ไอซอพติกใช้มาตรฐานเดียวกันในการที่จะสร้างแว่นตาที่ให้คุณภาพการมองเห็นดีที่สุดตามงบประมาณที่ลูกค้าแต่ละท่านมี โดยเลนส์แต่ละรุ่น เทคโนโลยีพื้นฐานจะใช้เทคโนโลยีเดียวกัน กระบวนการพื้นฐานใช้กระบวนการเดียวกัน เพียงแต่ว่ามีความแตกต่างในเรื่องของรายละเอียด กับ เทคโนโลยีที่ใช้ในเลนส์แต่ละรุ่น
กระบวนการของการสร้างแว่นโปรเกรสซีฟของศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เราจะเริ่มต้นมาจากการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าอย่างละเอียด ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติกเป็นศูนย์แว่นตาเดียวที่เอาการใช้สายตาจริงๆ พฤติกรรมการใช้สายตาประจำวันจริงๆ ชีวิตประจำวันจริงๆ ของผู้ใช้แต่ละคน เอามาเป็นศูนย์กลางในการออกแบบ การวิเคราะห์ การสร้างแว่นโปรเกรสซีฟอัจฉริยะเฉพาะบุคคลที่ดีที่สุด ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สุด ซึ่งเป็นความรู้ ความชำนาญ ลิขสิทธิ์เฉพาะของศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก
ไอซอพติกเราสร้างแว่นได้ดีที่สุด ใส่สบายที่สุด เหมือนไม่ได้ใส่แว่น เหมือนจะกลับไปเป็นหนุ่มสาวอีกครั้ง ความลับของศูย์แว่นตาไอซอพติกคือ ความสามารถในการสร้างแว่นอย่างเฉพาะเจาะจงกับผู้ใช้แต่ละคน ตามค่าสายตาที่แตกต่างกัน ตามตาเขซ่อนเร้นที่แตกต่างกัน ตามตำแหน่งของดวงตาบนใบหน้าที่แตกต่างกัน ทั้งในส่วนของระยะห่างของเลนส์ จุดศูนย์กลางของเลนส์ที่จะต้องตั้งให้ตรงกับจุดศูนย์กลางของตาขวา และตาซ้าย จากสันจมูกที่ความละเอียดระดับ 0.1 มิลลิเมตร ซึ่งละเอียดกว่ามาตรฐานทั่วไปถึง 5 เท่า และคำนึงถึงความแตกต่างของระดับความสูง - ต่ำของตาขวา - ตาซ้ายที่แตกต่างกัน ความสูงต่ำของระดับใบหูขวา - ซ้ายที่แตกต่างกัน ระดับความแตกต่างกันของใบหูถึงสันจมูกของฝั่งซ้าย และฝั่งขวา ซึ่งปกติแล้วจากประสบการณ์การทำแว่นมาเป็นแสนอัน ผมบอกได้เลยว่าคนแต่ละคนมีระยะของดวงตาทั้งแนวนอน และแนวตั้ง ระยะใบหูถึงสันจมูกไม่เท่ากันเลย ผมยังไม่เคยเจอใครที่มีระยะของตาขวา และตาซ้ายถึงสันจมูก หรือ ระยะความสูงของดวงตาขวา ซ้าย ระดับความสูงของใบหูขวา หูซ้าย ระยะของหูขวาถึงจมูก ระยะของหูซ้ายถึงจมูก ไม่เท่ากันเลยแม้แต่คนเดียว ดังนั้นนี่คือความลับของการสร้างแว่น ถ้าเราใช้แว่นตาที่ผลิตแบบสำเร็จรูปที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เราจ่ายค่ากรอบแว่นหลายพัน หลายหมื่นบาท แต่ละกลับได้กรอบแว่นแบบสำเร็จรูปที่ไม่ได้ออกแบบเฉพาะบุคคล ไม่ได้ออกแบบอย่างเจาะจงถึงความแตกต่างของสรีระขวา ซ้าย แว่นที่มุมก้มเงยมากเกินไป หรือน้อยเกินไป แว่นที่ใส่แล้วระยะของตาขวาถึงเลนส์แว่นตา