ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงกลัวการใช้เลนส์โปรเกรสซีฟ

อยากใส่แว่นโปรเกรสซีฟ แต่กลัวใส่ไม่ได้

แต่ละวันมีลูกค้าจำนวนมากเข้ามาที่ไอซอพติก แล้วก็บอกว่าเขาอยากใส่แว่นโปรเกรสซีฟ แต่เขากลัว เพราะว่าเกือบทุกคนที่เขารู้จัก ใส่แว่นโปรเกรสซีฟแล้วใส่ไม่ได้ ใส่แล้วเวียนหัว ใส่แล้วเดินไม่ได้ อ่านหนังสือลำบาก ใส่ไม่สบาย บางรายใส่แล้วปวดหัว ต้องถอดๆ ใส่ๆ รู้สึกมีอาการปวดกระบอกตา รู้สึกต้องเพ่ง ต้องฝืนปรับตัว ปรับตาอยู่ตลอดเวลา มีจำนวนมากที่ปวดกระบอกตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ปวดทั้งสองข้าง บางรายมีอาการปวดหน้าผาก ปวดขมับ ปวดกลางศีรษะ ปวดท้ายทอย และมีจำนวนมากทีเดียวที่ใส่แว่นโปรเกรสซีฟแล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แล้วก็รู้สึกว่าอยากจะถอดแว่นอยู่ตลอดเวลา เหล่านี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ใส่แว่นโปรเกรสซีฟ และเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นทุกวัน

ขณะที่เรากำลังเจอกับแว่นโปรเกรสซีฟที่ใส่แล้วเต็มไปด้วยปัญหา ใส่ยาก ใส่ไม่สบาย แต่ไอซอพติกเราเป็นศูนย์ที่สร้างแว่นโปรเกรสซีฟที่ไม่ต้องปรับตัว ใส่แล้วมีพลังเพิ่มขึ้น ใส่แล้วชัดทุกระยะในเสี้ยววินาที ใส่แล้วรู้สึกเป็นหนุ่มเป็นสาวอีกครั้ง ทำงานได้มากขึ้นแต่เหนื่อยน้อยลง เคลื่อนไหวได้อย่างเป็นธรรมชาติ ทำในสิ่งที่เราอยากจะทำอีกครั้งได้อย่างสบาย และมีพลังเหลือที่จะทำในสิ่งที่เราชอบแม้จะทำงานเหน็ดเหนื่อยมาทั้งวัน

เลนส์โปรเกรสซีฟ (Progressive) คืออะไร?

เลนส์โปรเกรสซีฟ (Progressive) โดยหลักการเป็นเรื่องที่ดี เป็นความพยายามที่จะทำให้แว่นอันเดียวสามารถที่จะมองได้ทุกระยะ ซึ่งเทคโนโลยีของเลนส์โปรเกรสซีฟพัฒนามาได้ 100 กว่าปี และพึ่งจะเรียกได้ว่าพอจะเริ่มใส่ได้ในปี 1950 คำว่าพอใส่ได้ในที่นี้หมายถึง ต้องทน ต้องปรับ ต้องฝืน ซึ่งก็คืออาการเดียวกันกับที่เราเจอกันในปัจจุบัน เพราะว่ามันก็คือรากฐานเทคโนโลยีเดียวกัน เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีการพัฒนาอะไรเป็นเรื่องเป็นราวกันสักเท่าไหร่

เลนส์โปรเกรสซีฟ (Progressive) ทำงานอย่างไร?

