โรคสายตาขี้เกียจ ( Amblyopia หรือ Lazy Eye )

โรคสายตาขี้เกียจ ( Amblyopia หรือ Lazy Eye )', 'เป็นภาวะที่ตามองไม่ชัดเท่าปกติ โดยเกิดกับตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ อาการส่วนใหญ่คือ ตาข้างหนึ่งมีการมองเห็นด้อยกว่าตาอีกข้างหนึ่ง เนื่องจากมีความผิดปกติของพัฒนาการระบบการมองเห็นในช่วงวัยเด็ก', '

โดย แพทย์หญิง นุชรี ปริวิสุทธิ์ ( จักษุแพทย์ที่ปรึกษาประจำศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก )

ตาขี้เกียจ

เมื่อเด็กเริ่มมองกระดานดำไม่ชัด คุณพ่อคุณแม่ก็มักจะพาไปวัดสายตาที่ร้านแว่น แต่ถ้าวัดอย่างไรก็ยังไม่สามารถทำให้เด็กเห็นชัดเจนได้ ทางร้านก็จะแนะนำให้ไปตรวจกับจักษุแพทย์ หากตรวจไม่พบความผิดปกติอื่นๆในดวงตา หมายความว่าเด็กอาจเป็นโรคสายตาขี้เกียจ เป็นเรื่องที่น่าเสียใจที่บางครั้งกว่าจะตรวจทราบว่าบุตรหลานของท่านเป็นโรคสายตาขี้เกียจ ก็อายุมากเกินกว่าที่จะรักษาให้การมองเห็นกลับมาเป็นปกติได้แล้ว

เรามาดูกันดีกว่าว่าโรคสายตาขี้เกียจคืออะไร มีข้อสังเกต และ วิธีป้องกัน อย่างไรบ้างเพื่อช่วยในการป้องกันไม่ให้บุตรหลานของเราต้องมีภาวะบกพร่องการมองเห็นไปอย่างถาวร โรคสายตาขี้เกียจนี้ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการบกพร่องของการมองเห็นในเด็ก โดยสถิติแล้วมากถึง 2-3% หมายความว่า ในเด็ก 100 คน จะพบเด็กมีโรคสายตาขี้เกียจประมาณ 2 - 3 คน โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดกับตาข้างเดียว มีเด็กเป็นส่วนน้อยที่เกิดโรคนี้กับตาทั้งสองข้าง

โรคสายตาขี้เกียจคืออะไร

เป็นภาวะที่ตามองไม่ชัดเท่าปกติ โดยเกิดกับตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ อาการส่วนใหญ่คือ ตาข้างหนึ่งมีการมองเห็นด้อยกว่าตาอีกข้างหนึ่ง เนื่องจากมีความผิดปกติของพัฒนาการระบบการมองเห็นในช่วงวัยเด็ก ( ระยะสำคัญคือช่วงแรกเกิดถึงอายุประมาณ 7 ปี ) เมื่อตาข้างที่ผิดปกติได้รับสัญญาณภาพไม่ชัดเจน สมองจึงเพิกเฉยต่อการรับสัญญาณภาพจากตาข้างนั้น ไปพัฒนาเฉพาะตาข้างที่ปกติ ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง ความสามารถในการทำงานร่วมกันของตาสองข้างจึงลดลงด้วย เป็นความผิดปกติของพัฒนาการของการมองเห็น เนื่องจากโดยปกติแล้วระบบการมองเห็นของคนเรา ประกอบด้วยการทำงานร่วมกันของตาและสมอง