ระยะตาซ้ายถึงเลนส์แว่นตา สองข้างไม่เท่ากัน เมื่อไม่เท่ากันจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า แว่นเบี้ยว เมื่อแว่นบิด แว่นเบี้ยว จะรู้สึกปวดหัว โฟกัสภาพได้ช้า โฟกัสภาพได้ยาก มองเห็นไม่ชัด มองภาพไม่คม แล้วก็ใส่ไม่สบาย ภาพไหวด้านข้างสูง ภาพผิดเพี้ยน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนที่ยังใช้กรอบแว่นตาแบบสำเร็จรูปแล้วไม่มีการตรวจวัดวิเคราะห์ตำแหน่งแว่นอย่างถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำเพียงพอ ไม่มีการปรับแก้อย่างเพียงพอ
ผมทำแว่นมาตั้งแต่ 7 ขวบ หลายสิบปีมานี้ผมเคยเจอช่างแว่นเก่ง ๆ ไม่กี่คน ที่มีความใส่ใจ และมีความสามารถในการปรับแก้ตำแหน่งของกรอบแว่นแบบสำเร็จรูปให้สามารถใช้งานได้ดี และเพื่อเป็นการเคารพ ผมขอเอ่ยชื่อหนึ่งในช่างแว่นที่เก่งที่สุดที่ผมเคยรู้จักมาคือ เฮียเล็ก เอี่ยมอ่อง ท่านเป็นช่างแว่นที่ถือว่าเป็นปรามาจารย์ เป็นสุดยอด เป็นครู เป็นคนที่ทำแว่นได้ดีที่สุดคนหนึ่ง ไม่เพียงแต่ท่านเป็นช่างแว่นที่ฝีมือดี แต่ท่านยังเป็นคนหนึ่งซึ่งเสียสละทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการตรวจวัดสายตา ประกอบแว่นให้กับวงการแว่นตาไทยมาโดยตลอด ผ่านทางสมาคมส่งเสริมวิชาการแว่นตาแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นงานที่ต้องอาศัยความเสียสละ และท่านก็ไม่เคยเหน็ดเหนื่อย พยายามถ่ายทอดวิชาความรู้ของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำแว่นตาบนกรอบแว่นกรอบเจาะ
ในการวิเคราะห์เรื่องของพฤติกรรมการใช้สายตาความต้องการของลูกค้าแต่ละท่านอย่างละเอียด ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เรามีลูกค้าหลายท่านมากที่ครอบครัวมาทำแว่นที่ไอซอพติก แต่ถึงเวลาที่เขาจะทำแว่นเขาไปทำที่อื่น หมดเงินไปหลายบาทให้กับแว่นที่ใส่ไม่ได้ แล้วเขาก็ไม่ยอมทำแว่นที่ไอซอพติก เนื่องจากเขารอไม่ได้ เขาบอกว่าใช้เวลานานตั้ง 3 ชั่วโมง
ปัจจุบันผม และทีมงานศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เรายังไม่สามารถที่จะพัฒนาระบบการสร้างแว่นโปรเกรสซีฟที่ใช้เวลาน้อยกว่า 3 ชั่วโมง โดยที่ทีมงานเราไม่มีความเครียด หรือ เราไม่ต้องเสี่ยงกับการที่ต้องข้ามขั้นตอน หรือ ต้องทำงานแข่งกับเวลา ทำให้เราไม่มีเวลาตรวจสอบข้อผิดพลาด หรือ ทำให้เราไม่มีเวลาที่จะควบคุมตำแหน่งแว่น การฟิตแว่น การวัดตาทดลองเลนส์ การเลือกกรอบ การออกแบบกรอบแว่นทั้งหมดให้ได้มาตรฐานสูงสุดของไอซอพติก