เลนส์โปรเกรสซีฟในปี 1950 คือเลนส์ที่ทำให้กว้าง เมื่อทำให้เลนส์กว้างคล้ายๆ กับแว่น 2 ชั้น ที่มีขีดกลางแว่นชั้นล่างกับชั้นบน ซึ่งมีระยะมีไกลกับใกล้ เลนส์โปรเกรสซีฟปี 1950 เป็นเลนส์โปรเกรสซีฟที่พยายามเลียนแบบแว่น 2 ชั้น ด้วยการพยายามที่จะทำให้เลนส์มีความกว้างมากที่สุดที่ระยะใกล้คล้ายแว่น 2 ชั้น และทำให้ระยะไกลมีความกว้างมากที่สุด ซึ่งฟังเหมือนดี แต่ธรรมชาติของเลนส์โปรเกรสซีฟจะมีอยู่อย่างหนึ่งคือ เนื่องจากเลนส์โปรเกรสซีฟเป็นเลนส์ที่มีจุดการมองหลายระยะอยู่ในเลนส์เดียว ดังนั้นจะมีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น เขาเรียกว่าภาพบิดเบี้ยวที่ไม่ต้องการ อันเนื่องมาจากการพยายามที่จะกำหนดให้เลนส์ 1 ชิ้น มีจุดโฟกัสที่หลากหลาย ซึ่งปัญหาจะเกิดชึ้นเมื่อมีการมองด้านข้างก็จะเห็นภาพเบี้ยว แล้วก็จะเวียนหัว การมองหน้าตรงไม่เป็นไร แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการเหลือบมองด้านข้างก็จะเห็นภาพเบี้ยว ขับรถไม่ได้เพราะกระจกมองข้างเบี้ยว นี่คืออาการของเลนส์โปรเกรสซีฟรุ่นเก่า ดังนั้นคนที่ใส่เลนส์โปรเกรสซีฟรุ่นแรกปี 1950 ในเวลาที่พวกเขาเดินพวกเขาไม่สามารถที่จะเดิน เคลื่อนไหวเหมือนคนปกติได้ แต่พวกเขาจะต้องเดินแบบก้มหน้า มองผ่านเลนส์ส่วนบน ในเวลาที่เขาจะหัน เขาไม่สามารถที่จะหันทันทีได้ เพราะจะทำให้เวียนหัว ดังนั้นเวลาเขาจะหันสิ่งที่เขาจะทำก็คือการหันหน้าช้าๆ เป็นชีวิตที่เขาจะต้องหลบภาพบิดเบี้ยวด้านข้างอยู่ตลอดเวลา

สมองส่วนการมองเห็นจึงต้องทำงานหนัก เพราะแว่นโปรเกรสซีฟ เทคโนโลยีเก่า

ระบบการมองเห็นของมนุษย์ไม่สามารถที่จะปรับภาพที่เบี้ยวให้หายเบี้ยวได้ ดังนั้นภาพที่เบี้ยวจึงถูกส่งต่อไปที่สมอง สมองส่วนที่แปลสัญญาณภาพก็ไม่สามารถที่จะปรับภาพที่เบี้ยวให้หายเบี้ยวได้ ดังนั้นเมื่อสมองเห็นภาพเบี้ยว สมองก็พยายามที่จะทำความเข้าใจว่ามันคืออะไร แล้วก็จะพยายามทำทุกอย่างให้มันเบี้ยวน้อยลง โดยอาการก็จะรุนแรงตามความแตกต่างของสายตา ดังนั้นเมื่อสมองต้องรับภาพเบี้ยวอยู่ตลอดเวลาที่ใส่แว่น สมองส่วนการมองเห็นจึงต้องทำงานหนัก และฝืนปรับตัวอย่างหนัก ฝืนเพ่งอย่างหนัก ฝืนทำงานอย่างหนัก เพื่อลดความบิดเบี้ยวของภาพลงให้ได้มากที่สุด ดังนั้นเมื่อฝืนปรับภาพเบี้ยวให้เบี้ยวน้อยลงติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ก็จะมีอาการปวดศีรษะ ปวดขมับ ปวดหลัง ปวดไหล่ และนำไปสู่อาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตา

เมื่อแว่นดังกล่าวเป็นต้นเหตุของปัญหา และทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ แล้วสมองไม่สามารถทนได้อีกต่อไป ประสาทอัตโนมัติจะทำงาน จะมีการถอดแว่นออกโดยทันที โดยไม่รู้ตัวเพราะมันไม่ไหวแล้ว มันจะเป็นภาวะที่เร็วมาก เราจะเห็นคนบางคนเดี๋ยวถอด เดี๋ยวใส่แว่นโปรเกรสซีฟประมาณ 300 ครั้งต่อวัน เพราะเขาใส่ไม่สบาย นี่คือปัญหาของเลนส์โปรเกรสซีฟ เทคโนโลยีเก่า