การพัฒนาระบบการทำงานในการนำสัญญาณภาพจากจอประสาทตาไปที่สมองนี้จะเริ่มพัฒนาตั้งแรกเกิดจนถึงช่วงอายุประมาณ 7 ปี โดย โดยต้องได้รับสัญญาณภาพจากตาทั้งสองข้างในอัตราใกล้เคียงกัน จึงจะทำให้การพัฒนาการมองเห็นเป็นปกติ แต่ถ้าในระยะนี้ ถ้ามีปัจจัยมารบกวนสัญญาณภาพของข้างหนึ่งให้ไม่ชัด สมองก็จะพัฒนาไปในทางที่เลือกการมองเห็นจากตาอีกข้างหนึ่งที่ให้สัญญาณภาพชัดกว่า ก็จะทำให้การพัฒนาการมองเห็นไม่สมบูรณ์ ตาข้างที่มีปัญหามองไม่ชัดเท่าตาปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะที่ตาข้างหนึ่งมีการมองเห็นด้อยกว่าตาอีกข้างหนึ่ง ซึ่งเราเรียกว่า โรคสายตาขี้เกียจ

โรคสายตาขี้เกียจ นอกจากตาข้างนั้นจะมองไม่ชัดแล้ว ยังทำให้ความสามารถในการทำงานร่วมกันของตาสองข้างจึงลดลงด้วยส่งผลให้ การกะระยะตื้นลึก หรือ มิติของภาพผิดปกติไปด้วย เด็กอาจจะกะระยะลูกบอลพลาด มองภาพสามมิติได้ลำบาก

ตาขี้เกียจ

สาเหตุของภาวะตาขี้เกียจ

เกิดจากภาวะใดๆก็ตามที่ทำให้ตามองไม่ชัดอาจแบ่งได้เป็นชนิดต่างๆดังนี้

  • ภาวะตาเหล่ตาเข (Strabismic Amblyopia) ชนิดนี้เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยสุด เมื่อมีตาเหล่สมองจำเป็นต้องกดการรับรู้จากตาข้างที่เหล่ไม่เช่นนั้นจะทำให้มองเห็นภาพซ้อน เมื่อนานเข้าตาเหล่นั้นก็จะกลายเป็นตาขี้เกียจ
  • ภาวะค่าสายตามีความแตกต่างกันมาก (Anisometropic Amblyopia) ชนิดนี้เป็นสาเหตุจากสายตาทั้งสองข้างมีค่าสายตา (สั้นยาวหรือเอียง) ต่างกันมาก เช่น ตาข้างหนึ่งสั้น 100 อีกข้างสั้น 700 ดังนั้นภาพจากตาข้างที่สั้นกว่าจะมัวกว่าอีกข้างหนึ่งมากและเกิดเป็นภาวะตาขี้เกียจตามมา
  • ภาวะค่าสายตาผิดปกติเท่ากัน (Ametropic Amblyopia) ชนิดนี้เป็นสาเหตุจากสายตาทั้งสองข้างมีค่าสายตาผิดปกติมากพอๆกัน (จะเป็นสายตาสั้นหรือยาวหรือเอียงมากๆก็ได้) เช่นสายตาสั้น 1000 ทั้งสองข้าง เด็กจะเห็นภาพระยะไกลไม่ชัด พัฒนาการของระบบการมองเห็นถูกกระตุ้นไม่เต็มที่ เกิดเป็นตาขี้เกียจทั้งสองข้าง
  • ภาวะการมองเห็นโดนบดบัง(Deprivation Amblyopia) ภาวะที่พบบ่อยคือต้อกระจกแต่กำเนิด ภาวะอื่นๆ เช่นภาวะหนังตาตก อุบัติเหตุที่ตา แผลเป็นที่กระจกตา ภาวะนี้ถ้าเกิดกับตาข้างเดียวก็ทำให้เกิดตาขี้เกียจตาเดียว หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับตาทั้งสองข้าง เช่น เป็นต้อกระจกทั้งสองตา ก็จะทำให้พัฒนาการของระบบการมองเห็นของตาทั้งสองข้างถูกรบกวน เกิดเป็นตาขี้เกียจทั้งสองข้าง กลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงต่อภาวะตาขี้เกียจมากขึ้น ได้แก่ ทารกคลอดก่อนกำหนดเด็กมีน้ำหนักตัวน้อยเมื่อแรกเกิดเด็กที่มีพัฒนาการช้า และคนครอบครัวมีประวัติเป็นภาวะตาขี้เกียจ
ตาขี้เกียจ