ที่ผ่านมาเราเคยเจอกรณีที่ลูกค้าต้องการแว่นด่วน โดยมีเวลาแค่ 1 ชั่วโมง และต้องการให้ขั้นตอนทั้งหมดของการสร้างแว่นเสร็จภายใน 1 ชั่วโมง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มันเป็นการทำงานแข่งกับเวลา ต้องเข้าใจก่อนว่าเวลาเราทำงานที่ต้องอาศัยความประณีต ละเอียด บรรจงอย่างสูงสุด แล้วเราต้องทำแข่งกับเวลา ผมขอบอกว่าแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะคงคุณภาพที่จะสร้างผลงานชิ้นเอกในระยะเวลาที่จำกัดที่เราจะควบคุมทุกอย่างไม่ให้บกพร่อง ผิดพลาด ที่จะควบคุมทุกอย่างให้ถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำ
ดังนั้นสิ่งที่ลูกค้าเมื่อเข้ามาที่ไอซอพติก ลูกค้าที่ต้องการเร็ว ๆ ก็ต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่า ความประณีต ละเอียด บรรจง จะไม่เต็มร้อย คุณภาพของงาน ความถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำ ถามว่าจะร้อยเปอร์เซ็นต์ไหม เป็นไปได้ยากมาก แต่เราก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด เพราะที่ไอซอพติกเราทำแว่นอย่างละเอียด พิถีพิถัน ประณีต บรรจง ทำให้ถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำมากที่สุด และเราเป็นที่เดียวที่ทำงานแบบนี้ งานบางอย่างถ้าเราต้องการคุณภาพที่ดีต้องมีเวลา ดังนั้นที่ไอซอพติกเรื่องการให้เวลากับทีมงานของเราเป็นเรื่องสำคัญมาก
หลังจากเราวิเคราะห์ความต้องการพฤติกรรมการใช้สายตาของลูกค้าอย่างละเอียดแล้ว เราจะทำการตรวจตาข้างถนัด ซึ่งในการตรวจตาข้างถนัด เราจะตรวจว่ามีความสัมพันธ์กับมือข้างที่ถนัดหรือไม่ นี่เป็นหลักที่ไอซอพติกใช้ในการออกแบบแว่น ปกติการเอาข้อมูลว่าถนัดตาข้างไหนแล้วไปสร้างแว่นโปรเกรสซีฟเป็นแนวคิดที่ดีแต่ไม่เพียงพอ วิธีที่ดีที่สุดในการสร้างแว่นโปรเกรสซีฟจะต้องรู้ว่า ตาข้างที่ถนัดอยู่ข้างเดียวกับมือที่ถนัดหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ผมถนัดตาขวา และผมก็ถนัดมือขวา ซึ่งกรณีของคนที่ตา และมือถนัดข้างเดียวกัน จะมีความสลับซับซ้อนของระบบการมองเห็นน้อยกว่าคนที่มีตากับมือข้างถนัดอยู่คนละข้างกัน ซึ่งจะมีความสลับซับซ้อนมากกว่าในเรื่องของการเชื่อมต่อของระบบการมองเห็น กับ ระบบสมอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องวิจัยกันต่อไป
ปกติลูกค้าเกือบทั้งหมดที่มีความสลับซับซ้อนที่เราเรียกว่าตา Sensitive หรือ ตาไวมาก หรือ ตาไวต่อความรู้สึก ในกลุ่มนี้จะมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงกำลังเลนส์ การใส่แว่น การเพิ่มสายตาสั้น ยาว เอียง ยาวระยะใกล้ ใส่เลนส์ปริซึมแก้ตาเขซ่อนเร้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องเอามาออกแบบ ซึ่งไอซอพติกเราเป็นที่เดียวที่ใช้ข้อมูลนี้ในการสร้างแว่นโปรเกรสซีฟ เป็นความรู้เฉพาะของไอซอพติก