เทคโนโลยี เลนส์แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ ของไอซอพติกสามารถตอบโจทย์ปัญหานี้

เลนส์โปรเกรสซีฟที่ดีที่สุดคือ เลนส์โปรเกรสซีฟที่ใส่แล้วมีความรู้สึกเหมือนไม่ได้ใส่แว่น เหมือนแว่นตาเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกาย แล้วก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์ชัดทุกระยะในเสี้ยววินาที เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระไม่ถูกรบกวนด้วยภาพบิดเบี้ยวด้านข้าง รู้สึกเป็นธรรมชาติ ใส่แล้วฉลาดขึ้น ใส่แล้วมีพลัง ใส่แล้วเคลื่อนไหวได้ดั่งใจไม่มีข้อจำกัด โฟกัสภาพได้เร็ว กะระยะได้เร็ว และที่เดียวที่ทำได้ก็คือศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติกเท่านั้น เพราะจะต้องใช้วิธีการสร้างแว่นเฉพาะบุคคลอย่างยิ่งยวดเท่านั้น ดังนั้นอยากมีประสบการณ์นี้เข้ามาที่ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เรามีชุดทดลองเลนส์ที่จะคืนความเป็นหนุ่มสาว แว่นเพิ่มพลัง ใส่แล้วสุขภาพดีขึ้น มีพลังเพิ่มขึ้น ทุกอย่างพิสูจน์ได้ ไม่ว่าเราจะใช้สายตาทำอะไรก็ตาม เรามีให้ลองอย่างจุใจ

ทดลองใส่แว่นตาโปรเกรสซีฟ ด้วยชุดทดลองเลนส์ ของไอซอพติกก่อนตัดสินใจ

ชุดทดลองเลนส์ของไอซอพติก มีความแตกต่างจากทุกชุดทดลองเลนส์ทั่วโลก คือ ถูกออกแบบ ถูกสั่งสร้างโดยปรมาจารย์โบบิผู้เชี่ยวชาญด้านแว่นตาเฉพาะบุคคลอย่างยิ่งยวด ไม่ได้สั่งทำเป็นแบบสำเร็จรูป สิ่งที่ทำกันอยู่ปัจจุบันเป็นสิ่งที่ปรมาจารย์โบบิทำเมื่อ 14 ปีที่แล้ว

ตอนนี้ไอซอพติกเราพัฒนาไปไกลกว่านั้นมาก สามารถเข้ามาทดลองได้ ดังนั้นในความแตกต่างของโครงสร้างเลนส์เรามีให้เลือกมากกว่า 100 โครงสร้าง 100 แบบ ที่แตกต่าง และสามารถที่จะให้ลูกค้าแต่ละคนได้ทดสอบจริงด้วยตาตัวเองด้วยระบบรัศมีทำการทดสอบที่ 12 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ดีที่สุดในโลก

หากท่านสนใจ ทดลองเลนส์โปรเกรสซีฟอัจฉริยะ ไอซอพติก คลิกที่นี่

คำยืนยันจากผู้ใช้

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

คุณหน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ผู้สร้างภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส ๒ และ ละครพรหมลิขิต ★ ★ ★ ★ ★

แว่นที่ดี สำคัญมากกับการดำเนินชีวิต ดีใจที่เจอแว่นที่ถูกใจ ก็เหมือนกับบุพเพสันนิวาส ทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ

อ่านต่อ
นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

นายแพทย์ วิชิต ศิริทัตธำรง

หัวหน้าหน่วยจุลศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ★ ★ ★ ★ ★

ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติกแล้ว ทำให้เหนื่อยน้อยลง มีพลังในการทำงานมากขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ครับ

อ่านต่อ

รวมคำยืนยันจากผู้ใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอัจฉริยะ 3 มิติ เฉพาะบุคคล อย่างยิ่งยวด สะท้านโลกา

อ่านต่อ

เลนส์แว่นตาไอซอพติก มีจำหน่ายที่
ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เท่านั้น
โปรดระวังการแอบอ้าง

go to top
คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?