ทำไมเวลาเรามองหน้าจอมือถือด้วยตาของตนเองแล้วมันไม่กระพริบเหมือนดูผ่านกล้องวิดีโอ นั่นเป็นเพราะสมองของเราสามารถที่จะปรับภาพที่กระพริบรวมเป็นภาพที่ไม่กระพริบได้ถ้า Refresh rate สูงพอ
Refresh rate จะมีที่ระดับ 60 Hz, 90 Hz และ 120 Hz ยิ่งสูงยิ่งดียิ่งกระพริบน้อย ดังนั้นเวลาจะซื้อมือถือ ซื้อจอ ซื้อแท็บเล็ต ให้ดูสเปกตรงนี้
Refresh rate การกระพริบยิ่งต่ำ สมองยิ่งต้องทำงานหนัก นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงรู้สึกไม่สบายตาหลังจากใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน เราจึงมีความรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดตา และล้า บางรายอาจจะมีอาการตาลายร่วมด้วย
การจ้องคอมพิวเตอร์นานๆ ติดต่อกันเป็นอันตรายต่อสายตา หรือจอประสาทตา หรือสมองหรือไม่
ผมขอบอกอย่างนี้ในแง่ถ้าเราคุยเรื่องของอันตราย เรายังไม่มีงานวิจัยใดๆ ที่จะพิสูจน์ได้อย่างเป็นเอกฉันท์ว่าจอคอมพิวเตอร์สร้างความเสียหายต่อดวงตา ต่อจอประสาทตา ต่อสมองส่วนการมองเห็น ต่อสมองส่วนอื่น เท่าที่เรามีหลักฐานตอนนี้ก็คือ อาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม คือ อาการที่ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดบ่า อันเนื่องมาจากท่านั่งกับมุมในการมองไม่ถูก
มีงานวิจัยที่ห้ามใช้คอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต แล็ปท็อป ทีวี ในที่มืดสนิทเด็ดขาด เพราะจะสร้างความเสียหายให้กับจอประสาทตาได้จริง ดังนั้นถ้าจำเป็นจะต้องใช้มือถือก็ขอให้มีแสงสว่างในห้อง
หลักการทำงานของเลนส์บลูบล็อคมีอยู่ 2 อย่าง
1. การเคลือบสารป้องกันรังสี UV ที่ 400 นาโนเมตร
2. การย้อมสีเลนส์ให้มีสีเหลือง เพื่อจะใช้สีเหลืองไปตัดแสงสีฟ้าซึ่งเชื่อกันว่าทำให้ไม่สบายตา แล้วก็เชื่อกันว่าเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา ซึ่งมันพิสูจน์อะไรยังไม่ได้
ในแง่ของความสบายตาที่เกิดขึ้นจากการใช้เลนส์บลูบล็อค มันเกิดขึ้นจากฟิลเตอร์สีเหลือง กับ ตัวป้องกัน UV 400 นาโนเมตร ดังนั้นเลนส์บลูบล็อคจึงช่วยให้สบายตาขึ้นจริงเมื่อใช้ดูจอคอมพิวเตอร์ หรือ จอมือถือ แต่ถ้ามองอย่างอื่นที่ไม่ใช่จอ เลนส์บลูบล็อคกันแสงสีฟ้าก็จะเห็นทุกอย่างเพี้ยนแล้วก็ติดเหลือง ดังนั้นเลนส์บลูบล็อค จึงสบายตาเวลาดูจอ แต่สบายตาน้อยลงเวลาดูอย่างอื่น