ในขั้นตอนที่ 3 เราจะทำการทดสอบความสามารถในการรับรู้สี ซึ่งมีความสำคัญมาก การรับรู้สีจะถูกเอาไปใช้ในการวิเคราะห์ระบบการมองเห็น ซึ่งเราจะทำการวิเคราะห์ค่าสายตาสั้นหรือยาว ด้วยการใช้สี หลักการรับรู้ของสี ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งของการตรวจหาค่าสายตาสั้นหรือสายตายาว แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เป็นแค่ 1 ใน 7 กระบวนการหาค่าสายตาสั้น และยาว
หลายคนคงประหลาดใจว่า ทำไมต้องตรวจด้วยเครื่องมือ 7 ชนิด ในการหาค่าสายตาสั้น และสายตายาว ที่ไอซอพติกเราตรวจกันที่ความละเอียด 0.06 ไดออปเตอร์ หรือ สเต็ปละ 6 เราสร้างระบบการวิเคราะห์ ระบบการมองเห็นด้วยตัวเราเอง เราไม่ได้ใช้ระบบที่ใช้กันมา 100 กว่าปีก่อน ดังนั้นระบบปฏิบัติการ ระบบการวิเคราะห์การมองเห็นของไอซอพติกจึงเป็นระบบเฉพาะที่มีใช้ที่ไอซอพติกเท่านั้น เป็นระบบที่อยู่เร็ว แม่นยำ ถูกต้อง เที่ยงตรง ครบทุกอย่าง
ในขั้นตอนที่ 4 เราจะทำการตรวจวัดจุดศูนย์กลางของรูม่านตา ซึ่งในการตรวจวัดจุดศูนย์กลางของรูม่านตาของไอซอพติก เราจะตรวจละเอียดกว่าทั่วไปถึง 2 เท่า ด้วยการตรวจ ด้วยการดูเรื่องของจุดกึ่งกลางรูม่านตา แล้วก็ดูเรื่องของรีเฟล็กซ์ที่สะท้อนออกมา ซึ่งค่าทั้ง 2 อย่างจะต้องเอาไปคำนวณกัน ปกติมาตรฐานการวัดทั่วไปจะวัดกันประมาณ 1 ค่า ก็คือวัดค่า PD หรือ ค่าจุดศูนย์กลางตาดำ จะวัดแค่ระยะไกล หรือบางที่อาจจะวัดไกล และวัดใกล้ บางที่อาจจะวัดใกล้เมื่อลูกค้าทำแว่นมองใกล้ หรือ วัดไกลเมื่อลูกค้าทำแว่นมองไกล แต่ที่ไอซอพติกไม่ว่าลูกค้าจะทำแว่นมองระยะไหน เราจะทำการวัดตั้งแต่ระยะไกล ระยะกลาง ระยะใกล้ และขึ้นอยู่กับระยะการใช้งานของลูกค้าแต่ละคน
เคล็ดลับความสำเร็จของไอซอพติกคือ เราดูเลยว่าลูกค้าของเราจะเอาแว่นไปใช้ที่ระยะเท่าไหร่บ้าง ถ้าใช้ระยะ 1 เมตร ก็ต้องวัด 1 เมตร ถ้า 60 เซนติเมตร ก็ต้องวัด 60 เซนติเมตร เป็นต้น ประเด็นคือ แว่นจะรวมแสงได้สบาย ลดภาระการทำงานของสมองได้มากที่สุด จุดรวมแสงต้องตรงกับระยะการใช้งานของลูกค้า เพราะถ้าไม่ตรง ผู้ใช้แว่นต้องฝืนเพ่งในระยะโฟกัสที่มันไม่ใช่ เมื่อเราฝืนแพ่งในระยะโฟกัสที่มันไม่ใช่ มันก็จะไม่สบายตา ใส่แล้วไม่เป็นธรรมชาติ สมองต้องฝืนเพ่งทำงานหนัก ต้องฝืนปรับตลอดเวลา ที่ไอซอพติกเราไม่เห็นด้วยกับการที่ผู้ใส่แว่นต้องฝืนเพ่ง
ตลอดชีวิตผมที่ผ่านมาผมพบเจอคนหลายหมื่นคนที่ใช้ชีวิตอย่างไม่มีความเข้าใจ เขาคิดว่าชีวิตคือการหาเลี้ยงชีวิต เขาหาเลี้ยงชีวิตจนเขาลืมใช้ชีวิต เขาไม่เข้าใจว่าการหาเลี้ยงชีวิตกับการใช้ชีวิตมันไม่ใช่เรื่องเดียวกัน มีกี่คนที่ต้องการหาเลี้ยงชีวิตไปตลอดชีวิต แล้วก็ตายโดยไม่เคยใช้ชีวิต นี่หรือคือชีวิตที่คุณต้องการ
