่าทางการทำงาน ความสูงของเก้าอี้ ระยะการทำงาน ควรได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง และหลีกเลี่ยงการนั่งบริเวณที่มีแอร์หรือพัดลมเป่าโดยตรง

Computer vision syndrome

หน้าจอควรห่างจากสายตาประมาณ 16 - 30 นิ้ว

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?