การเปลี่ยนแปลงของดวงตากับการตั้งครรภ์ : 2

โดย แพทย์หญิง อรทัย สุวรรณพิมลกุล จักษุแพทย์

เบาหวานจอประสาทตา

การตั้งครรภ์เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เบาหวานจอประสาทตาในคนที่เป็นอยู่เดิม มีการดำเนินโรคที่แย่ลงได้ระหว่างมีครรภ์ แม้แต่ในผู้ที่เป็นเบาหวานโดยยังไม่มีปัญหาที่จอประสาทตา เมื่อมีการตั้งครรภ์อาจมีเบาหวานขึ้นที่จอประสาทตาได้ อย่างไรก็ตามการดำเนินโรคอาจดีขึ้นได้ในช่วงปลายของการตั้งครรภ์หรือหลังคลอด

ปัจจัยที่ทำให้เบาหวานจอประสาทตาเป็นมากขึ้นได้แก่

  1. ความยาวนานในการเป็นโรคเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ : ยิ่งเป็นเบาหวานมานานมีโอกาสที่โรคจะเป็นมากขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
  2. การควบคุมระดับน้ำตาลก่อน และระหว่างการตั้งครรภ์ : หากควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีโรคเบาหวานที่จอประสาทตาก็มีโอกาสแย่ลงระหว่างตั้งครรภ์
  3. ความรุนแรงของเบาหวานที่จอประสาทตาก่อนการตั้งครรภ์ : ถ้าเดิมเป็นเบาหวานจอประสาทตาในระดับที่รุนแรงก็มีโอกาสที่ตัวโรคจะเป็นมากขึ้นมากกว่าผู้ที่เป็นไม่รุนแรง
  4. การมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง : หากมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วยมักมีความเสี่ยงที่เบาหวานจอประสาทตาจะดำเนินในทางที่แย่ลง

เหตุที่ทำให้เบาหวานจอประสาทตาแย่ลงระหว่างการตั้งครรภ์เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนโลหิตที่จอประสาทตา

การรักษาเบาหวานจอประสาทตา : วิธีการรักษาเช่นเดียวกับผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์โดยพิจารณาจากความรุนแรงของโรค หากโรคเป็นระดับไม่รุนแรงอาจสังเกตอาการเนื่องจากหลังการคลอดตัวโรคมักจะดีขึ้นได้ แต่หากการดำเนินโรคแย่ลงจนถึงระดับรุนแรงแพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยเลเซอร์หรือผ่าตัดโดยดูเป็นกรณีไป

การติดตามการตรวจตา : ผู้ที่เดิมมีโรคเบาหวานควรได้รับการตรวจตาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ สำหรับความบ่อยในการตรวจตาหลังจากนั้นแพทย์จะพิจารณาจากความรุนแรงของโรค โดยอย่างน้อยที่สุดควรได้รับการตรวจตาทุก 3 เดือน จนกระทั่งคลอด

การเปลี่ยนแปลงของดวงตากับการตั้งครรภ์

ตัวอย่างจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวาน

ภาพซ้าย : จากการตรวจตาช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์พบว่าเป็นเบาหวานระยะแรก ( จุดเลือดออกเล็ก ๆ หรือเป็นจุดที่จอตาขาดเลือดเห็นเป็นสีขาวไม่มาก )

ภาพขวา : การตรวจตาช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ในผู้ป่วยรายเดียวกันพบว่าเบาหวานจอประสาทตาเป็นรุนแรงมากขึ้นพบเส้นเลือดผิดปรกติงอกในจอประสาทตาร่วมกับมีเลือดออกเป็นบริเวณกว้าง และมีพังผืดดึงรั้งจอประสาทตา

โรคม่านตาอักเสบ

ผู้ป่วยโรคม่านตาอักเสบพบว่าระหว่างการตั้งครรภ์อาจทำให้การอักเสบเป็นมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และช่วงหลังคลอดระยะแรก ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคนี้ควรได้รับการตรวจติดตามโดยจักษุแพทย์

ยาหยอดตา และการตั้งครรภ์

แม้การศึกษาเกี่ยวกับยาหยอดตา และหญิงตั้งครรภ์จะมีค่อนข้างน้อย แต่อาจเป็นไปได้ที่ยาหยอดตาซึ่งมีปริมาณน้อยอาจสามารถดูดซึมผ่านเส้นเลือดที่มาเลี้ยงตาเข้าสู่รกหรือขับออกทางน้ำนมได้ ทำให้มีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์หรือทารกที่ได้รับนมแม่ การใช้ยาหยอดตาจึงควรระมัดระวังมากขึ้นระหว่างมีครรภ์ ซึ่งยาเหล่านี้ได้แก่

ยาหยอดสำหรับขยายม่านตา

ควรหลีกเลี่ยง แม้ไม่มีการศึกษาโดยตรงสำหรับยาชนิดหยอด แต่ตัวยาชนิดเดียวกันที่ให้ทางร่างกาย ( กินหรือฉีด ) พบว่าทำให้เกิดความผิดปรกติทางกายของทารกในครรภ์ได้

ยารักษาต้อหิน

ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับยาหยอดรักษาต้อหินทุกตัว แต่ยาหยอดบางตัวที่ใช้ในการรักษาต้อหินพบว่าทำให้เกิดความผิดปรกติในสัตว์ทดลองได้ ( ยกเว้น brimonidine ซึ่งค่อนข้างปลอดภัย ) สำหรับยากลุ่ม beta - blockers พบว่าอาจทำให้เกิดความพิการและมีผลต่อการเต้นของหัวใจในทารกได้ ดังนั้นหากไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงยา ที่ยังไม่ได้รับการรับรองว่าปลอดภัย กรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา แนะนำว่าควรใช้นิ้วกดปิดบริเวณถุงน้ำตาซึ่งเป็นทางระบายของน้ำตาระหว่างหยอดยา เพื่อลดการดูดซึมของยาเข้าสู่ร่างกาย และให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่บริเวณดวงตา

การเปลี่ยนแปลงของดวงตากับการตั้งครรภ์

ภาพแสดงตำแหน่งถุงน้ำตาซึ่งเป็นส่วนของทางระบายน้ำตา การกดบริเวณนี้ระหว่างหยอดยาอาจช่วยลดการดูดซึมของยาหยอดตาเข้าสู่ร่างกายได้

ยาหยอดสเตียรอยด์

ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากในสัตว์ทดลองพบว่าอาจทำให้เกิดความพิการได้ แม้ว่าการศึกษาในคนยังไม่พบว่าทำอันตรายต่อทารกก็ตาม

โดยสรุปแล้วการตั้งครรภ์ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับดวงตาได้หลายอย่าง ส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มักกลับสู่ปรกติหลังการคลอด อย่างไรก็ตามบางโรคอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้หากไม่ได้รับการรักษา ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรมีความรู้ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ รวมถึงระมัดระวังในการใช้ยาเพื่อมิให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและบุตรในครรภ์

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?