ไอซอพติกเราปฏิเสธความคิดนี้ เราสร้างแว่นขึ้นมาเพื่อจะให้เราใช้ชีวิต สนุกกับการใช้ชีวิต ได้ทำในสิ่งที่เราอยากทำ ไม่ใช่ทำในสิ่งที่เราต้องทำ
ขั้นตอนที่ 5 เราจะทำการตรวจวัดความโค้งของกระจกตา และตรวจเรื่องของสายตาเอียงที่อยู่บนกระจกตาว่ามีอยู่จำนวนเท่าไหร่ ซึ่งกระบวนการในการวิเคราะห์ค่าสายตาเอียงของไอซอพติกมีความสลับซับซ้อน แม่นยำ เที่ยงตรง ระบบการตรวจของไอซอพติก เราจะทำการแยกสายตาเอียงที่อยู่บนกระจกตาออกจากสายตาเอียงที่อยู่ด้านในลูกตา แล้วเอามาคำนวณหาค่า เพื่อจะคำนวณว่าสามารถที่จะให้กำลังเอียงเท่าไหร่ นี่คือเคล็ดลับของศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติกในการที่สามารถที่จะบริหารจัดการสายตาเอียงได้ดีกว่าที่อื่น ด้วยความละเอียดถึง 0.01 ไดออปเตอร์ หรือสเต็ปละ 1
ขั้นตอนที่ 6 เราจะทำการตรวจความสมบูรณ์ของทางเดินของแสงผ่านกระจกตาด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ผิวกระจกตา ในขั้นตอนการตรวจนี้ถ้าเกิดว่าเราพบว่าผิวกระจกตาไม่เรียบหรือมีปัญหา เราจะทำการส่งต่อให้จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตาดูต่อไป ซึ่งในเครื่องมือตัวนี้เราสามารถตรวจเรื่องของตาแห้ง เรื่องของแผลเป็นบนกระจกตา เรื่องของความเรียบของผิวกระจกตา เครื่องมือตัวนี้มักจะถูกใช้ในการตรวจสภาพผิวกระจกตาก่อนที่จะผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือตัวเดียวกัน
ขั้นตอนที่ 7 เราจะตรวจเรื่องของ ความฟุ้งกระจายของแสงในดวงตาแต่ละข้าง ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า a bolometer ( a bolometer จะทำการตรวจสอบเรื่องของทิศทางการเดินของแสง การกระจายของแสง เมื่อแสงมีการวิ่งผ่านกระจกตา วิ่งผ่านเลนส์แก้วตา เข้าไปด้านในตา ) เพื่อจะดูเรื่องของการกระเจิงของแสง เพื่อที่จะเป็นข้อมูลในการพิจารณาแก้ไขความคลาดเคลื่อนของแสง การกระจัดกระจายของแสง การฟุ้งของแสง
เครื่องมือชิ้นนี้ในปัจจุบันถูกใช้กันทั่วโลก ร้านแว่นตาแทบทุกร้านจะมีเครื่องมือชิ้นนี้ จากการศึกษาศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เราได้นำเครื่องมือชนิดนี้เข้ามาทดสอบตั้งแต่เมื่อ 12 ปีที่แล้ว จากการศึกษาเรายุติการใช้งานของเลนส์แว่นตาที่พยายามผลิตเลนส์ค่าสายตาสั้นเกินจริง ค่าสายตาเอียงเกินจริง ค่าสายตายาวระยะใกล้เกินจริง เพื่อไปแก้ไขความฟุ้งของแสง หรือ ความคลาดเคลื่อนของแสง
เหตุผลที่เราหยุดใช้ เพราะว่าจากการทดสอบกับลูกค้าของไอซอพติกจำนวนมาก เราพบว่า
- การมองชัดขึ้น แต่ความสบายลดลง ใส่แล้วต้องฝืนเพ่ง ต้องเกรงอยู่ตลอดเวลา ลูกค้าไม่ชอบ มันไม่เป็นธรรมชาติ สรุปคือ จากการทดสอบเป็นเวลา 1 ปี ก็หยุดการใช้เลนส์ตัวนี้ไป