การรักษา

หัวใจสำคัญในการป้องกันความสูญเสียจากโรคสายตาขี้เกียจ คือ ตรวจพบและรักษาให้เร็วที่สุดเด็กที่เป็นโรคสายตาขี้เกียจไม่สามารถหายเองได้ ในทางทฤษฏีเชื่อว่าควรเริ่มรับการรักษาก่อนอายุ 7 ขวบ เนื่องจากเป็นช่วงที่ยังมีพัฒนาการของระบบการมองเห็นอยู่ หากเริ่มรับการรักษาตั้งแต่อายุยิ่งน้อยก็จะเพิ่มโอกาสการกลับมามองเห็นเป็นปกติได้ดียิ่งขึ้น หากเริ่มรับการรักษาหลังจากอายุเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นไปแล้ว มักไม่สามารถทำให้การมองเห็นกลับมาเป็นปกติได้ การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ ถ้าเป็นกรณีที่ผ่าตัดได้ก็ทำก่อนแล้วค่อยรักษาเรื่องสายตาขี้เกียจที่ยังเหลืออยู่ การรักษาเริ่มจากกำจัดที่สาเหตุก่อน

  • กรณีตาเหล่ตาเข ก็ผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ก่อนแล้วจึงรักษาภาวะตาขี้เกียจต่อ
  • กรณีการมองเห็นโดนบดบัง เช่น ต้อกระจก ภาวะหนังตาตก แผลเป็นที่กระจกตา ก็ผ่าตัดแก้ไขก่อน
  • กรณีค่าสายตาผิดปกติ ก็ให้แว่นเพื่อให้มองเห็นชัดช่วยกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็น

แต่ถ้าเป็นตาขี้เกียจระดับลึกแล้ว หลักการคือ กระตุ้นให้ตาขี้เกียจให้ทำงานมากขึ้น ที่นิยมคือ การปิดตาข้างดี หรือจักษุแพทย์บางท่านอาจเลือกเป็น การหยอดยาตาข้างที่ดีให้มัวลง เมื่อตาขี้เกียจถูกบังคับให้ใช้งานมากขึ้นก็จะมีโอกาสพัฒนาการมองเห็นกลับมาเป็นปกติได้

สิ่งสำคัญคือการตรวจพบเร็วว่าเด็กเป็นโรคสายตาขี้เกียจ ยิ่งพบเร็ว รักษาเร็ว โอกาสประสบความสำเร็จในการรักษายิ่งสูง ผู้ปกครองควรสังเกตว่าเด็กมีลักษณะดวงตาที่ผิดปกติหรือไม่ เช่นมีจุดสีขาวที่กลางตาดำ หนังตาตก มีภาวะตาเหล่ตาเข เด็กหรี่ตาบ่อย มีการร้องไห้เนื่องจากมองไม่เห็นเมื่อเอามือปิดตาข้างดีไว้ มีลักษณะเหมือนมองไม่เห็น ถ้ามีข้อสงสัยต้องรีบพาเด็กไปพบจักษุแพทย์ทันที

อย่างไรก็ตาม ในเด็กทุกรายควรรับการตรวจตาและค่าสายตาเด็กตั้งแต่อายุน้อย หากพบความผิดปกติของค่าสายตา การใส่แว่นจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคสายตาขี้เกียจตามมาได้ มีข้อแนะนำจาก American Optometric Association ว่าควรพาเด็กไปพบจักษุแพทย์เมื่ออายุ 6 เดือน และตรวจอีกครั้งเมื่อเด็กอายุ 3 ขวบ

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?