ถ้าเรามีคุณภาพการมองเห็นที่ดี เราก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ถ้าเรามีคุณภาพการมองเห็นที่ดี เราก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ถ้าคุณภาพการมองเห็นเราไม่ดี คุณภาพชีวิตของเราก็จะด้อยกว่าที่ควรจะเป็น

เรามองดูด้วยตา แต่มองเห็นด้วยสมอง คนที่มีคุณภาพการมองเห็นต่ำกว่าปกติ แล้วไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง สมองส่วนควบคุมการมองเห็น และสมองส่วนกลาง จะพยายามฝืนเพ่งอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้มองเห็นภาพชัดขึ้น ทำให้ประสิทธิ์ภาพการทำงานของสมองด้านอื่น ลดลง

ความสามารถในการมองเห็นของเรา จะยิ่งลดลง ตามวัยที่เพิ่มขึ้น ต้องใช้สมองฝืนเพ่งในการมองเห็นหนักขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิ์ภาพการทำงานของสมอง ยิ่งลดลงอย่างรวดเร็ว จนรู้สึกเหนื่อยล้าได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องใช้สายตาและความคิด ตลอดทั้งวัน ทำให้คุณภาพการใช้ชีวิตลดลง

ปกติคนเราจะมีปัญหาด้านการมองเห็นมากขึ้น จนกระทบต่อขีดความสามารถในการทำงานของสมอง ในวัยประมาณ 40 ปี จะเริ่มมีปัญหาในการมองระยะใกล้ ต้องฝืนเพ่ง และยื่นระยะออกไปให้มากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันเรามีเทคโนโลยี ที่สามารถที่จะช่วยเหลือคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ด้วยเลนส์ที่เราเรียกว่า เลนส์โปรเกรสซีฟอัจฉริยะ แต่เลนส์โปรเกรสซีฟอัจฉริยะ จะมีหลายคุณภาพหลายระดับ ซึ่งจะมีข้อจำกัดอยู่เยอะมากในแง่ของเลนส์โปรเกรสซีฟราคาแพงเทคโนโลยีอื่น ซึ่งจะมีข้อจำกัดในเรื่องของภาพด้านข้างที่บิดเบี้ยวเยอะ ทำให้เวลาหันศีรษะ รู้สึกไม่สบายตา โฟกัสภาพได้ช้า ใส่ไม่สบาย ไม่เป็นธรรมชาติ กะระยะลำบาก คุณภาพการมองมีความคมชัดต่ำ ทำให้ต้องฝืนเพ่งอยู่ตลอดเวลา ฝืนปรับตัวเข้าหาแว่นอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องสูญเสียพลังงานมาก ต้องปรับตัวเข้าหาแว่นทุกครั้งที่ใส่ ทำให้รู้สึกไม่เป็นธรรมชาติ

คำยืนยันถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เมื่อใช้แว่นไอซอพติกโปรเกรสซีฟ

โดย นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง
หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์

ปัจจุบันผมอายุ 60 ปี มีสายตาสั้น และเอียงมาก ปัจจุบันทํางานเป็นศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมมือ ต้องผ่าตัดต่อเส้นเลือดเส้นประสาท ที่มีขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตรตลอดทั้งวัน เป้าหมายการผ่าตัดของผมไม่ใช่แค่ช่วยให้ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุนิ้วมือขาดแต่ละราย กลับมามีนิ้วมืออยู่ครบเท่านั้น แต่ต้องการให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด บ่อยครั้งจึงต้องผ่าตัดต่อเนื่องถึง 20 ชั่วโมง

เมื่อผมเริ่มมีสายตายาวระยะใกล้
ก็เลยไปตัดแว่นโปรเกรสซีฟหลายชั้นไร้รอยต่อ แต่ปรับตัวยากมาก ใส่แล้วเวียนหัว อ่านหนังสือสักพักก็รู้สึกเพลีย จึงต้องลดการอ่านหนังสือลง ทําให้เป็นอุปสรรคในการติดตามค้นคว้าวิทยาการทาง
การแพทย์ใหม่ๆ เรื่องใหญ่ที่สุดคือปัญหาด้านสายตาของผม เริ่มรบกวน
คุณภาพการมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ในการผ่าตัดต่อเส้นเลือด เส้นประสาท
ขนาดเล็ก พอมองไม่ชัด ยิ่งทําให้ขาดความมั่นใจในการผ่าตัด

หลังจากทนอยู่นาน ผมก็ได้อ่านแนวคิดการสร้างแว่นตาโปรเกรสซีฟเทคโนโลยีใหม่ ที่ออกแบบ
อย่างเฉพาะเจาะจงสําหรับดวงตาของแต่ละคน ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพ
การมองเห็นให้ดีขึ้นได้ในทุกระยะแบบก้าวกระโดด จึงทํานัดเข้ามาปรึกษา
ปรมาจารย์โบบิ ที่ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก

ผมพบว่าที่นี่มีการวิเคราะห์ระบบการมองเห็นแบบดิจิตอล 3 มิติ ที่ล้ำหน้ามาก ละเอียดพิถีพิถัน ในทุกองค์ประกอบของการมองเห็น มีการตรวจสุขภาพดวงตาอย่างละเอียดโดยจักษุแพทย์ ที่สําคัญคือมีชุดทดลองเลนส์แว่นตาโปรเกรสซีฟรุ่นล่าสุดหลายโครงสร้าง ให้ผมได้ลองด้วยตัวเองจนพอใจ มีการตรวจวัดตําแหน่งดวงตาแต่ละข้าง บนกรอบแว่นแต่ละอันอย่างละเอียด ด้วยระบบสามมิติ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมด ไปออกแบบสร้างแว่นตาโปรเกรสซีฟสำหรัับผมโดยเฉพาะ

พอใส่ครั้งแรกก็พบว่า มันเหมาะ
กับการใช้งานในทุกกิจกรรมจริงๆ ปัญหาในการทํางาน โดยเฉพาะในการ
ผ่าตัดก็คลี่คลายไปหมด ความอ่อนล้าที่เคยมีตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา หายไปหมด สามารถมองเห็นชัดทุกระยะในเสี้ยววินาทีอย่างเป็นธรรมชาติ ทำงานได้เร็วขึ้น แต่เหนื่อยน้อยลง มีพลังเหมือนได้กลับเป็นหนุ่ม มีความสุขกับการใช้ชีวิตมากขึ้น ครับ

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?