เทคโนโลยีการแก้ความคลาดของแสงด้วยการทำให้เลนส์มีค่าสายตาสั้นหรือสายตาลบเกินจริง หรือ สายตาเอียงเกินจริง เทคโนโลยีนี้ดีสำหรับคนที่ต้องการขับรถตอนกลางคืน มันเหมือนกับสายตาสั้นกลางคืน อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ คนที่มีสายตาสั้น -100 เป็นสายตาสั้นแท้ ในเวลาที่ถ้าเราทำให้ค่าสายตาเป็น 106 หรือ 112 เขาจะขับรถกลางคืนได้ชัดขึ้น และดีขึ้น การใช้สายตาในภาวะแสงน้อยเมื่อมองไกลดีขึ้น แต่ในภาวะกลางวันจะไม่สบายตา พอเป็นตอนกลางวันแสงปกติ ตาจะต้องเพ่ง เนื่องจากมันทำให้แสงตกเลยจอตา จะต้องใช้วิธีการเพ่ง และดึงกลับ หมายถึงว่าต้องมีการเกร็งเลนส์แก้วตา เพื่อเพิ่มความโค้ง เพื่อดึงแสงที่ตกเลยจอตาให้ตกบนจอประสาทตา
ไอซอพติกไม่เห็นด้วยกับวิธีดารแบบนี้ เพราะมันเป็นวิธีที่สมองต้องทำงานหนักขึ้น เป็นเลนส์ที่ลดประสิทธิภาพการทำงานของสมองโดยตรง
ขั้นตอนที่ 8 เราจะทำการตรวจวัดสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง โดยการตรวจเราจะตรวจด้วยเเรติโนสโคปควบคู่ไปกับการตรวจด้วยเครื่องวัดระบบดิจิตอลความแม่นยำสูง ซึ่งจะเอาข้อมูลทั้งหมดมาประมวลกัน ศูนย์แว่นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล ไอซอพติก เราเลือกใช้เครื่องมือประมวลผลในการวิเคราะห์ค่าสายตา ทั้งเป็นค่าสายตาสั้น ยาว ระยะไกล เอียงระยะไกล เอียงระยะใกล้ สายตายาวระยะใกล้ ซึ่งการตรวจด้วยเครื่องมือดิจิตอลในปัจจุบันถึงแม้เครื่องมือของไอซอพติกจะเป็นรุ่นที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้ และมีราคาแพงที่สุด มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด วัดได้เร็วที่สุด แต่ผมบอกได้เลยว่า เราไม่เคยเชื่อเครื่องมือเหล่านี้ มันเหมือนกับข้อมูลอ้างอิง ข้อมูลจะถูกนำมาประมวลผลกับเรติโนสโคป แล้วก็จะเอามาเข้ากับ Digital Phoropter
ดังนั้นถ้าวัดตา ผมเชื่อมั่นในเรติโนสโคป กับ Digital Phoropter ถ้าเป็นการฟิดแว่น ผมเชื่อในการวัดระบบ 3 มิติ ที่ผมคิดค้นขึ้นมาเอง ไม่ใช่เครื่องมือบริษัท เครื่องมือเหล่านี้เรามีหมดแต่ไม่ได้ใช้จริงในการสั่งเลนส์ แต่เอามาเป็นตัวอ้างอิง
ขั้นตอนที่ 9 จะทำการตรวจวัดค่าสายตาของแว่นเดิมด้วยเครื่องมือวิเคราะห์กำลังเลนส์ ซึ่งจะเป็นระบบดิจิตอล ปกติในการวัดกำลังเลนส์เครื่องมือทั่วไปจะวัดไม่กี่ลำแสง แต่ของไอซอพติกจะใช้เป็นเครื่องมือการวัดที่เราจะวัดทั่วทั้งแผ่นเลนส์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุด แต่อย่างไรก็ตามในเครื่องมือที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่เป็นคอมพิวเตอร์ทุกชนิดมีโอกาสคลาดเคลื่อนเสมอ ดังนั้นจะต้องทำการเช็คทุกวัน และที่สำคัญที่สุดคือ ถ้าขึ้นสกปรกซึ่งจะเกิดขึ้นบ่อยมาก จากประสบการณ์ของผม ส่วนใหญ่ช่างแว่นมักจะลืมทำความสะอาดหัวอ่าน ซึ่งถ้าหัวอ่านมีฝุ่นเกาะหรือสกปรก การอ่านค่าก็จะผิดเพี้ยน และไม่เที่ยงตรง
