ทำไมอุบัติเหตุทางรถยนต์มักเกิดเวลาโพล้เพล้

โดย แพทย์หญิง ณัฐธิดา นิ่มวรพันธุ์ ( จักษุแพทย์ที่ปรึกษาประจำศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก )

หลายท่านคงมีความสงสัยว่า ทำไมอุบัติเหตุทางรถยนต์มักเกิดเวลาโพล้เพล้มากกว่าเวลาที่ท้องฟ้าสว่างหรือเวลาที่มืดไปเลย ก่อนอื่นต้องเข้าใจกลไกการมองเห็นของดวงตากันก่อน

กลไกการมองเห็นของดวงตา

การมองเห็นของดวงตาเริ่มต้นจากแสงเดินทางผ่านกระจกตา (Cornea) รูม่านตา (Pupil) และเลนส์ตา (Lens) ไปรวมแสงที่จอประสาทตา (Retina) โดยมีศูนย์กลางของจุดรับแสงที่อยู่บนจอประสาทตาเรียกว่า จุดภาพชัด (Fovea) หลังจากนั้นจึงถ่ายทอดกระแสประสาท (neural signals) ไปตามเส้นประสาทตา (Optic nerve) และไปสู่สมองเพื่อแปลผลต่อไป โดยเลนส์ตาทำหน้าที่ในการปรับโฟกัส และรูม่านตาทำหน้าที่ในการปรับความสว่าง

แสดงกลไกการมองเห็นของดวงตา
ภาพที่ 1: แสดงกลไกการมองเห็นของดวงตา
ที่มา: http://www.cns.nyu.edu

จอประสาทตา ประกอบด้วยเซลล์รับแสงอยู่ 2 ชนิด คือ

  1. แท่งเซลล์รูปกรวย (Cone Cells) มีประมาณ 4.5 ล้านเซลล์ รวมตัวอยู่บริเวณจุดภาพชัดมากที่สุด ทำหน้าที่ในการเห็นสี จะทำหน้าที่ได้ดีเมื่อมีแสงสว่างและยังสามารถรับรู้รายละเอียดได้ชัดกว่าเซลล์รูป
  2. เซลล์รูปแท่ง (Rod Cells) มีประมาณ 90 ล้านเซลล์ จะกระจายตัวอยู่รอบนอกจุดภาพชัดของจอประสาทตา ทำหน้าที่ในการมองเห็นในที่มืด แต่ไม่สามารถแยกแยะสีได้ ทำให้เรามองไม่เห็นสีในที่ที่มีแสงน้อย
Cone Cell Rod cell
ที่มา: https://th.wikipedia.org

เซลล์รับแสงทั้งสองชนิดต้องใช้เวลาปรับตัวจากที่สว่างไปที่มืด โดยเซลล์รูปกรวย (เซลล์ที่ใช้ในการเห็นสี) ใช้เวลาในการปรับตัวประมาณ 5-7 นาที แต่เซลล์นี้ไม่สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืด ส่วนเซลล์รูปแท่งซึ่งเป็นเซลล์ที่ใช้ในการมองเห็นในที่มืดเป็นหลัก ต้องใช้เวลาปรับตัวประมาณ 20-30 นาที จึงจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นในช่วงโพล้เพล้จึงเป็นช่วงรอยต่อที่จะเปลี่ยนจากสว่างไปมืด จึงเป็นช่วงที่เซลล์รับแสงทั้งสองชนิดอยู่ในช่วงปรับตัว ทำให้การมองเห็นไม่ดีเท่าที่ควร จึงส่งผลทำให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยกว่าช่วงเวลาอื่น

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?