ขั้นตอนที่ 10 จะทำการตรวจเรื่องของเนื้อวัสดุ เรื่องของรุ่นเลนส์ รุ่นแว่น แล้วก็ตรวจเรื่องของตำแหน่งเซ็นเตอร์เลนส์บนแว่นเก่าของลูกค้าแต่ละท่าน เพื่อจะหาค่าว่าแว่นติดปริซึมมาเท่าไหร่ ซึ่งการติดปริซึมจะมี 2 แบบคือ การติดปริซึมซึ่งตั้งใจให้เกิดขึ้นโดยผู้ประกอบแว่น กับ การติดปริซึมซึ่งไม่ได้ตั้งใจ แต่เกิดจากความสะเพร่าหรือความคลาดเคลื่อนในการประกอบ
ขั้นตอนที่ 11 เราจะทำการตรวจวัดด้วยเครื่อง Digital Phoropter รุ่นที่มีความละเอียดสูงสุด แล้วก็เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดที่วัดได้ละเอียดถึง 0.12 ไดออปเตอร์
ขั้นตอนที่ 12 จะเป็นการตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียดโดยจักษุแพทย์ ซึ่งไอซอพติกจะมีทีมงานจักษุแพทย์ผู้ชี่ยวชาญในโรคตาสาขาต่างๆ ทั้งด้านของกระจกตา ทั้งด้านของต้อหิน การตรวจสุขภาพตาจำเป็นจะต้องตรวจกันทุกปี โรคตาส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ผลดี ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก แต่ถ้าเกิดว่ารอให้เป็นมากกว่าระยะ 2 การรักษาจะได้ไม่ดีเหมือนเดิม
ดังนั้นการเป็นลูกค้าไอซอพติก เราจึงได้รับของขวัญชิ้นเอก คือการได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพสายตา โดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทุกครั้งเวลาทำนัดเข้ามาที่ไอซอพติกผมแนะนำว่าให้แจ้งเจ้าหน้าที่ว่า ต้องการตรวจกับจักษุแพทย์ด้วย เรามีจักษุแพทย์ดูแลท่าน เป็นแพ็คเกจที่จ่ายแค่ 1,000 บาท ก็ได้ครบหมดทุกอย่าง ได้การตรวจวัดสายตา ได้การทดลองเลนส์ ได้พบจักษุแพทย์
ขั้นตอนที่ 13 จะเป็นการออกแบบกรอบแว่น และฟิตแว่น เพื่อที่จะออกแบบ ผลิต สร้างแว่นโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติก ปกติขั้นตอนในการออกแบบกรอบแว่น สร้างกรอบแว่น สร้างเลนส์จะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
ขั้นตอนที่ 14 จะเป็นขั้นตอนของการตรวจแว่น เมื่อแว่นโปรเกรสซีฟผลิตเสร็จ จะต้องตรวจความถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำ ซึ่งปรมาจารย์โบบิจะเป็นผู้ตรวจสอบด้วยตัวเอง การตรวจเราจะตรวจความแม่นยำของกำลังเลนส์ในทุกระยะ ทั้งจุดศูนย์กลาง และภาพด้านข้าง โดยจะตรวจในทุกมุมมอง 360 องศา ถ้าเราตรวจพบว่ากำลังเลนส์มันคลาดเคลื่อน โครงสร้างเลนส์มันผิดเพี้ยน จะทำการสั่งเลนส์ใหม่ทันที
ขั้นตอนที่ 15 จะเป็นขั้นตอนของการประกอบ ในการประกอบแว่นโปรเกรสซีฟดดยไอซอพติก เป็นหัวใจของความลับของการประกอบของอซอพติก ส่วนใหญ่เรามักจะเจอคนคุยกันว่า ประกอบที่ความละเอียด 0.01 มิลลิเมตร ขอบอกว่าที่ไอซอพติกเราประกอบได้ละเอียดกว่านั้นเยอะ ซึ่งเป็นความลับของไอซอพติก
ไอซอพติกเราไม่ได้ประกอบแว่นอันนึงใช้เวลาเหมือนกับการที่เอากรอบแว่นมา แล้วก็รับเลนส์สั่ง แล้วก็นั่งรอ 1 ชั่วโมงได้ เราไม่ใช่อย่างนั้น ที่ไอซอพติกแว่นแต่ละอันใช้เวลา 8 ชั่วโมง ในการประกอบแว่น 1 อัน เราไม่ได้ละเอียดกว่าทั่วไปถึง 8 เท่า แต่ละเอียดกว่าทั่วไปถึง 18 เท่า มาตรฐานการประกอบของไอซอพติกสูงที่สุด ละเอียดที่สุด ถ้าต้องการแว่นตาที่ประกอบอย่างละเอียด ประณีตในทุกจุด เป็นแว่นที่สมบูรณ์แบบ เป็นผลงานชิ้นเอกอย่างแท้จริง เป็นแว่นที่ใส่สบายอย่างแท้จริงใจ ใส่แล้วเหมือนกับไม่ได้ใส่แว่น ต้องไอซอพติกเท่านั้น
ดังนั้นเราจะไม่ประนีประนอมกับความไม่เรียบร้อย เราไม่ประนีประนอมกับความคาดเคลื่อน ที่ไอซอพติกแว่นแต่ละอันต้องสมบูรณ์เท่านั้น ดังนั้นถ้าตรวจพบความไม่สมบูรณ์จะต้องประกอบใหม่ทันที
หลังจากนั้นเราก็จะทำการส่งมอบแว่นตาโปรเกรสซีฟให้กับลูกค้าแต่ละท่าน ซึ่งในขั้นตอนการส่งมอบเราจะมีการตรวจสอบตำแหน่งของแว่นบนใบหน้าด้วยระบบ 3 มิติ อย่างละเอียด โดยจะมีการใช้ทั้งระบบ Manual และดิจิตอล แล้วก็ด้วยกล้องถ่ายรูป หลังจากทุกอย่างถูกต้อง จุดศูนย์กลางของเลนส์ตรงกับจุดศูนย์กลางของดวงตาทั้งแนวตั้ง และแนวนอนถูกต้องหมดทุกอย่างแล้วตามรูปศีรษะ ใบหน้า ใบหู ลูกค้าทั้งหมดแล้ว เราก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 16
ขั้นตอนที่ 16 หลังจากยืนยันตำแหน่งแว่นทุกอย่างหมดแล้ว ทุกอย่างถูกใจลูกค้า ตำแหน่ง ความยาวขา ความแน่น ความกระชับ ทุกอย่าง เราก็จะให้ลูกค้าแต่ละท่านทดลองใช้แว่นตาโปรเกรสซีฟอย่างละเอียดตามพฤติกรรมการใช้สายตาจริง ลูกค้าจะได้ใช้ PC laptop แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน อ่านหนังสือ กรณีที่ลูกค้าตีกอล์ฟก็จะต้องทำการทดสอบด้วยการตีกอล์ฟ
ที่สำคัญคือ จะมีการวัดความสามารถในการมองเห็นของแว่นแต่ละอันในระยะไกล กลาง ใกล้ ตามระยะการใช้งานจริง ตามความสูงที่ใช้งานจริงของโต๊ะ
ขั้นตอนที่ 17 จะมีการติดตามผลการใช้งานแว่นตาโปรเกรสซีฟอย่างใกล้ชิด ซึ่งในการติดตามผลก็จะมี 24 ชั่วโมง , 3 วัน , 7 วัน , 14 วัน , 1 เดือน , 3 เดือน , 6 เดือน และ 1 ปี
ขั้นตอนที่ 18 เป็นขั้นตอนสุดท้ายปรมาจารย์โบบิจะสอบถามลูกค้าแต่ละคนว่า ต้องการให้ไอซอพติกพัฒนาเลนส์รุ่นใหม่ยังไง ต้องการให้เพิ่มเติมอะไร